วันที่ 20 มกราคม
  • เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เสียชีวิต

    เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เสียชีวิต

    14 มกราคม พ.ศ. 2285 เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ (Edmond Halley) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญด้านดาวหาง เสียชีวิตที่ประเทศอังกฤษ ก่อนหน้านั้นในปี 2248 เขาใช้กฎแห่งแรงโน้มถ่วงของนิวตันในการตั้งสมมุติฐานว่าดางหางซึ่งโคจรผ่านโลกในปี 2074, 2150 และ 2225 เป็นดาวหางดวงเดียวกัน และทำนายว่าดาวหางนี้จะโคจรมาเยือนโลกในอีก 76 ปีข้างหน้า เมื่อปรากฏว่าดาวหางดวงนี้กลับมาจริง ๆ ในปี 2301 ตามที่เขาทำนายไว้ ดาวหางดวงนี้จึงได้รับการตั้งชื่อว่า “ดาวหางฮัลเลย์”...

    มีการพิมพ์ปฏิทินเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

    มีการพิมพ์ปฏิทินเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

    14 มกราคม พ.ศ. 2385 มีการพิมพ์ปฏิทินเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีหลักฐานบันทึกไว้ในหนังสือ บางกอกคาเลนดาร์ ฉบับปี 2413 หน้า 5 โดย หมอบรัดเลย์ ได้บันทึกไว้ว่าเริ่มมีการพิมพ์ปฏิทินครั้งแรกในเมืองไทย (“14 First Calendar print in B. 1842”) แต่ไม่ได้ระบุลักษณะของปฏิทิน เข้าใจกันว่าอาจเป็นปฏิทินเล่มและพิมพ์โดยหมอบรัดเลย์ ...

    รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

    รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

    14 มกราคม พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมาร เป็นตำแหน่งรัชทายาท นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แทนตำแหน่ง พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือที่เรียกว่า วังหน้า ซึ่งมีมาแต่สมัยอยุธยา ...

  • British Museum กรุงลอนดอน เปิดอย่างเป็นทางการ

    British Museum กรุงลอนดอน เปิดอย่างเป็นทางการ

    15 มกราคม พ.ศ. 2302 British Museum เปิดอย่างเป็นทางการ เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่ยังคงเปิดบริการมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มก่อสร้างในปี 2296 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของมนุษย์ที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก ภายในรวบรวมวัตถุทางโบราณคดีต่าง ๆ จากทั่วโลกไว้กว่า 13 ล้านชิ้น รวมไปถึงภาพและและเอกสารที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย แต่ละปีมีผู้เข้าชมกว่า 700,000 คน ...

    วันเกิด มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

    วันเกิด มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

    15 มกราคม พ.ศ. 2472 วันเกิด มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr) นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน เกิดที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นบุตรชายของพระแบปทิส จบการศึกษาด้านศาสนาจาก โครเซอร์ เพนซิลวาเนีย และมหาวิทยาลัยบอสตัน ต่อมาได้กลายเป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคของสีผิว โดยใช้หลักอหิงสาแบบมหาตมะคานธี คิงได้เรียกร้องสิทธิของคนผิวดำตลอดชีวิต จนกระทั่งได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี ในปี 2506 คิงได้แสดงสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียง I Have a Dream ในปี 25...

    พิธีเปิด อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

    พิธีเปิด อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

    15 มกราคม พ.ศ.2477 พิธีเปิด อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ซึ่งข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของ ย่าโม โดยได้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิตร ประติมากรเลื่องชื่อในสมัยนั้น นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรีคนแรกของประเทศ เริ่มก่อสร้างในปี 2476 อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศต...

  • วันประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เป็นวันครูวันแรก

    วันประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เป็นวันครูวันแรก

    16 มกราคม พ.ศ. 2488—วันครู คณะรัฐบาลนำโดย นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2488 เป็นวันครูวันแรก เนื่องจากต้องการจะสนับสนุนและยกย่องเกียรติของครูให้มีสิทธิเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนทั่วไป ทางราชการได้กำหนดให้วันนี้เป็น วันครู ขึ้นเป็นครั้งแรก ...

    วันสถาปนา กรมอุทกศาสตร์

    วันสถาปนา กรมอุทกศาสตร์

    16 มกราคม พ.ศ. 2464 วันสถาปนา กรมอุทกศาสตร์ กิจการอุทกศาสตร์เริ่มมีครั้งแรกในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี 2399 โดยรัฐบาลได้ได้อนุญาตให้อังกฤษส่งเรือหลวงซาราเซน เข้ามาสำรวจอุทกศาสตร์ในอ่าวไทย เพื่อจัดทำแผนที่เดินเรือที่สำคัญบริเวณอ่าวไทย ต่อมาในปี 2439 ได้มีการก่อตั้งกองแผนที่ทะเล ขึ้นตรงต่อกรมทหารเรือ ในปี 2457 ได้เปลี่ยนชื่อกองแผนที่ทะเลเป็น “กองอุทกศาสตร์ทหารเรือ” ในปี 2464 ได้ยกขึ้นเป็น “กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ...

    ไทยเสียเมือง มะริด ทวาย และ ตะนาวศรี ให้แก่พม่า

    ไทยเสียเมือง มะริด ทวาย และ ตะนาวศรี ให้แก่พม่า

    16 มกราคม พ.ศ. 2336 ไทยเสียเมือง มะริด ทวาย และ ตะนาวศรี ให้แก่พม่า หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษและรัฐไทยได้ทำสนธิสัญญา กำหนดเส้นเขตแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ส่งผลให้คนไทยประมาณ 30,000 คนในขณะนั้น กลายเป็นบุคคลที่สูญเสียสัญชาติ ไปพร้อมกับการเสียพื้นที่ไปประมาณ 55,000 ตารางกิโลเมตร แต่รัฐบาลพม่าเองก็ไม่ยอมรับว่าคนเหล่านี้เป็นคนพม่า จึงถูกกดขี่ข่มแหง ถูกละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงไม่ต่างจากชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ล่าสุดเมื่อปลายปี 2549 คนไทยกว่า 3,000 คนได้หลบหนีเข้าม...

  • วันเกิด เบนจามิน แฟรงคลิน รัฐบุรุษและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน

    วันเกิด เบนจามิน แฟรงคลิน รัฐบุรุษและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน

    17 มกราคม พ.ศ. 2249 วันเกิด เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) รัฐบุรุษและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองบอสตัน ครอบครัวของเขาค่อนข้างจะยากจน เขาจึงเรียนหนังสือได้เพียง 2 ปีก็ต้องลาออกมาช่วยกิจการทำสบู่ และเทียนไขของครอบครัว พออายุ 12 ปีก็ไปช่วยพี่ชายทำกิจการโรงพิมพ์ ก่อนจะแยกมาเปิดโรงพิมพ์ของตนเองตอนอายุ 17 ปี ช่วงนี้เขาได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ ภายหลังได้เข้ามาเล่นการเมือง จากนั้นก็เริ่มสนใจปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า จึงเริ่มศึกษาทดลองอย่างจริงจัง...

    ป๊อบอาย (Popeye) ปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนช่องเรื่อง Thimble Theatre

    ป๊อบอาย (Popeye) ปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนช่องเรื่อง Thimble Theatre

    17 มกราคม พ.ศ. 2472 ป๊อบอาย (Popeye) ปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนช่องเรื่อง Thimble Theatre ซึ่งวาดโดย Elizie Segar ป๊อปอายได้รับการตีพิมพ์มาแล้วเป็นเวลา 10 ปี เดิมการ์ตูนเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว Olive Oyl และ Ham Gravy แม้ป๊อบอายจะเปิดตัวครั้งแรกในฐานะตัวประกอบ แต่เขากลับกลายมาเป็นดาราเด่นของเรื่องในเวลาต่อมา และเป็นหนึ่งในตัวการ์ตูนที่มีคนจดจำได้มากที่สุด ...

    เกิดเหตุการณ์ ยุทธนาวีที่เกาะช้าง จังหวัดตราด

    เกิดเหตุการณ์ ยุทธนาวีที่เกาะช้าง จังหวัดตราด

    17 มกราคม พ.ศ. 2484 เกิดเหตุการณ์ ยุทธนาวีที่เกาะช้าง จังหวัดตราด โดยเรือรบของราชนาวีไทยรบกับกองทัพเรือของฝรั่งเศส ที่รุกล้ำน่านน้ำไทยเข้ามาเพื่อจะระดมยิงหัวเมืองชายทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน โดยฝรั่งเศสมีเรือ 5 ลำ ของไทยมี 3 ลำ ได้แก่เรือรบหลวงธนบุรี เรือรบหลวงสงขลา และเรือรบหลวงชลบุรี ส่งผลให้กองเรือของฝรั่งเศสถูกยิงจนต้องล่าถอยออกไป ส่วนฝ่ายไทยเรือรบหลวงธนบุรีก็ถูกยิงจม มีผู้เสียชีวิต 36 คน วันนี้ของทุก ๆ ปี กองทัพเรือถือว่าเ...

  • กัปตัน เจมส์ คุก นักเดินเรือชาวอังกฤษ ค้นพบหมู่เกาะฮาวาย

    กัปตัน เจมส์ คุก นักเดินเรือชาวอังกฤษ ค้นพบหมู่เกาะฮาวาย

    18 มกราคม พ.ศ. 2320 กัปตัน เจมส์ คุก (James cook) นักเดินเรือชาวอังกฤษ ค้นพบเกาะแห่งหนึ่งซึ่งเขาให้ชื่อว่า เกาะแซนด์วิช (Sandwich Island) ต่อมารู้จักกันดีในชื่อ หมู่เกาะฮาวาย (Hawaii Island) นอกจากนี้เขายังเป็นผู้คนพบเกาะอีกหลายแห่ง เช่น เกาะนิวซีแลนด์ เป็นต้น ...

    วันสิ้นพระชนม์ จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต

    วันสิ้นพระชนม์ จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต

    18 มกราคม พ.ศ. 2483 วันสิ้นพระชนม์ จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต พระราชโอรสองค์ที่ 33 ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหารและทางราชการหลายตำแหน่ง นอกจากนั้นยังทรงพระปรีชาสามารถในงานดนตรี ทรงพระนิพนธ์เพลงไทย เพลงฝรั่งและเพลงไทยเดิมไว้จำนวนมาก เช่นเพลงวอทซ์ปลื้มจิต, วอทซ์ชุมพล, เพลงมหาฤกษ์ เพลงพญาโศก ฯลฯ กระทั่งทรงได้รับการขนานพระนามเป็น พระบิดาแห่งเพลงไทยเดิม สิ้นพระชนม์ด้ว...

  • วันเกิด เจมส์ วัตต์ วิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ

    วันเกิด เจมส์ วัตต์ วิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ

    19 มกราคม พ.ศ. 2279 วันเกิด เจมส์ วัตต์ (James Watt) วิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ผู้พัฒนากำลังและประสิทธิภาพของเครื่องจักรไอน้ำซึ่งออกแบบโดย โทมัส นิวโคเมน ให้ดีมากขึ้น เครื่องจักรไอน้ำมีบทบาทสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเกิดขึ้นในอังกฤษช่วงปลายศตวรรษที่ 18 นอกจากนั้นเขาเป็นผู้บัญญัติศัพท์ แรงม้า (horsepower) และหน่วยวัตกำลังที่เรียกว่า วัตต์ (watt) ก็ได้ชื่อตามชื่อของเขา ...

    เปิดประชุมสมัชชาองค์การสหประชาชาติครั้งแรก

    เปิดประชุมสมัชชาองค์การสหประชาชาติครั้งแรก

    19 มกราคม พ.ศ. 2489 เปิดประชุมสมัชชา องค์การสหประชาชาติ ครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ผลปรากฏว่า เฮนรี่ สปาร์ค (Paul Henri Spaak) ชาวเบลเยี่ยมได้รับเลือกเป็นประธานสมัชชาใหญ่ครั้งแรก และผู้แทนไทยได้รับเลือกเป็นประธานสมัชชาสมัยที่ 11 คือ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ...

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    19 มกราคม พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารออกแบบโดย เฮลมุต ยาห์น (Helmut Jahn) สถาปัตนิกชาวอเมริกัน-เยอรมัน โครงสร้างหลักประกอบด้วยเหล็กและแก้ว ซึ่งยาห์นบอกว่าเป็น สถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ 21 สถามบินแห่งนี้เริ่มเปิดทดลองใช้สนามบินเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2549 และเปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 42549 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งโครงการประมาณ 155,000 ล้านบาท ...

  • ร.5 เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอด พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

    ร.5 เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอด พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอด พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทย เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ภายใน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยทวารวดี ...

    วันเกิด พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ

    วันเกิด พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ

    วันเกิด พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ เกิดที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบล บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี และอุปสมบถเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2436 ที่วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี จากนั้นได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม ในสำนักวิปัสสนากับอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ได้เริ่มศึกษาพระธรรมวินัยและฝึกปฏิบัติสมาธิ เดินจงกรม ต่อมาได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่าชัฎ ป่าช้า และลงมาศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จากนั้นก็ธุดงค์ไปทั่วภาคกลาง-อีสาน ท่านได้ปฏิบัติตนอย่างสมถะ...

    จอห์นนี ไวส์สมุลเลอร์ เสียชีวิต

    จอห์นนี ไวส์สมุลเลอร์ เสียชีวิต

    จอห์นนี ไวส์สมุลเลอร์ (Johnny Weissmuller) พระเอกภาพยนตร์เรื่อง ทาร์ซาน” (Tarzan the Ape Man --1932) เสียชีวิต ก่อนหน้าที่เขาจะเข้ามารับบทพระเอกภาพยนตร์ เขาเคยเป็นนักว่ายน้ำทีมชาติอเมริกัน เคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันโอลิมปิคในปี 1924 และ 1928 ถึงห้าเหรียญทอง และยังสามารถทำลายสถิติโลกได้ถึง 67 ครั้ง ...

  • วันเกิดครูเอื้อ สุนทรสนาน

    วันเกิดครูเอื้อ สุนทรสนาน

    วันเกิด เอื้อ สุนทรสนาน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ครูเอื้อ นักร้อง นักแต่งเพลง และเป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรี สุนทราภรณ์ เกิดที่บ้าน อ. อัมพวา จ. สมุทรสงคราม ต่อมาได้เรียนดนตรีกับ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทะยะกร) เริ่มทำงานในกรมมหรสพ และได้ร้องเพลง “ในฝัน” ในภาพยนตร์เรื่อง “ถ่านไฟเก่า” เป็นครั้งแรก ต่อมาได้ตั้งวงดนตรีสุนทราภรณ์ ขณะทำงานอยู่ที่กรมโฆษณาการ หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน มีผลงานเพลงกว่า 1,000 เพลง ครอบคลุมทั้งเพ...

    กองทัพเรือสหรัฐฯ ทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำ ยูเอสเอส นอติลุส

    กองทัพเรือสหรัฐฯ ทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำ ยูเอสเอส นอติลุส

    กองทัพเรือสหรัฐฯ ทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำ ยูเอสเอส นอติลุส (The USS Nautilus) ) เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ลำแรกของโลกลงน้ำที่แม่น้ำเทมส์ รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา เรือลำนี้สามารถแล่นใต้น้ำได้ด้วยความเร็ว 20 น็อตติกอลไมล์ หรือ 37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถดำน้ำได้นานหลายสัปดาห์ มีลูกเรือกว่า 100 คน ก่อนจะเริ่มเข้าประจำการที่กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 29 กันยายนปีเดียวกัน ...

  • หลวงกลการเจนจิตผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย เสียชีวิต

    หลวงกลการเจนจิตผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย เสียชีวิต

    22 มกราคม พ.ศ.2491 หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) ผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย เสียชีวิต เขาเป็นช่างถ่ายภาพยนตร์มืออาชีพประจำกองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว กรมรถไฟหลวง ผลงานของท่านได้สร้างชื่อเสียงจนผู้คนยุคนั้นเรียกหนังของกรมรถไฟหลวงว่า หนังหลวงกล ทั้งยังเป็นผู้ดัดแปลงสร้างอุปกรณ์ภาพยนตร์เสียงร่วมกับพี่น้องตระกูล วสุวัต และสร้างหนังไทยพูดได้เรื่องแรกคือ หลงทาง ...

    รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศให้ใช้คำว่า สวัสดี เป็นคำทักทาย

    รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศให้ใช้คำว่า สวัสดี เป็นคำทักทาย

    22 มกราคม พ.ศ. 2486 รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศให้ใช้คำว่า สวัสดี เป็นคำทักทายเมื่อแรกพบกัน เป็นครั้งแรก คำว่า "สวัสดี" บัญญัติโดย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เริ่มนำใช้ครั้งแรกในปี 2476 ขณะที่เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โดยทดลองใช้ในหมู่นิสิตก่อน อีก 62 ปีต่อมาเป็นยุคชาตินิยม จอมพล ป. จึงนำมาใช้อย่างเป็นทางการ คำว่าสวัสดี มาจากคำว่า "โสตถิ" ในภาษาบาลีหรือคำว่า "สวัสดิ" ในภาษาสันสกฤติ ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดีไทยและในบทสวดมนต์มานานแล้ว...

  • วันประสูติ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

    วันประสูติ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

    23 มกราคม พ.ศ. 2424 วันประสูติ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ราชโอรสองค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาวาด (กัลยาณมิตร) ต้นสกุล ฉัตรชัย ทรงเป็นทหารช่าง ทรงนำรถจักรดีเชลมาใช้เป็นประเทศแรกในเอเชีย ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงเป็นองค์แรก นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้วางรากฐานเรื่องการบิน การไปรษณีย์โทรเลข จัดตั้งสถานีวิทยุ ทรงสร้างถนนหลวงและสะพานหลายแห่ง เช่น สะพานพุทธ...

    ซัลวาดอร์ ดาลี จิตรกรชาวสเปนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว

    ซัลวาดอร์ ดาลี จิตรกรชาวสเปนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว

    23 มกราคม พ.ศ.2532 ซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Felipe Jacinto Dali I Domenech) จิตรกรกลุ่ม Surrealism คนสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 ชาวสเปนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ในวัย 84 ปี ดาลีเริ่มแสดงงานศิลปะครั้งแรกตอนอายุ 14 ปี เข้าเรียนศิลปะโดยไม่ยอมสอบเข้าด้วยเชื่อว่าไม่มีใครสามารถตัดสิน ศิลปะ ได้ อายุ 20 ปีถูกจับข้อหาทางการเมือง อีก 5 ปีต่อมาเข้าร่วมกับศิลปินกลุ่ม Surrealism ซึ่งเน้นการนำเสนอภาพจากความฝันที่เหนือจริง และเริ่มเขียนภาพแนวนี้อย่างจริงจังมาตลอดจนเสียชีวิต...

  • เจมส์ วิลสัน มาร์แชล พบแร่ทองคำบริเวณแม่น้ำอเมริกาในเมืองโคโลมานำไปสู่ยุคตื่นทอง

    เจมส์ วิลสัน มาร์แชล พบแร่ทองคำบริเวณแม่น้ำอเมริกาในเมืองโคโลมานำไปสู่ยุคตื่นทอง

    24 มกราคม พ.ศ.2391 เจมส์ วิลสัน มาร์แชล คนงานก่อสร้างโรงเลื่อย พบแร่ทองคำบริเวณแม่น้ำอเมริกาในเมืองโคโลมา แคลิฟอร์เนีย การค้นพบของเขานำไปสู่ยุคตื่นทองใน ค.ศ.1849 ที่ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหล ไปยังแคลิฟอร์เนียเพื่อแสวงหาโชคจากขุมทองที่นั่น จนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในการอพยพครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์และนำความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่แคลิฟอร์เนีย ...

    เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรษของอังกฤษ ถึงแก่อสัญกรรม

    เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรษของอังกฤษ ถึงแก่อสัญกรรม

    24 มกราคม พ.ศ. 2508 เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill ค.ศ.1874-1965) อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรษของอังกฤษ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่ออายุได้ 90 ปี ...

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินี

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินี

    24 มกราคม 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินีแห่งสหราชอาณาจักร อันได้แก่บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์และประเทศในอาณานิคม มีใจความว่า พระเจ้ากรุงบริตาเนียได้ส่งทูตานุทูตอังกฤษเข้ามาเจรจาทาง พระราชไมตรีกับกรุงสยามสองครั้งแล้ว ฝ่ายกรุงสยามควรจะให้ทูตานุทูตสยามออกไปคำนับให้ถึงพระเจ้ากรุง พระเจ้ากรุงบริตาเนีย ...

  • ผู้อพยพชาวอังกฤษกลุ่มแรกประกอบด้วยนักโทษและผู้คุมเริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในออสเตรเลีย

    ผู้อพยพชาวอังกฤษกลุ่มแรกประกอบด้วยนักโทษและผู้คุมเริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในออสเตรเลีย

    26 มกราคม พ.ศ.2331 ผู้อพยพชาวอังกฤษกลุ่มแรกประมาณ 1,000 คนประกอบด้วยนักโทษและผู้คุม นำโดยกัปตันอาร์เธอร์ฟิลลิป เริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในออสเตรเลียที่ ปอร์ต แจ๊กสัน (Port Jackson) บริเวณอ่าวซิดนีย์ อันเป็นที่ตั้งนครซิดนีย์ในปัจจุบัน ...

  • บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

    บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

    27 มกราคม พ.ศ.2482 บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด หลังจากรัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ นายกกรรมการแบงก์สยามกัมมาจลในขณะนั้นเป็นผู้ประทานนามใหม่ให้ โดยทรงให้เหตุผลว่า ...’กัมมาจล’ แปลว่าการกระทำไม่เคลื่อนไหว แต่กิจการธนาคารไหวติงอยู่เรื่อยจึงจะดี ...

  • ยานขนส่งอากาศแชลเลนเจอร์ระเบิดกลางอากาศหลังทะยานจากศูนย์อวกาศเคนเนดี้

    ยานขนส่งอากาศแชลเลนเจอร์ระเบิดกลางอากาศหลังทะยานจากศูนย์อวกาศเคนเนดี้

    28 มกราคม พ.ศ.2529ยานขนส่งอากาศแชลเลนเจอร์ระเบิดกลางอากาศหลังทะยานจากศูนย์อวกาศเคนเนดี้ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา เพียง 73 วินาที ลูกเรือทั้งเจ็ดคนเสียชีวิต นับเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดที่เกิดกับโครงการขนส่งอวกาศของสหรัฐฯ และทำให้สหรัฐฯ หยุดโครงการขนส่งอวกาศของสหรัฐฯ และทำให้สหรัฐฯ หยุดโครงการอวกาศไปอีกเกือบ 3 ปี...

  • จอร์น อุตซัน สถาปนิกชาวเดนมาร์ก ชนะการประกวดออกแบบโรงอุปรากรซิตนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

    จอร์น อุตซัน สถาปนิกชาวเดนมาร์ก ชนะการประกวดออกแบบโรงอุปรากรซิตนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

    29 มกราคม พ.ศ.2500 จอร์น อุตซัน สถาปนิกชาวเดนมาร์ก ชนะการประกวดออกแบบโรงอุปรากรซิตนีย์ (Sydney Opera House) ประเทศออสเตรเลีย จากผู้เข้าประกวดทั้งหมด 233 รายทั่วโลก แต่ปรากฏว่าแบบของ อุตซัน ไม่สามารถก่อสร้างได้จริงด้วยเทคโนโลยีทางวิศวกรรมในยุคนั้น โดยเฉพาะส่วนหลังคาซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขแบบอีกหลายปี อุตซันดำเนินโครงการอยู่จนถึงปี 2509 จึงลาออกเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องงบประมาณและการออกแบบ รวมทั้งไม่พอใจที่รัฐบาลปฏิเสธการจ่ายเงินล่วงหน้าให้ตามสัญญา เดิมทีแ...

  • ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัท แบงก์ สยามกัมมาจลทุนจำกัด ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์

    ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัท แบงก์ สยามกัมมาจลทุนจำกัด ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์

    30 มกราคม พ.ศ.2449 ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษให้ บริษัท แบงก์ สยามกัมมาจลทุนจำกัด ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้อย่างเป็นทางการ นับเป็นธนาคารแห่งแรกของคนไทย ...

    มหาตมา คานธี ถูกยิงเสียชีวิต

    มหาตมา คานธี ถูกยิงเสียชีวิต

    30 มกราคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) นาถูราม โคทเส ยิง มหาตมา คานธี ผู้นำทางการเมือง และ จิตวิญญาณของชาว อินเดีย เสียชีวิต ในเมืองเดลี ภาพ "นาถูราม โคทเส" เป็นชาวนครปูเน (Pune) ประเทศอินเดีย เป็นนักเคลื่อนไหวและนักหนังสือพิมพ์ชาวฮินดูทวา (Hindutva) ผู้เป็นมือลอบสังหารมหาตมา คานธี ร่วมกับผู้ร่วมก่อการอื่นอีกเจ็ดคนมูลเหตุของการลอบสังหาร:เกิดจากสิ่งที่ โคทเส เห็นว่าเป็นการก่อวินาศกรรมซ้ำซากของคานธี ต่อผลประโยชน์ของชาวฮินดู โดยใช้ยุทธวิธีการแบล็กเมล์ "อดอาหารจนเสียชีวิต" ต่อหลายปร...

  • อพอลโล 14 เดินทางสู่ดวงจันทร์ จากแหลมคาร์นาเวอร์รัล รัฐฟลอริด้า ได้สำเร็จ

    อพอลโล 14 เดินทางสู่ดวงจันทร์ จากแหลมคาร์นาเวอร์รัล รัฐฟลอริด้า ได้สำเร็จ

    31 มกราคม พ.ศ.2514 อพอลโล 14 เดินทางสู่ดวงจันทร์โดยนักบินอวกาศ อเลน บี. เชพเพิร์ด เจ อาร์, เอดการ์ ดี มิทเชลล์ และ สตูท เอ รูสา จากแหลมคาร์นาเวอร์รัล รัฐฟลอริด้า ได้สำเร็จ เชพเพิร์ดเป็นอเมริกันคนแรกในอวกาศ และเป็นนักบินอวกาศคนที่ 5 ที่เดินบน ดวงจันทร์ เชพเพิร์ดและมิทเชลล์อยู่บนดวงจันทร์เกือบ 34 ชม. เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และเก็บตัวอย่างหินบนดวงจันทร์ โดยเดินทางกลับยังโลกในวันที่ 9 ก.พ. อย่างปลอดภัย...

  • เยอรมนี เริ่มขยายการปฏิบัติการของเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1

    เยอรมนี เริ่มขยายการปฏิบัติการของเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1

    1 กุมภาพันธ์ 2460 เยอรมนี เริ่มขยายการปฏิบัติการของเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยจมเรือสินค้าทุกลำที่จะแล่นเข้าหรือออกจากท่าเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร การปฏิบัติการเช่นนี้ ทำให้สหรัฐฯ เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และส่งผลให้เยอรมนีต้องแพ้สงครามในปีต่อมา ...

    โรงถ่ายหนัง แบล็ก มาเรีย ของ โทมัส เอดิสัน ก่อสร้างเสร็จ

    โรงถ่ายหนัง แบล็ก มาเรีย ของ โทมัส เอดิสัน ก่อสร้างเสร็จ

    1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2436 การก่อสร้างโรงถ่ายหนัง แบล็ก มาเรีย ของ โทมัส เอดิสัน เสร็จเรียบร้อย นับเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก และถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ในสตูดิโอ ...

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้น

    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้น

    2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้น โดยในระยะแรกเปิดสอน 4 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะสหกรณ์ และคณะประมง ...

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ กังหันน้ำชัยพัฒนา

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ กังหันน้ำชัยพัฒนา

    2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือ กังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียโดยช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการออกสิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์ ...

  • นายยัสเซอร์ อาราฟัต ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำขององค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์

    นายยัสเซอร์ อาราฟัต ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำขององค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์

    3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 นายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yassir Aarafat) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำขององค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palastine Liberation Organisation [PLO]) ...

    ประกาศใช้ พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

    ประกาศใช้ พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

    3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2462 ประกาศใช้ พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นการจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เพื่อทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก และครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง ต่อมาได้ออกพระราชบัญญัติเพิ่มเติมขยายการสงเคราะห์ไปถึงทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน และพลเรือนที่ได้ทำหน้าที่ป้องกัน หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรทั้งภายในและภายนอกประเทศ กำหนดให้วันที่ ๓ ก.พ.ของทุกปีเป็นวันทหารผ่านศึก ...

  • นายกรัฐมนตรี วินสตัน ประธานาธิบดีรูสเวลล์ และผู้นำของสหภาพโซเวียด พบปะกันในการประชุมที่ยัลตา

    นายกรัฐมนตรี วินสตัน ประธานาธิบดีรูสเวลล์ และผู้นำของสหภาพโซเวียด พบปะกันในการประชุมที่ยัลตา

    4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 นายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์ แห่งอังกฤษ ประธานาธิบดีรูสเวลล์ แห่ง สหรัฐอเมริกา และ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเวียด พบปะกันในการประชุมที่ยัลตา สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ...

    เผยโฉมหน้ามนุษย์กินคน ซีอุย แซ่อึ้ง ในหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย

    เผยโฉมหน้ามนุษย์กินคน ซีอุย แซ่อึ้ง ในหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย

    4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เผยโฉมหน้ามนุษย์กินคน นายซีอุย แซ่อึ้ง ในหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย หลังถูกจับได้ที่ระยอง ถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2502 ณ เรือนจำบางขวาง และเมื่อวันที่ 27 กันยายนปีเดียวกัน มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ได้ทำหนังสือขอศีรษะซีอุยจากเรือนจำบางขวางมาเก็บไว้ยังตึกกายวิภาค ภายหลังการประหารนั้นมาทำการผ่าตัด เพื่อวิเคราะห์และศึกษาถึงสาเหตุแห่งความวิปริตผิดประหลาดจากผู้คนธรรมดา ...

  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุง

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุง

    5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 วันนี้ในอดีต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพ และเป็นถนนยาวที่สุดในสมัยนั้น โดยเริ่มต้นสร้างตั้งแต่ถนนสนามชัยไปถึงแม่น้ำถนนตก เป็นถนนเทคอนกรีตและลาดยาง ถนนนี้ชาวต่างประเทศเข้าชื่อกันขอให้ทำขึ้น เพื่อจะใช้ม้า ใช้รถได้อย่างสะดวก ...

  • เซอร์โทมัส แสตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ นำเมืองสิงคโปร์ ตั้งเป็นเมืองท่าการค้าภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ

    เซอร์โทมัส แสตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ นำเมืองสิงคโปร์ ตั้งเป็นเมืองท่าการค้าภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ

    6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2362 เซอร์โทมัส แสตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Raffles) นำเมืองสิงคปุระ หรือสิงคโปร์ ตั้งเป็นเมืองท่าการค้าภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ (สิงคโปร์ได้รับเอกราชคืนเมื่อ ปี พ.ศ. 2508) ...

    วันเกิด ถนอม มหาเปารยะ นักเขียนหญิงในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    วันเกิด ถนอม มหาเปารยะ นักเขียนหญิงในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2451 วันเกิด ถนอม มหาเปารยะ นักเขียนหญิงในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองนวนิยายที่สร้างชื่อเสียงให้มากที่สุดและได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์คือเรื่อง พลายมลิวัลลิ์ ...

วันนี้ในอดีตปีอื่นๆ