วันที่ 10 ตุลาคม
4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27
4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 สหภาพโซเวียต ส่ง สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ดาวเทียมดวงแรกของโลก ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกด้วยจรวดอาร์-7 (R-7) จากศูนย์อวกาศไบร์โคนูร์ คอสโมโดรม ในประเทศคาซัคสถาน สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมในโครงการสปุตนิก (Sputnik Programe) สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมรูปร่างกลม มีเส้นผ้าศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร หนักประมาณ 83 กิโลกรัม มีเสารับ-ส่งสัญญาณอยู่ 2 เสา ภารกิจคือการสำรวจพื้นผิวของโลกและชั้นบรรยากาศ ปฏิบัติภารกิจบนอวกาศโดยโคจรอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกประมาณ 250 กิโลเมตร ภ...
4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ประเทศอังกฤษนำ รถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) ที่สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุด 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงมาให้บริการประชาชน
...
4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 (ร.ศ.123) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ได้ทรงประกอบพิธีเปิด บุคคลัภย์” (Book Club) สำนักงานทดลองดำเนินกิจการแบบธนาคารพาณิชย์แห่งแรกขึ้น ที่ตึกแถวสองชั้นของกรมพระคลังข้างที่ ตำบลบ้านหม้อ พระนคร โดยทรงออกหนังสือแจ้งความเรื่องตั้งบุคคลัภย์ว่าเป็นกิจการห้องสมุดสาธารณะ ในขณะที่การดำเนินงานที่แท้จริงคือธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากทรงไม่แน่ใจว่าการดำเนินการจะสำเร็จหรือไม่ ต่อมาเมื่อกิจการประสบความสำเร็จ จึงได้มีการก่อตั้งธน...
5 ตุลาคม พ.ศ. 2481 วันขึ้นระวางประจำการ เรือรบหลวงปัตตานี เรือรบหลวงสุราษฎร์ เรือรบหลวงจันทบุรี เรือรบหลวงระยอง เรือรบหลวงชุมพร เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงบางระจัน เรือรบหลวงหนองสาหร่าย ซึ่งต่อจากประเทศอิตาลี และ เรือรบหลวงธนบุรี ซึ่งต่อจากประเทศญี่ปุ่น ต่อมาเรือรบหลวงธนบุรี ได้จมลงที่เกาะช้างขณะรบกับฝรั่งเศส ส่วนเรือรบหลวงชุมพรปลดระวาง ปัจจุบันอยู่บริเวณหาดทรายรี จ. ชุมพร
...
5 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ซิงเกิล Love me do ของ The Beatles วางแผงเป็นครั้งแรกที่เกาะอังกฤษ เพลงนี้แต่งโดย จอห์น เลนนอนและพอล แมคคาร์ทนีย์ (Lennon-McCartney) โดยรวมอยู่ในอัลบัม Please Please Me หน้า A ส่วนหน้า B เป็นเพลง P.S. I love You เพลง Love me do ขึ้นชาร์ทสูงสุดที่อังกฤษ อันด้บที่ 17 อีกสองปีต่อมาขึ้นบิลบอร์ดชาร์ทที่อเมริกาอันดับหนึ่ง
...
5 ตุลาคม พ.ศ. 2423 ฌากส์ ออฟเฟนบาค (Jacques Offenbach) คีตกวีและนักเชลโลชาวฝรั่งเศส ในยุคโรแมนติก เสียชีวิต ออฟเฟนบาคเกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2362 เกิดที่เมืองโคโลจ์ญ ประเทศเยอรมนี พ่อเป็นชาวยิวซึ่งเป็นหัวหน้าคณะนักร้องในโบสถ์และนักไวโอลิน ออฟเฟนบาคเริ่มเล่นไวโอลินตั้งแต่ 6 ขวบ เริ่มแต่เพลงได้ตั้งแต่ 8 ขวบ ปีต่อมาก็หัดเล่นเชลโล พออายุได้ 14 ปีพ่อก็ส่งเขาไปเรียนดนตรีที่กรุงปารีส แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ออกมาเล่นในวงดนตรีต่าง ๆ เขาแต่งเพลงออกมาบ้างแต่ก็ยั...
6 ตุลาคม พ.ศ. 2470 เดอะแจซ ซิงเกอร์ (The Jazz Singer) ภาพยนตร์พูดเรื่องแรกของโลกเปิดฉายเป็นวันแรกในอเมริกา นับเป็นการเริ่มต้นของยุคภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย Alan Crosland และ Gordon Hollingshead และนำแสดงโดย Al Jolson May McAvoy และ Warner Oland โดยค่ายวอร์เนอร์ บราเดอร์ส
...
อันวาร์ ซาดัต (Muhammad Anwar al-Sadat) ประธานาธิบดี แห่งอียิปต์ ถูกลอบยิงเสียชีวิต เขาเป็นผู้นำชาติอาหรับคนแรกที่พยายามลดความตึกเครียดจากความขัดแย้งกับอิสราเอล โดยเดินทางไปเยือนอิสราเอลในปี 2520 และสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอล จนสามารถทำสัญญาสันติภาพกับอิสราเอลในปี 2521 ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ร่วมกับ เมนาเฮม เบกิน (Menachem Wolfovich Begin) นายกรัฐมนตรีอิสราเอลในปี 2521 อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการสร้างความสัมพ...
รัฐบาลกัมพูชา ยื่นฟ้องต่อ ศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือ เขาพระวิหาร ในเขตอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษของไทย โดยอ้างว่าประเทศไทยละเมิดอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารซึ่งเป็นของกัมพูชา ตั้งแต่ปี 2497 เป็นต้นมา และขอเรียกร้องให้คืนอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารคืนแก่กัมพูชา การไต่สวนพิจารณาคดียาวนานถึง 3 ปี มีการนัดพิจารณาสืบพยานทั้งหมด 73 ครั้ง จนในที่สุด เมื่อวันที่ 15 มิถุนาย...
7 ตุลาคม พ.ศ. 2428 วันเกิด นีลส์ บอร์ (Niels Hendrik David Bohr) นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก เกิดที่กรุงโคเปนเฮเกน หลังจากที่จบการศึกษาด้านฟิสิกส์เขาก็เริ่มค้นคว้าทดลองมาตลอด ในปี 2465 เขาได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์จากผลงานทฤษฎีอะตอมแนวใหม่ ต่อมาเขาเดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อปรึกษากับไอน์สไตน์ และทำการทดลองเกี่ยวกับอะตอม ซึ่งต่อมาทฤษฎีของเขาได้ถูกนำไปใช้ในการสร้างระเบิดปรมาณู ทั้ง ๆ ที่เขาพยายามจะคัดค้าน แต่ในที่สุดระเบิดปรมาณูก็ถูกทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ ...
7 ตุลาคม พ.ศ. 2495 วันเกิด วลาดิมีร์ ปูติน (Vladimir Vladimirovich Putin) ประธานาธิบดี โซเวียต ที่เมืองเลนินกราด (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) และสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี บอริส เยสต์ซิน (Boris Yeltsin) เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2542 และได้รับการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547
...
7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรที่ดินของรัฐในป่า 14 แห่ง เพื่อจัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ก่อนจะมีการะประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505 ได้รับสมญาว่าเป็นมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน และในปี 2548 ยูเนสโกได้ประกาศให้กลุ่มป่า ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็น มรดกโลกทางธรรมชาติ เป็นแห่งที่สองของไทยต่อป่าห้วยขาแข้ง
...
8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 นักเรียนเตรียมอุดม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งนิสิต นักศึกษาและนักเรียนเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ร่วม เดินขบวนเพื่อสนับสนุนรัฐบาลในการเรียกร้องดินแดนอินโดจีนที่สูญเสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 คืนจากฝรั่งเศส นับเป็นการเดินขบวนครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย
...
8 ตุลาคม พ.ศ. 2438 วันเกิด ฮวน โดมิงโก เปรอง (Juan Domingo Peron) อดีตประธานาธิบดีคนสำคัญของอาร์เจนตินา เกิดที่ย่านโลโบสในกรุงบัวโนสไอเรส ในครอบครัวชาวนา บิดามีเชื้อสายสก็อต ส่วนมารดามีเชื้อสายสเปน-อินเดียนแดง ตอนอายุ 16 ปีเข้าเรียนโรงเรียนทหาร ในปี 2481 ถูกส่งตัวไปสังเกตการณ์ในประเทศยุโรปหลายประเทศ ในปี 2486 ขณะที่เขาดำรงยศนายพัน อาร์เจนตินาได้เกิดการรัฐประหารโดย นายพล เอเดลมิโร ฟาร์เรลล์ (Edelmiro Farrell) เปรองเริ่มมีอำนาจมากขึ้นอีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ก...
8 ตุลาคม พ.ศ. 2384 ฌอง ฌิโอโน (Jean Giono) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ผู้แต่งนวนิยายเรื่องเล็กแต่ยิ่งใหญ่ The Man Who Planted trees (คนปลูกต้นไม้) เสียชีวิต ฌิโอโนเกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2438 ที่แคว้นโปรวองซ์ ตอนเหนือของฝรั่งเศส ซึ่งเขาอยู่ที่นี่เกือบตลอดชีวิต บิดาของจีโอโนเป็นช่างทำรองเท้า มารดาเปิดร้านซักรีด ตอนอายุสิบหกปี เขาออกจากโรงเรียนมาทำงานเป็นเสมียนในธนาคารจนถึงปี 2472 ขณะอายุได้ 34 ปี เมื่อนิยายสองเรื่องแรกของเขาประสบความสำเร็จ คือ Collines&rdq...
9 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เช เกวารา (Che Guevara หรือชื่อจริง Ernesto Rafael Guevara de la Serna) นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่แห่งละตินอเมริกา เสียชีวิต เชเกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2471 (ข้อมูลบางแห่งบอกว่าวันที่ 14 พฤษภาคม 2471 เพราะมารดาต้องการปกปิดว่าเธอตั้งครรภ์ก่อนแต่ง) เชเป็นลูกครึ่งไอริช-สเปน เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางแห่งเมืองโรซาริโอ (Rosario) ประเทศอาร์เจนตินา เรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบูเอโนสไอเรส (University of Buenos Aires) ตอนที่เรียนอยู่ปีสุดท้ายเขากับเพื่อน...
9 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ออสการ์ ชินด์เลอร์ (Oskar Schindler) ผู้ช่วยชีวิตชาวยิวกว่า 1,200 คน ในค่ายกักกัน เอาชวิตซ์ (Auschwitz) เสียชีวิตในวันนี้ เรื่องราวของเขาถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เรื่อง Schindler’s list
...
9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 พล.ต.ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ ปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย ถึงแก่อสัญกรรม น้องชายของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช (อดีตนายกในปี 2488-2519) ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เกิด 20 เมษายน 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อ. อินทร์บุรี จ. สิงห์บุรี เป็นโอรสของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) เรียนมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นไปเรียนต่อวิชาปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการเมือง จากวิทยาลัยควีนส์ (The...
10 ตุลาคม พ.ศ. 2460 วันเกิด เธโลเนียส มังค์ (Thelonious Sphere Monk) นักเปียโนแจ๊สหนึ่งในตำนาน เกิดที่เมืองร็อกกี เมาท์ รัฐนอร์ท แคโรไลนา หัดเล่นเปียโนตอนอายุ 9 ขวบ แต่ก็ไม่เคยเข้าเรียนอย่างเป็นกิจลักษณะ เขามักจะฝึกฝนด้วยตนเองและครูพักลักจำมาจากพี่สาว ตอนอายุสี่ขวบครอบครัวย้ายไปเมืองแมนฮัตตัน นิวยอร์ก มังค์เข้าเรียนไฮสคูลที่นั่น แต่ยังไม่ทันจบก็ออกมาเป็นนักออร์แกนในคณะนักร้องประจำโบสถ์ ทำให้มีโอกาสซึมซับดนตรีกอสเพล (Gospel) ซึ่งมีอิทธิพลต่องานของเขาในเวลาต่...
10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 วันเกิด จูเซปเป แวร์ดี (Giuseppe Fortunino Francesco Verdi) คีตกวีชาวอิตาเลียน แห่งยุคโรแมนติก เกิดที่เมืองบุสเซ็ตโต (Busseto) ในแคว้นพาร์มา ทางเหนือของอิตาลี ในสมัยที่ยังอยู่ใต้อิทธิพลจองจักรพรรดิ นโปเลียน ที่ 1 (Napoleon I) พ่อแม่ของเขาเปิดบริการที่พักสำหรับคนเดินทางและร้านอาหารเล็ก ๆ แวร์ดีเริ่มหัดเล่นดนตรีกับนักออร์แกนประจำหมู่บ้าน ก่อนจะถูกส่งไปเรียนดนตรีอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในเมืองบุสเซ็ตโต จากนั้นก็ได้รับทุนไปเรียนดนตรีต่อที่เมือ...
10 ตุลาคม พ.ศ. 2513 สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ (Republic of the Fiji Islands) ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร ฟิจิเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ห่างจากออสเตรเลียไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2,880 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 330 เกาะ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 18,300 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือ ซูวา (Suva) ตั้งอยู่บนเกาะ Viti Levu ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ 10,429 ตารางกิโลเมตร ประชากร 856,346 (ปี 2545) 51% เป็นชาวพื้นเมืองฟิจิ ที่เหลือเป็นชาวอินเดียน-ฟ...
11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เกิดเหตุการณ์ กบฏบวรเดช” ซึ่งเป็นกบฎครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งระหว่างขุนนางเก่าที่นิยมเจ้ากับฝ่ายคณะราษฎร์ผู้ทำการอภิวัตน์การปกครอง โดยคณะทหารในนาม คณะกู้บ้านกู้เมือง” นำโดย พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม พล.ต. พระยาจินดาจักรัตน์ พล.ต. พระยาทรงอักษร และ พ.อ. พระยาศรีสิทธิสงคราม ได้นำกองกำลังทหารหัวเมืองจากนครราชสีมา สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา บุกเข้ายึดดอนเ...
11 ตุลาคม พ.ศ. 2511 วันเกิด หลวงปู่ ติชนัทฮันห์ (Thich Nhat Hanh) ธรรมาจารย์ด้านพุทธศาสนานิกายเซนชาวเวียตนาม ภิกษุนักรณรงค์เรื่องสันติภาพ ชื่อเดิมคือ เหงียนซวนเบ๋า (Nguyen Xuan Bao) ถือกำเนิดที่จังหวัดกวงสี ตอนกลางของเวียดนาม ตอน 9 ขวบ ท่านเห็นปกหนังสือที่มีภาพพระพุทธองค์นั่งบนสนามหญ้าด้วยรอยยิ้มสงบงามและเต็มไปด้วยความสุข ความประทับใจครั้งนั้นทำให้ท่านตัดสินใจเข้าสู่เพศบรรพชิตเมื่ออายุได้ 16 ปี ที่วัดตื่อฮิ้ว (Tu Hieu) ใกล้ ๆ เมืองเว้ อีกเจ็ดปีต่อมาจึงอุปสม...
11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เนื่องจากเป็นฉบับแรกที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุดและมีการเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนทั่วประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากกว่าฉบับที่ผ่าน ๆ มา แต่ในที่สุดก็มีอายุยังไม่ทันครบ 9 ปี ก็ถูกฉีกไป หลังจากที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประม...
12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 วันเปิดทำการสอนของโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตึกสายสวลีสัณฐาคาร วัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้กุลบุตรกุลธิดา ได้รับความรู้มีการศึกษา โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้พัฒนาโดยลำดับ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครูพระนคร ในวันที่ 6 มีนาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้วิทยาลัยครูพระนครใหม่ว่า สถาบันราชภัฏ ในปี 2535 เป็นวาระครบรอบ 100 ปี ของกา...
12 ตุลาคม พ.ศ. 2448 รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศให้รวมกิจการหอพระสมุดสามแห่ง คือ หอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณและหอพุทธศาสนสังคหะ จัดตั้งเป็น หอสมุดสำหรับพระนคร พระราชทานให้ปวงชนชาวไทยมีแหล่งศึกษาหาความรู้ ทำให้หอพระสมุดที่เดิมเป็นประโยชน์เฉพาะเจ้านายขุนนาง ได้ใช้ประโยชน์โดยประชาชนทั่วไปด้วย จัดเป็นห้องสมุดสาธารณะแห่งแรกของไทย และเป็นต้นกำเนิดของ หอสมุดแห่งชาติ ในปัจจุบัน
...
12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียนที่เดินทางมารับราชการในประเทศไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 ระยะแรกเปิดสอนวิชาจิตรกรรมและปฏิมากรรมให้แก่นักเรียนและข้าราชการโดยไม่คิดค่าเล่าเรียน และกิจการไดเจริญเติบโตมาเป็นลำดับ ต่อมาปี 2478 ได้รวมเอาโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่วังหน้า และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า โรงเรียนศิลปากร ก่อ...
13 ตุลาคม พ.ศ. 2468 วันเกิดของอดีตนายกรัฐมนตรี หญิงเหล็ก หรือรัฐสตรี นางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher) แห่งอังกฤษ ซึ่งรับตำแหน่งยาวนานถึง 12 ปี ในช่วงปี 2522-2533 เริ่มเข้าสู่การเมืองครั้งแรกในปี 2502 โดยได้รับเลือกเป็น สส. แห่งเมืองฟินเลย์ จากนั้นปี 2520 ได้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นหัวหพรรคการเมืองสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษ ในบั้นปลายชีวิตเธอได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางชั้นบารอน
...
13 ตุลาคม พ.ศ. 2536 วันสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ หรือ ท่านจักร ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ทรงเป็นโอรสใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตนจาตุรนต์ ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านการเกษตรจากรประเทศสหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ พระองค์ทรงมีความสามารถพิเศษทางด้านการประพันธ์คำร้องและทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ เช่นเพลง แสงเทียน ยามเย็น สายฝน และเพลงอื่น ๆ อีกนับร้อยเพลง ตอนที่ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตร...
13 ตุลาคม พ.ศ. 2458--วันตำรวจ วันประกาศรวม กรมพลตระเวน กับ กรมตำรวจภูธร เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า กรมตำรวจ กรมตำรวจจึงถือเอาวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น วันตำรวจ โดยมีการประกอบพิธีในวันตำรวจอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2492 ในสมัยที่ พล.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี 2541 กรมตำรวจได้เปลี่ยนเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
...
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516--วันประชาธิปไตย เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค นับเป็นการแสดงพลังทางการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ เมื่อนิสิต นักศึกษาและประชาชนกว่า 500,000 คนชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและคัดค้านอำนาจรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร (ซึ่งทำรัฐประหารยึดอำนาจตัวเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514) การเดินขบวนเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกไปตามถนนราชดำเนินสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ก่อนจะปะทะระกับเจ้าห...
14 ตุลาคม พ.ศ. 1609 วิลเลียม ดยุคแห่งนอร์มังดี นำทัพชาวนอร์มัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานแถบภาคเหนือของฝรั่งเศสรุกรานอังกฤษจนได้ชัยชนะเหนือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 กษัตริย์ของชาวแซกซัน ในการรบที่เฮสติงส์ วิลเลียม เป็นชาวนอร์มันคนแรกที่ขึ้นเป็นกษัตริย์อังกฤษในเวลาต่อมา และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ วิลเลียมผู้พิชิต (William The Conqueror)
...
14 ตุลาคม พ.ศ. 2469 วินนี เดอะ พูห์ (Winnie the Pooh) หนึ่งในหนังสือชุดหมีพูห์ ซึ่งประพันธ์โดย เอ.เอ . มิล์น (Alan Alexander Milne) ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกและเป็นเล่มแรกที่ทำให้เจ้าหมีพูห์ เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง หนังสือชุดหมีพูห์ เป็นหนังสือเด็กชุดคลาสสิกที่ได้รับความนิยมตลอดกาล ถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 25 ภาษา ได้รับการตีพิมพ์ไปแล้วกว่า 70 ล้านเล่ม ภาพประกอบในหนังสือเล่มนี้เป็นฝีมือของ Ernest H. Shepard การ์ตูนเรื่องนี้ เอ.เอ. มิล์น เขียนเรื่องนี้โดยไ...
15 ตุลาคม พ.ศ. 2524 คราซี จอร์จ (Krazy George) เชียร์ลีดเดอร์อาชีพ เป็นคนสร้าง การเล่นเวฟ ( The Wave) การที่ผู้ชมลุกขึ้นยืนยกมือเชียร์เป็นคลื่นรอบอัฒจันทร์ เป็นครั้งแรกในการแข่งขันเบสบอล ที่เมืองโอ๊คแลนด์ สหรัฐอเมริกา
...
15 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ประธานาธิบดี มิคาอิล กอร์บาชอพ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัล โนเบิลไพรซ์ สาขาสันติภาพ ที่กรุงออสโลว์ ซึ่งเขาได้รับรางวัลนี้ในปีนั้นด้วย
...
วันเกิด แมรี สโตปส์ (Dr. Marie Stopes) แพทย์ผู้บุกเบิกวิชาการวางแผนครอบครัว นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และนักเขียนชาวสก็อต เกิดที่แคว้นเอดินเบิร์ก ประเทศสก็อตแลนด์ ในครอบครัวนักวิชาการ พ่อเป็นนักโบราณคดี แม่ก็เป็นคนหัวสมัยใหม่ที่มีความรู้ เธอเข้าเรียนคณะพฤษศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จบแล้วไปทำวิจัยที่ญี่ปุ่นครึ่งปี ก่อนจะกลับมาเรียนวิชาเกี่ยวกับพืชดึกดำบรรพ์ (Palaeobotany) โดยเป็นนักศึกษาผู้หญิงคนแรกของคณะวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ เธอแต่งงานในปี 24...
16 ตุลาคม พ.ศ. 2505 วิกฤติการณ์ขีปนาวุธในคิวบา” (Cuban Missile Crisis) เริ่มต้นขึ้น ในช่วงสงครามเย็น ภายหลังจากที่ ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคเนดี (John F. Kennedy) แห่งสหรัฐอเมริกาได้รับหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศจากเครื่องบินสอดแนม ซึ่งยืนยันว่าสหภาพโซเวียต ในสมัยประธานาธิบดี นิกิตา ครุชอฟ (Nikita Khrushchev) กำลังติดตั้งฐานปฏิบัติการขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์บนเกาะคิวบา เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ ไปตั้งฐานยิงขีปนาวุธบริเวณพรมแดนตุรกี-โซเวียต จากนั้นเคเนดีจ...
16 ตุลาคม พ.ศ. 2389 วิลเลียม มอร์ตัน (William Thomas Green Morton) แพทย์ชาวอเมริกัน สาธิตการใช้ยาสลบ อีเทอร์ (Ether) ในการผ่าตัดต่อหน้าสาธารณชนอยางเป็นทางการครั้งแรก ที่โรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา โดยให้คนไข้สูดดมก๊าซอีเทอร์ก่อนทำการผ่าตัดเนื้องอกที่คอ ทำให้คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บปวดแม้แต่น้อย ความสำเร็จในการผ่าตัดครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการศัลยกรรม นับเป็นการปฏิวัติวงการศัลยกรรมเลยทีเดียว ทำให้การผ่าตัดวิธีใหม่ ๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น แม้มอร์ตันจะ...
16 ตุลาคม พ.ศ. 2397 วันเกิด ออสการ์ ไวลด์ (Oscar Fingal O’Flahertie Wills Wilde) นักเขียนชาวไอริช ในสมัยปลายยุควิคตอเรีย เกิดที่เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในครอบครัวชนชั้นสูงที่ไม่ยึดถือในขนบธรรมเนียมประเพณี บิดาเป็นศัลยแพทย์ผู้ใจบุญชื่อ เซอร์ วิลเลียม ไวลด์ (Sir William Wilde) มารดาเป็นนักเขียนและกวีนักชาตินิยมชื่อ เจน ฟราเซสกา เอลจี (Jane Francesca Elgee) ไวลด์เป็นเด็กที่มีผลการเรียนโดดเด่นจนได้รับทุนการศึกษาเข้าเรียนที่วิทยาลัยแมกดาเลน แห่งมหา...
17 ตุลาคม พ.ศ. 2392 เฟรเดอริก ฟรังซัวร์ โชแปง (Frederic Francois Chopin) เสียชีวิตด้วยวัณโรค โชแปงคือคีตกวีชาวโปแลนด์ในยุคโรแมนติก ผลงานเกือบทั้งหมดของเขาเป็นเพลงเปียโน เขาได้รับยกย่องเป็น กวีแห่งเปียโน ดนตรีของเขาจัดอยู่ในกลุ่มโรแมนติก หมายถึงดนตรีที่แสดงอารมณ์อย่างอิสระ มีความสดใส แสดงถึงความรักชาติ
...
17 ตุลาคม พ.ศ. 2468 วันเกิด ศ.ดร. ระวี ภาวิไล นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา และราชบัณฑิต ท่านเรียนจบสาขาฟิสิกส์จากฬุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโททางฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยแอเดอเลด และปริญญาเอกทางดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ออสเตรเลีย ท่านเป็นอาจารย์และนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของไทย เป็นผู้บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรก ๆ ของไทย และมีส่วนให้สังคมไทยสนใจดาราศาสตร์มากขึ้น นอกจากนั้นท่านยังมีความสนใจทางด้านศาสนาและปรัชญา เคยเขียนและแปลห...
17 ตุลาคม พ.ศ. 2476 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการลี้ภัยหนีจากกองทัพนาซีเยอรมัน
...
18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 --วันวิทยาศาสตร์ไทย วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อปี 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน ทรงมีพระราชโอรส-พระราชธิดาทั้งหมด 82 พระองค์ ทรงผนวชอยู่นานตลอดรัชกาลที่ 3 ระหว่างนั้นทรงศึกษาวิชาการทางพุทธศาสนาจนแตกฉานในรพระไตรปิฎก ทรงเชี่ยวชาญภาษาบาลีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทอดพระเนตรเห็นวัตรปฏิบัติอันหย่อนยานของสงฆ์บางส่วนในสมัยนั้น จึงได้ทรงตั้งธรร...
18 ตุลาคม พ.ศ. 2441 สหรัฐอเมริกา เข้าครอบครอง เปอร์โตริโก ชื่อเต็ม เครือรัฐเปอร์โตริโก (Commonwealth of Puerto Rico) เป็นเครือรัฐหนึ่งของอเมริกาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสาธารณรัฐโดมินิกัน เปอร์โตริโกเป็นดินแดนที่เล็กที่สุดของหมู่เกาะแอนทิลลิสใหญ่ เปอร์โตริโกมีพื้นที่ประมาณ 9,104 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน เมืองหลวงคือซานฮวน (San Juan) ใช้ภาษาสเปนและอังกฤษเป็นภาษาราชการ ใช้หน่วยเงินยูเอสดอลล่าร์
...
18 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ทอมัส อัลวา เอดิสัน ยอดนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันแห่งศตวรรษที่ 19 เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานและไตวาย เอดิสันเป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า และเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์กว่า 1,000 รายการ นอกจากนั้นเขารยังได้ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ชื่อ Edison Trust นิตยสารไลฟ์ (Life) ยกย่องให้เขาเป็น หนึ่งใน 100 คนที่สำคัญที่สุดในช่วง 1,000 ปีที่ผ่านมา
...
19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงควบคุมการทดลอง ปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตให้ผู้แทนของรัฐบาลสิงคโปร์ชม ณ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน ทั้งนี้ “โครงการพระราชดำริ ฝนหลวง” เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี 2495 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาด แคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้มีพระมหากร...
19 ตุลาคม พ.ศ. 2513 อาคาร เวิร์ลเทรดเซนเตอร์ 1” (One World Trade Center) เริ่มเปิดใช้งานเป็นวันแรก ก่อนที่อาคารจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในอีกสองปีต่อมา อาคารแห่งนี้มีความสูง 417 เมตรหรือ 110 ชั้น นับเป็นตึกที่สูงที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น ตึกเวิร์ลเทรดฯ ออกแบบส่วนใหญ่โดยสถาปนิกชาอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นชื่อ มิโนรุ ยามาซากิ (Minoru Yamasaki) ควบคุมการก่อสร้างโดยวิศวกรชาวอเมริกันชื่อ เลสลี โรเบิร์ตสัน (Leslie E. Robertson) เริ่มก่อสร้างเริ่มในปี 250...
19 ตุลาคม พ.ศ. 2532 เจอร์รี คอลลอน (Gerry Conlon) และ พอล ฮิล (Paul hill) และเพื่อนอีกสองคน รวมเป็น 4 คน ชาวไอริช ถูกปล่อยตัวหลังจากถูกจำคุกนานถึง 15 ปี โดยทั้งสี่คนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายในขบวนการ IRA โดยเป็นผู้วางระเบิดผับ กิลฟอร์ด (Guildford) ในอังกฤษ โดยไม่มีการสืบสวนอย่างแน่ชัดภายใต้กฏหมายต่อต้านการก่อการร้าย ในปี 2518 แต่ในที่สุดทั้งหมดก็ได้รับการปล่อยตัวในฐานะผู้บริสุทธิ์ ด้วยการต่อสู้ทางกฏหมายของ เจอร์รี คอลลอน เรื่องราวบางส่วนของเขาถูกนำมาสร...
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี (ซึ่งพร้อมใจลาออก) รัฐประหารครั้งนี้ต่อเนื่องมาจากรัฐประหารครั้งก่อน ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 โดยอาศัยเหตุจากการเดินขบวนประท้วง การประท้วงการเลือกตั้งสกปรก และการแย่งอำนาจกันเองในหมู่ทหาร จากนั้นจอมพลสฤษดิ์ได้แต่งตั้งนายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรีและจัดให้มีการเลือกตั้งพลโทถนอม กิตติขจร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่สามารถบริหารรา...
ดร. นอร์แมน โบแลง (Norman Borluag) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จากการช่วยพัฒนาสายพันธุ์พืชโดยเฉพาะพันธุ์ข้าวไรย์ (rye) และข้าวสาลี (wheat) ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้คนนับล้านในหลายประเทศให้รอดพ้นจากการอดอยาก จากการปฎิวัติเกษตรกรรม (Green Revolution)
...
พิธีเปิด โรงอุปรากรซิดนีย์ (Sydney Opera House) อย่างเป็นทางการโดยสมเด็จพระราชินี อลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizaveth II) ซิดนีย์ โอเปร่า เฮาส์ ตั้งอยู่ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่สวยงามที่สุดในโลก และเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของออสเตรเลีย
...
วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ทรงมีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ ตะละภัฏ เข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา จากนั้นเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงได้รับการคัดเลือกให้ไปทรงศึกษาวิชาพยาบาลต่อที่ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2463 ได้มีพิธีอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่วังสระปทุม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนไทยเป็นอย่าง...
วันเกิด อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ดินระเบิดร้ายแรงที่เรียกว่า ไดนาไมต์ แต่เขาไม่พอใจที่ไดนาไมต์ถูกนำไปใช้ทางทหาร เขาจึงยกเงินในพินัยกรรมให้เป็นรางวัลสำหรับส่งเสริมสันติภาพ และการศึกษาด้านต่างๆ คือ ฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ วรรณกรรมและสันติภาพ เริ่มมีต้งแต่ 2444 ต่อมาในปี 2512 ได้มีการเพิ่มรางวัลในสาขาเศรษฐศาสร์ การมอบรางวัลโนเบลจัดขึ้นเป็นประจำในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี (และจะเว้นระยะได้ไม่เกิน 5 ปี) ผู้พระราชทานคือสมเด็จพระราชาธ...
วันประสูติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายรพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมในกรุงลอนดอนเป็นเวลา 3 ปี ก่อนสอบเข้าเรียนนิติศาสตร์ที่สำนักไครส์เชิช มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ตั้งแต่พระชันษาเพียง 18 ปี และเรียนจบได้เกียรตินิยมภายในเวลา 3 ปี หลังจากนั้นพระองค์จึงกลับมาทำงานที่เมืองไทย เคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และได้รับการยกย่องเป็นพระบิดาแห่งกฏหมายไทย ทรงเป...
พอล เซซานน์ (Paul Cezanne ) เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม เขาเป็นจิตรกรในกลุ่มโพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ ยุคเดียวกับโกแกง และแวนโก๊ะห์ ในช่วงแรกเขานิยมวาดภาพหุ่นนิ่ง แต่ภาพที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ภาพกลุ่มหญิงเปลือยกายอาบน้ำ หรือ เดอะ เกรท บาทเธอส์ (The great bathers)
...
ประเทศลาวได้รับเอกราชคืนจากประเทศฝรั่งเศส ในขณะนั้นลาวมี เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์
...
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2499 ได้พระสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ (แปลว่า) และเสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ขณะที่ทรงดำรงสมณเพศพระองค์ได้ทรงเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเช่นเดียวกับพระภิกษุทั่วไป ทั้งการทำวัตรและการบิณฑบาตร ในระหว่างนั้นได้แต่งตั้งพระบรมราชีนินาถให้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน
...
23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 --วันปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตรวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการสมัยใหม่แขนงต่าง ๆ ทั้งการศึกษา การทหาร การคมนาคม การรถไฟ ฯลฯ การพัฒนาของพระองค์ส่งผลให้สยามประเทศพัฒนาเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช และมีความหมายว่...
23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จเสวยราชสมบัติ ทรงเป็นพระราชโอรสที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ ของพระองค์ อาทิ ทรงก่อตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวชิราวุธวิทยาลัย ทรงก่อตั้งกองเสือป่า ทรงก่อตั้งกองลูกเสือ เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์ ตั้งเมืองดุสิตธานีเพื่อเป็นเมืองทดลองใช้ระบอบประชาธิปไตย ประกาศสงครามกับเยอร...
23 ตุลาคม พ.ศ. 2489 มีการประชุมทั่วไปของสหประชาชาติ เป็นครั้งแรก ที่กรุงนิวยอร์ค
...
24 ตุลาคม พ.ศ. 2472 เกิดเหตุการณ์ พฤหัสทมิฬ” (Black Thursday) หรือ Wall Street Crash of 1929” เป็นวันที่ภาวะการซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์ นิวยอร์ก (New York Stock Exchange – NYSE) ย่านถนนวอลสตรีท นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ถูกเทขายจนมีมูลค่าตกต่ำสุดขีด มีการเทขายหุ้นถึง 12.9 ล้านหุ้น ท่ามกลางความปั่นป่วนของตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันถึง 16 ล้านหุ้นในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม เมื่อถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน หุ้นราคา 30,000 ล้...
24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น” (United Nation : UN) ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง โดยมีประเทศสมาชิกผู้เริ่มก่อตั้ง 51 ประเทศ นำโดยประเทศมหาอำนาจของโลกอย่าง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และจีน ลงนามให้สัตยาบันรับรอง “กฎบัตรสหประชาชาติ” (United Nations Charter) ซึ่งเป็นธรรมนูญของสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ ยูเอ็นเป็นองค์การระหว่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื...
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หม่อมหลวงปิ่นเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ณ บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 6 ใน 13 คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์)) หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่...
25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตทางแพทย์ (เวชชบัณฑิตชั้นตรี หรือแพทยศาสตร์บัณฑิตในปัจจุบัน) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2471 และ 2472 และเป็นประเพณีสืบทอดมาจนทุกวันนี้
...
25 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ซาดาโกะ ซาซากิ (Sadako Sasaki) เด็กหญิงชาวญี่ปุ่น เหยื่อของระเบิดนิวเคลียร์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเม็ดโลหิต (ลูคีเมีย) ขณะอายุได้ 11 ปี เนื่องจากได้รับสารกัมมันตภาพรังสีจากระเบิดปรมาณูที่สหรัฐอเมริกา ทิ้งถล่มเมืองฮิโรชิมา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2488 ในปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนเสียชีวิต ซาดาโกะพยายามพับนกกะเรียนกระดาษด้วยมือที่บวมเป่งและเจ็บปวดมาก ด้วยความเชื่อว่าหากพับนกได้ครบหนึ่งพันตัว เธอจะหายจากโรคร้าย แต่ในที่สุดเธอก็จบชีวิตลงเมื่...
25 ตุลาคม พ.ศ. 2424 วันเกิด ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso) ศิลปินเอกของโลกชาวสเปน เกิดที่เมืองมาลากา (Malaga) ประเทศสเปน พ่อเป็นอาจารย์สอนศิลปะในมหาวิทยาลัย เขาเริ่มฉายแววศิลปินอัจฉริยะตั้งแต่เด็ก ด้วยการเปล่งเสียงคำแรกที่พูดได้คือ ‘piz (คำย่อของ Lapiz) ซึ่งแปลว่า ดินสอ จากนั้นพ่อของเขาก็เริ่มสอนศิลปะให้ ปี 2443 เขาเดินทางไปปารีส เมืองหลวงของศิลปะในสมัยนั้น ปีแรก ๆ เขาต้องทำงานหนักและอยู่อย่างลำบาก หลายครั้งต้องเผางานศิลปะเพื่อผิงไฟ จากนั้นก็เ...
26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 วันก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งอังกฤษ (The Football Association--The FA) ณ กรุงลอนดอน ก่อตั้งขึ้นเพื่อวางกฏเกณฑ์ กติกาของการเล่นฟุตบอล โดยจะดูแลสโมสรฟุตบอลอาชีพทั้งหมดในอังกฤษ สมาคมฯ จะรับผิดชอบในการจัดเตรียมนักกีฬาฟุตบอลทั้งทีมชาย-หญิงสำหรับแข่งขันฟุตบอลโลก และเป็นผู้จัดการแข่งขันชิงถ้วยของสมาคมฯ (FA Cup) รวมไปถึงจัดการแข่งขันฟุตบอลลีก (FA Premier League) สมาคมฟุตบอลอังกฤษจึงเป็นหน่วยงานปกครองกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก การแข่งขัน FA Cup ...
26 ตุลาคม พ.ศ. 2428 พันเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ผู้บังคับการกรม ทหารรักษาพระราชวัง เป็นแม่ทัพ กองทัพฝ่ายใต้ ไปปราบพวกฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ โดยตั้งกองบัญชาการที่เมืองหนองคาย
...
26 ตุลาคม พ.ศ. 2307 วิลเลียม โฮการ์ธ(William Hogarth) จิตรกรชาวอังกฤษ ถึงแก่กรรม โฮการ์ทเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2222 ที่กรุงลอนดอน บิดาเป็นครูที่ยากจน เขาเป็นเด็กช่างสังเกตและชอบสเกตช์ภาพทิวทัศน์และผู้คนตามท้องถนน เมื่อเติบโตได้งานทำเป็นช่างแม่พิมพ์โลหะ พออายุได้ 23 ปี ก็สมัครเรียนศิลปะที่ Vanderbank’s Academy และที่ Thornhill’s art school ที่นี่เขาได้หลงรักลูกสาวของทอร์นฮิลล์ จนกระทั่งอายุ 32 ปีก็พาลูกสาวหนี เนื่องจากพ่อตาไม่ค่อยชอ...
27 ตุลาคม พ.ศ. 2271 วันเกิด กัปตันเจมส์ คุก (Captain James Cook) นักสำรวจ นักเดินเรือ และนักทำแผนที่ชาวอังกฤษ เขาเดินทางไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก 3 ครั้ง และได้ทำแผนที่แนวชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ เอาไว้ คุกเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้ามาสำรวจประเทศออสเตรเลีย หมู่เกาะฮาวาย นิวฟาวด์แลนด์ นิวซีแลนด์ เขาเป็นนักเดินเรือคนแรกที่เดินเรือรอบโลกสำเร็จ
...
27 ตุลาคม พ.ศ. 2401 วันเกิด ธีโอดอร์ รูสเวลท์ (Theodore Roosevelt) ประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกา เจ้าของวาทะ Do what you can, with what you have, where you are (จงทำตามความสามารถ จากสิ่งที่มีอยู่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน)
...