ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ, คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ หมายถึง, คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ คือ, คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ ความหมาย, คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ

           คำประพันธ์สำหรับใช้เป็นบทเห่เรือเก่าที่สุด   ที่เหลือเป็นหลักฐานสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ คือ กาพย์เห่เรือบทพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร  หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า  เจ้าฟ้ากุ้ง พระมหาอุปราชแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ    ในสมัยอยุธยาตอนปลาย    เมื่อศึกษาเนื้อหาของบทเห่เรือนั้นโดยละเอียดแล้ว  ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นบทที่ แต่งสำหรับเห่เรือพระที่นั่งในพระราชพิธีใดๆ ทั้งสิ้น   อย่างไรก็ตาม  บทเห่เรือพระนิพนธ์ใน เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรก็ได้รับความนิยม  นำมายึดถือเป็นแบบแผนในการประพันธ์บทเห่เรือในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน

           บทเห่เรือที่เรียกว่า  “กาพย์เห่เรือ”  นั้น เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรได้ทรงพระนิพนธ์โดยใช้   “โคลงนำกาพย์”   คือ  มีโคลงสี่สุภาพขึ้นเป็นต้นบท ๑  บท  ตามด้วยกาพย์ยานี ๑๑  บรรยายย้อนทวนความตามโคลงบทนั้นโดยละเอียด   ทั้งดำเนินความต่อไปด้วยกาพย์ยานีจนกว่าจะ จบกระบวนความ  โดยไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องใช้ กาพย์ยานีตามกี่บท  เมื่อจะขึ้นกระบวนความใหม่   ก็ให้ขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บทก่อน  แล้วต่อด้วยกาพย์ยานีบรรยายความอีกเช่นเดิม

           ตัวอย่างบทเห่เรือ พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ตอนเห่ชมเรือกระบวน

          โคลงสี่สุภาพ
          ปางเสด็จประเวศด้าว          ชลาไลย
ทรงรัตนพิมานไชย                        กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร                     แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว                      เพริศพริ้งพายทอง ฯ

          กาพย์ยานี ๑๑  ช้าละวะเห่
          พระเสด็จโดยแดนชล          ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย                  พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด                        ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน                         สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
เรือครุฑยุดนาคหิ้ว                        ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง                   ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน                               เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา                      หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถไชยไกรกาบแก้ว                แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร                       ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย                  งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์               ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
เรือไชยไวว่องวิ่ง                          รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม                          ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ฯ
 
          มูลเห่
          คชสีห์ที่ผาดเผ่น          ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ที่ยืนยัน                      คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ                    แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง                 องค์พระพายผายผันผยอง
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน                โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง                     เป็นแถวท่องล่องตามกัน
นาคาหน้าดั่งเป็น                   ดูเขม้นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน                   ทันแข่งหน้าวาสุกรี
          ฯลฯ

คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ, คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ หมายถึง, คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ คือ, คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ ความหมาย, คำประพันธ์ที่ใช้เป็นบทเห่เรือและบทเห่ที่เป็นแบบฉบับ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu