ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 พุ่งชนดาวพฤหัสบดี

     17 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ดาวหาง ชูเมกเกอร์-เลวี 9 (Comet Shoemaker-Levy 9 : SL9) ซึ่งประกอบด้วยดาวหางจำนวน 21 ชิ้น เคลื่อนที่ไล่ตามกันเหมือนขบวนรถไฟ พุ่งเข้าชน ดาวพฤหัสบดี (jupiter) ด้วยความเร็วกว่า 60 กิโลเมตรต่อวินาที เกิดการระเบิดเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 6 ล้านตัน หรือเทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมา 100 ล้านลูก แรงระเบิดมีรัศมีกระจายไปถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้เกิดฝุ่นดาวหางปกคลุมสูงขึ้นมาเหนือเมฆในชั้นบรรยากาศโจเวียนถึง 3,000 กว่ากิโลเมตร ทั้งนี้ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ถูกค้นพบเมื่อคืนวันที่ 24 มีนาคม 2536 โดย ยูจีน ชูเมกเกอร์ (Eugene M. Shoemaker) และ เดวิด เลวี (David Levy) สองนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เอสแล 9 เป็นดาวหางวงโคจรสั้น โคจรรอบดาวพฤหัสบดี เพิ่งแตกออกเป็นชิ้น ๆ จำนวน 21 ชิ้น แต่ละชิ้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 กิโลเมตร ด้วยอิทธิพลแรงดึงดูดของดาวพฤหัสบดีเมื่อปี 2535 จนกระทั่งถูกคำนวณล่วงหน้าไว้เป็นเวลากว่าปีเศษ ว่าจะชนดาวพฤหัสบดีในระหว่างวันที่ 16-22 กรกฎาคม 2537 นักดาราศาสตร์และสื่อมวลชนจึงมีเวลามากพอในการเตรียมสังเกตการณ์และประชาสัมพันธ์ แม้ว่ากล้องดูดาวบนโลกจะไม่สามารถบันทึกภาพขณะชนโดยทันที แต่มี กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (hubble space telescope) ซึ่งเคลื่อนรอบโลก ได้ถ่ายภาพแล้วส่งสัญญาณลงมายังสถานีรับภาคพื้นดิน ร่องรอยของการชนปรากฏชัดเจนในภาพถ่าย ซึ่งกล้องฮับเบิลบันทึกหลังจากที่ดาวหางลูกแรกชนแล้ว 90 นาที ทำให้ผู้เฝ้าติดตามตื่นเต้นดีใจไปทั่วโลก นับเป็นความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ที่คำนวณทางโคจรของดาวหางได้อย่างแม่นยำ ในอดีตดาวพฤหัสบดีน่าจะเคยถูกดาวหางและดาวเคราะห์น้อยชนมาแล้วเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่เคยตรวจพบและคำนวณได้อย่างแม่นยำเช่นครั้งนี้ การพุ่งชนดาวพฤหัสบดีของดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 จึงเกิดขึ้นครั้งหนึ่งในหลายพันชั่วอายุขัยของมนุษย์ที่สามารถสังเกตได้

ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 พุ่งชนดาวพฤหัสบดี, ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 พุ่งชนดาวพฤหัสบดี หมายถึง, ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 พุ่งชนดาวพฤหัสบดี คือ, ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 พุ่งชนดาวพฤหัสบดี ความหมาย, ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 พุ่งชนดาวพฤหัสบดี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

วันนี้ในอดีต : 08 กรกฎาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนกรกฎาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนกรกฎาคม

คำยอดฮิต

Sanook.commenu