มารี คูรี และ ปิแอร์ คูรี ค้นพบธาตุโพโลเนียม
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 มารี คูรี (Marie Curie) และ ปิแอร์ คูรี (Pierre Curie) คู่ภรรยาสามีนักฟิสิกส์ชาวโปแลนด์ ประกาศการค้นพบธาตุกัมมันตรังสีชนิดใหม่ โดยตั้งชื่อว่า โพโลเนียม (Polonium – Po เลขอะตอม 84) เพื่อเป็นเกียรติแก่บ้านเกิดเมืองนอนของทั้งคู่ คือประเทศโปแลนด์ (Poland) โดยทั้งสองได้ทำการทดลองในอาคารเล็ก ๆ ที่เป็นห้องเก็บฟืนของภาควิชาฟิสิกส์ แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ที่ปิแอร์สอนหนังสืออยู่ จากนั้นอีก 6 เดือนต่อมา พวกเขาก็ค้นพบธาตุเรเดียม (Radium) ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีเช่นกัน โพโลเนียมนับเป็นธาตุหายากชนิดหนึ่ง พบปริมาณเล็กน้อยในธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะพบในสินแร่ที่มียูเรเนียม โพโลเนียมมีลักษณะเป็นของแข็งสีเทาเงิน มีจุดหลอมเหลว 254 องศาเซลเซียส และจุดเดือด 962 องศาเซลเซีส ละลายได้ในกรดเจือจาง (dilute acids) สารละลายที่เกิดขึ้นจะระเหยได้ดี ธาตุโพโลเนียมสามารถปล่อยรังสีแอลฟาในปริมาณที่มากกว่าธาตุเรเดียมถึง 5,000 เท่า หากเข้าสู่ร่างกายจะเป็นอันตรายมากกว่าไซยาไนด์ 250 ล้านเท่า
มารี คูรี และ ปิแอร์ คูรี ค้นพบธาตุโพโลเนียม, มารี คูรี และ ปิแอร์ คูรี ค้นพบธาตุโพโลเนียม หมายถึง, มารี คูรี และ ปิแอร์ คูรี ค้นพบธาตุโพโลเนียม คือ, มารี คูรี และ ปิแอร์ คูรี ค้นพบธาตุโพโลเนียม ความหมาย, มารี คูรี และ ปิแอร์ คูรี ค้นพบธาตุโพโลเนียม คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!