ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่, ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่ หมายถึง, ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่ คือ, ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่ ความหมาย, ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 7
ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่

สุนทรภู่ จินตกวีเอกของไทย และของโลก

          สุนทรภู่ เป็นกวีไทยที่มีชื่อเสียง และมีความเป็นเอกในเชิงกลอน ท่านได้รับเกียรติจาก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม หรือนัยหนึ่งคือเป็น กวีเอกของโลก  เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๙   นับว่าท่านเป็นกวีสามัญเพียงคนเดียวที่ได้รับการสดุดียกย่องอย่างสูงส่งถึงขั้นเป็นกวีเอกของโลก

ประวัติสุนทรภู่

                  ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระสุนทรโวหาร หรือที่รู้จักกัน ในนามของ สุนทรภู่ เกิดเมื่อ วันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนแปด ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๓๘ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ บิดาของท่านเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดาเป็นคนกรุงเทพฯ สันนิษฐานว่าน่าจะทำหน้าที่เป็นพระนมในพระธิดาของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ภายหลังได้แยกกันอยู่โดยไม่ทราบสาเหตุและบิดาของท่านได้กลับไปอยู่ที่เมือง แกลง ทำให้สุนทรภู่ต้องอยู่กับมารดาจนเติบโตขึ้นจึงได้รับ การถวายตัวเป็นข้าราชบริพารในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขนั่นเองสุนทรภู่ได้ เรียนหนังสือตั้งแต่ยังเล็ก ณ สำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบันดังปรากฏหลักฐานที่ท่านสุนทรภู่เขียน ไว้ในนิราศสุพรรณ ตอนที่เดินทางผ่านวัดนี้เมื่อเติบใหญ่ขึ้นได้รับราชการในกรมพระคลังข้างสวน ซึ่งมีหน้าที่เก็บอากรสวน และวัดระวางแต่ในที่สุดก็ต้องกลับไปอยู่ที่พระราชวังสถานพิมุขอย่างเดิม ณ ที่นี้จึงได้เกิดรักใคร่ชอบพอกับข้าราชบริพารหญิงชื่อ "จัน"จนต้องถูกลงอาญา ดังที่สุนทรภู่บรรยายไว้ในนิราศเมืองแกลงซึ่งสุนทรภู่แต่งขึ้นในคราวที่เดิน ทางไปพบบิดา หลังจากเกิดเรื่องราว และพ้นโทษแล้ว ในราวปี พ.ศ.๒๓๔๙หลังจากกลับจากเมืองแกลงสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นข้าราชบริพารใน พระองค์เจ้าปฐมวงศ์และได้แต่งงานกับ "แม่จัน" คนรักสมประสงค์แต่ชีวิตคู่ของท่านมักจะมีปัญหาเสมอเพราะสุนทรภู่ชอบดื่มสุราเมามายเป็นประจำซึ่งในเรื่องนี้สุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศภูเขาทอง

                   ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ชีวิตของสุนทรภู่ดีขึ้นถึงขั้นเจริญรุ่งเรืองที่สุดเพราะ สุนทรภู่ได้สร้างผลงานที่แสดงถึงความเป็นยอดด้านกลอนโดยท่านเป็นกวีผู้หนึ่ง ที่รัชกาลที่๒ทรงโปรดมาก เนื่องจากสามารถใช้ปฏิภาณเสนอแนะบทกลอนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย มีพระราชประสงค์ที่จะแก้ไขกลอนที่เป็นบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางสีดาผูกคอตาย ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่๑ โดยที่มีเนื้อความกล่าวถึงนางสีดาจะผูกคอตายแต่หนุมานเข้าช่วยไว้ได้ทันแต่ บทพระราชนิพนธ์นั้นใช้กลอนถึง ๘ คำกลอนรัชกาลที่ ๒ ทรงเห็นว่าชักช้าเกินไป ไม่ทันการณ์จึงทรงแก้ไขใหม่เพื่อให้ดีขึ้น แต่ทรงติดขัดว่าจะพระราชนิพนธ์ต่ออย่างไรที่แสดงให้เห็นว่าหนุมานได้เข้ามา ช่วยได้อย่างทันท่วงทีซึ่งท่านสุนทรภู่ได้กราบทูลกลอนต่อได้ทันที สุนทรภู่คงจะได้แสดงถึงปรีชาญาณของท่านสนองพระเดชพระคุณอีกหลายครั้งจนในที่ สุด รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนสุนทรโวหาร กวี ที่ปรึกษาในกรมพระอาลักษณ์ผลงานที่สร้างชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งในขณะนั้นคือ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงามในขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์นั้น กลับต้องตกอับลงเพราะการดื่มสุราเป็นสาเหตุถึงขั้นต้องถูกลงอาญาด้วยการจำ คุกเป็นที่สันนิษฐานกันว่า

                   พระอภัยมณี ได้เกิดขึ้นในขณะที่ถูกจำคุกครั้งนี้เองในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๔ - ๒๓๖๗เป็นช่วงที่สุนทรภู่พ้นจากโทษแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรง ทราบดีถึงความสามารถของท่านจึงได้โปรดเกล้าฯให้สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ ถวายพระอักษรเจ้าฟ้าอาภรณ์เจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋ว ซึ่งเป็นพระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์จนเกิดวรรณคดีสำคัญอีก ๒ เรื่องคือ สวัสดิรักษาและสิงหไกรภพ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๖๗ สิ้นรัชกาลที่๒แล้ว ชีวิตของสุนทรภู่ต้องตกระกำลำบากจนถึงขั้นถูกถอดยศและต้องหนีราชภัยด้วยไม่เป็นที่ทรงโปรดของรัชกาลที่ ๓ ดังที่ท่านพรรณนาความไว้ในนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งจากการที่ไม่ทรงโปรดสุนทร ภู่ดังหลักฐานจากการที่เมื่อมีการประชุมเหล่ากวีในสมัยนั้นเพื่อร่วมกันแต่ง คำประพันธ์จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามซึ่งถือเป็นงานใหญ่ แต่กลับไม่มีชื่อของสุนทรภู่อยู่ด้วยเรื่องนี้สุนทรภู่ได้กล่าวไว้ในนิราศ ภูเขาทอง ช่วงที่ชีวิตตกต่ำที่สุดนั้นผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรมีความเห็นว่าคงจะเป็น ช่วงปี พ.ศ.๒๓๗๑ซึ่งเป็นปีที่แต่งนิราศภูเขาทอง เพราะเนื้อหาใจความหลายตอนที่ท่านสุนทรภู่ได้พรรณนาความไว้พ.ศ. ๒๓๗๒ สุนทรภู่ได้กลับมาเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแก้เจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋วอีกครั้งโดยท่านได้แต่งเพลงยาวถวายโอวาทถวาย ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๗๔ - ๒๓๗๕ เป็นช่วงที่สุนทรภู่บวชเป็นพระโดยจำพรรษาอยู่หลายวัดนอกจากนั้นได้ออกเดิน ทางไปเมืองต่างๆ

วันสุนทรภู่ สุนทรภู่

และได้แต่งนิราศขึ้นเช่น เมืองเพชรบุรีได้แต่งนิราศเมืองเพชร วัด เจ้าฟ้าเมืองอยุธยา เพื่อเสาะหายาอายุวัฒนะ ได้แต่งนิราศวัดเจ้าฟ้านอกจากนั้นยังได้แต่ง นิราศอิเหนาซึ่งเป็นนิราศเรื่องเดียวที่ไม่ได้เขียนบันทึกการเดินทางแต่นำ เอาเรื่องอิเหนา ตอนนางบุษบาถูกลมพายุหอบและอิเหนาออกติดตามหาแต่งพรรณนาความตามแนวที่ท่าน ถนัดเพื่อถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๒ - ๒๓๘๓ ได้เกิดนิราศสุพรรณภายหลังจากที่ท่านเดินทางไปเมืองสุพรรณบุรีโดยนิราศ เรื่องนี้แต่งเป็นคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพนอกจากนั้นยังได้แต่งเรื่องกาพย์ พระไชยสุริยาซึ่งเป็นคำกาพย์ที่ใช้สำหรับการสอนอ่าน การผันสระและตัวสะกดมาตราต่างๆ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นตำราเรียนภาษาไทยก็ได้ รวมทั้งท่านยังได้แต่งนิทานเป็นคำกลอนเรื่องสิงหไกรภพ (ตอนจบ) และเรื่องลักษณวงศ์ขึ้นอีกด้วยเช่นกันพ.ศ. ๒๓๘๕ แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งนักวรรณคดีเชื่อว่าท่านสุนทรภู่ได้พรรณนาเกี่ยวกับชีวิตของท่านมีผู้ เข้าใจว่าท่านเขียนขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งผลงานชิ้นสุดท้ายทั้งนี้เพราะ ท่านเกิดสังหรณ์ขึ้นมาว่าในขณะนั้นอาจจะเป็นวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านอีก ทั้งยังเกิดนิมิตเป็นความฝันนอกจากรำพันพิลาปแล้วยังได้แต่งนิราศพระประธม เมื่อคราวเดินทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์

วันสุนทรภู่ สุนทรภู่

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จังหวัดระยอง

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ชีวิตของท่านสุนทรภู่ได้กลับฟื้นมาดีอีกคำรบหนึ่งโดยได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหารเจ้ากรมอาลักษณ์จากองค์พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงชีวิตบั้นปลายของท่านกลับได้รับความเจริญ รุ่งเรืองเสมือนในรัชกาลที่ ๒ และได้ทำให้เกิดผลงานขึ้นอีกหลายเรื่องได้แก่ บทละครเรื่อง อภัยนุราช เสภาพระราชพงศาวดารบทเห่เรื่องกากี พระอภัยมณี โคบุตร และบทเห่กล่อมจับระบำเพื่อถวายเป็นบทเห่กล่อมเจ้านายที่ทรงพระเยาว์ในที่สุด บั้นปลายแห่งชีวิตก็สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๒๓๙๘รวมอายุได้ ๖๙ ปี ท่านสุนทรภู่ถือได้ว่าเป็นกวีสามัญชนที่สร้างผลงานอันทรงคุณค่ามากที่สุดบท กลอนของท่านได้เป็นแบบอย่างที่คนไทยยึดถือมาจนถึงปัจจุบันนี้นอกจากนั้นท่าน ยังได้ชื่อว่าเป็นกวีเอกของโลกท่านหนึ่งโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือที่รู้จักกันในนามของ ยูเนสโก ( UNESCO )ได้ประกาศเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ในวาระที่ครบรอบ ๒๐๐ ปีเกิดของท่าน สุนทรภู่เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบ 200 ปี เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2529 ? นับว่าท่านเป็นกวีสามัญชนคนแรกที่ได้รับการประกาศ เกียรติคุณเช่นนี้ สำหรับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลสำคัญของชาติต่าง ๆ ในโอกาสครบรอบวันเกิด หรือวันตายที่นับเป็นศตวรรษหรือ 100 ปีขึ้นไป ของยูเนสโกนี้ก็เพื่อเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณ และผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกของชาติต่าง ๆ ให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั้งโลก และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการประกาศ ยกย่องเพื่อก่อให้เกิดความคุ้นเคยซึ่งกันและกันโดยอาศัยบุคคลสำคัญของชาติ ต่าง ๆ เป็นสื่อกลาง โดยบุคคลนั้น ๆต้องเป็นบุคคลสำคัญของชาติที่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในสากล เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม หรือสื่อสารมวลชน

ผลงานของสุนทรภู่

นิราศของสุนทรภู่

- นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง

- นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา

- นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่ง ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา

- นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง

- นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา เทพ สุนทรศารทูลเสนอว่า นิราศดังกล่าวเป็นผลงานของพัด ภู่เรือหงส์ บุตรของสุนทรภู่

- นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) - แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา เทพ สุนทรศารทูลเสนอว่า นิราศดังกล่าวเป็นผลงานของกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์

- รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท

- นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) - เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี

- นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชรบุรี

นิทาน

- โคบุตร : เชื่อว่าเป็นงานประพันธ์ชิ้นแรกของสุนทรภู่[11] เป็นเรื่องราวของ "โคบุตร" ซึ่งเป็นโอรสของพระอาทิตย์กับนางอัปสร แต่เติบโตขึ้นมาด้วยการเลี้ยงดูของนางราชสีห์

- พระอภัยมณี : คาดว่าเริ่มประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 และแต่ง ๆ หยุด ๆ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นสุดยอดวรรณคดีไทยประเภทกลอนนิทาน

- พระไชยสุริยา : เป็นนิทานที่สุนทรภู่แต่งด้วยฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์หลายชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 เป็นนิทานสำหรับสอนอ่าน เนื้อหาเรียงลำดับความง่ายไปยาก จากแม่ ก กา แม่กน กง กก กด กบ กม และเกย เชื่อว่าแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2383 - 2385

- ลักษณวงศ์ : เป็นนิทานแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่นำโครงเรื่องมาจากนิทานพื้นบ้าน แต่มีตอนจบที่แตกต่างไปจากนิทานทั่วไปเพราะไม่ได้จบด้วยความสุข แต่จบด้วยงานสมโภชศพนางทิพเกสร ชายาของลักษณวงศ์ที่สิ้นชีวิตด้วยการสั่งประหารของลักษณวงศ์เอง

- สิงหไกรภพ : เชื่อว่าเริ่มประพันธ์เมื่อครั้งถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ ภายหลังจึงแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และน่าจะหยุดแต่งหลังจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สิงหไตรภพเป็นตัวละครเอกที่แตกต่างจากตัวพระในเรื่องอื่น ๆ เนื่องจากเป็นคนรักเดียวใจเดียว

สุภาษิต

- สวัสดิรักษา : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์

- เพลงยาวถวายโอวาท : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

- สุภาษิตสอนหญิง : เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่ เทพ สุนทรศารทูลเสนอว่าน่าจะเป็นผลงานของภู่ จุลละภมร ศิษย์ของสุนทรภู่เอง

บทเสภา

- ขุนช้างขุนแผน

- เสภาพระราชพงศาวดาร 

กลอนสุนทรภู่

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์

มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด

ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด 

ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

(บางตอนจากพระอภัยมณี)

จะหักอื่น ขืนหัก ก็จักได้

หักอาลัย นี้ไม่หลุด สุดจะหัก

สารพัด ตัดขาด ประหลาดนัก

แต่ตัดรัก นี้ไม่ขาด ประหลาดใจ

(บางตอนจากนิราศอิเหนา)

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท

อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์

จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง

อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

(บางตอนจากสุภาษิตสอนหญิง)

อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก

แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย

แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย

เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ

(บางตอนจากเพลงยาวถวายโอวาท)

วันสุนทรภู่

วันสุนทรภู่ตรงกับวันที่ 26 มิ.ย. ของทุกปี ซึ่งเป็๋นวันเกิดของสุนทรภู่

ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/พระสุนทรโวหาร_(ภู่), campus.sanook.com/910803/ประวัติสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่, ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่ หมายถึง, ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่ คือ, ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่ ความหมาย, ประวัติสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu