ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

คลองส่งน้ำ, คลองส่งน้ำ หมายถึง, คลองส่งน้ำ คือ, คลองส่งน้ำ ความหมาย, คลองส่งน้ำ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คลองส่งน้ำ


          เป็นทางน้ำสำหรับนำน้ำจากแหล่งน้ำซึ่งเป็นต้นน้ำของโครงการชลประทานไปยังพื้นที่เพาะปลูก น้ำจากแหล่งน้ำจะกระจายไปยังพื้นที่เพาะปลูก ได้ทั่วถึงด้วยคลองต่างๆที่มีในเขตโครงการชลประทานนั้น คลองส่งน้ำแต่ละสายจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก  ยาว  หรือสั้น ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่เพาะปลูกที่คลองสายนั้นๆ ควบคุมอยู่  และจำนวนคลองส่งน้ำทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ชลประทานในเขตโครงการนั้นด้วย

          คลองส่งน้ำที่เริ่มต้นจากแหล่งน้ำที่ต้นน้ำของโครงการชลประทาน  เรียกว่า  คลองส่งน้ำสายใหญ่ คลองส่งน้ำสายใหญ่เป็นคลองสำหรับนำน้ำไปใช้ในเขตโครงการทั้งหมด   จึงมีขนาดใหญ่กว่าคลองส่งน้ำสายอื่น   โครงการชลประทานแห่งหนึ่งๆ อาจมีคลองส่งน้ำสายใหญ่ได้หลายสาย ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ขนาดและขอบเขตของโครงการที่กำหนดไว้   ในกรณีที่จะส่งน้ำผ่านเขื่อนเก็บกักน้ำเข้าคลองส่งน้ำโดยตรง  คลองส่งน้ำสายใหญ่จะสร้างต่อจากปลายท่อปากคลองส่งน้ำท้ายเขื่อนเก็บกักน้ำ  สำหรับโครงการเขื่อนทดน้ำจะสร้างคลองส่งน้ำสายใหญ่ต่อจากบริเวณท้ายประตูหรือท่อปากคลองส่งน้ำ ซึ่งสร้างอยู่หน้าเขื่อนทดน้ำออกไป

          คลองส่งน้ำที่สร้างแยกจากคลองส่งน้ำสายใหญ่จะมีขนาดเล็กลงมา เรียกว่า   คลองซอย   ทำหน้าที่นำน้ำส่งไปยังพื้นที่เพาะปลูกบริเวณสองฝั่งของคลองนั้น  คลองส่งน้ำสายใหญ่อาจมีคลองซอยแยกออกไปได้หลายสายตามความเหมาะสม

          คลองส่งน้ำที่สร้างแยกจากคลองซอย  จะมีขนาดเล็กลงไปอีกเรียกว่า คลองแยกซอย การมีคลองแยกซอยเพิ่มขึ้น จะทำให้ส่งน้ำได้แพร่กระจายทั่วทั้งเขตโครงการดีขึ้น ซึ่งคลองซอยสายหนึ่งอาจมีคลองแยกซอยได้หลายสาย และที่คลองแยกซอยอาจมีคลองส่งน้ำขนาดเล็กๆ เป็นคลองแยกซอยแยกออกไปอีกก็ได้

          คลองส่งน้ำทุกสาย  ไม่ว่าจะเป็นคลองส่งน้ำสายใหญ่คลองซอย หรือคลองแยกซอย จะมีแนวคลองไปตามพื้นที่สูงที่สุดของบริเวณที่จะส่งน้ำให้เสมอ เพื่อที่ว่าเมื่อส่งน้ำออกจากคลองแล้ว น้ำจะได้ไหลลงสู่ที่ต่ำได้สะดวกและทั่วถึง คลองส่งน้ำสายใหญ่เป็นคลองส่งน้ำสายประธาน จึงมีแนวลัดเลาะไปตามชายเนิน ส่วนคลองซอยและคลองแยกซอยจะมีแนวไปตามสันเนิน ทำให้คลองซอยและคลองแยกซอยทุกสายสามารถส่งน้ำให้พื้นที่ทั่วไปส่วนใหญ่ได้ ซึ่งจำนวนพื้นที่ส่งน้ำทั้งหมดของโครงการชลประทาน  จะเป็นผลรวมของพื้นที่ส่งน้ำจากคลองซอยและคลองแยกซอยทั้งหมด กับพื้นที่ส่งน้ำจากคลองส่งน้ำสายใหญ่

          คลองส่งน้ำที่สร้างผ่านพื้นที่ดินซึ่งน้ำรั่วซึมได้น้อย  จะสร้างเป็นคลองดินธรรมดาเพราะมีราคาถูก แต่ถ้าสร้างในภูมิประเทศที่มีดินเป็นดินปนทราย จะทำให้มีน้ำรั่วซึมสูญหายไปจากคลองมาก จำเป็นต้องหาวิธีการป้องกันไม่ให้มีน้ำสูญหายไปจากคลองเช่น ดาดคลองด้วยคอนกรีต เป็นต้น
          
          สัดส่วนและขนาดของคลองส่งน้ำ  สามารถคำนวณได้จากสูตรการไหลของน้ำในทางน้ำเปิด โดยสูตรของแมนนิง (Manning Formula) คือ

          Q  =  ๑/n R๒/๓S๑/๒A
          เมื่อ Q  =  ปริมาณน้ำที่ต้องการส่งไปตามคลอง เป็นลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
          n  =   สัมประสิทธิ์ของความขรุขระของคลอง  มีค่าประมาณ ๐.๐๓๐-๐.๓๕  สำหรับคลองดิน และมีค่าประมาณ ๐.๐๑๖ สำหรับคลองดาดด้วยคอนกรีต
          R  =   รัศมีทางชลศาสตร์ของคลอง เป็นเมตร=    A/P
          A  =   พื้นที่รูปตัดขวางของน้ำที่ไหลในคลอง เป็นตารางเมตร
          P  =    ความยาวของลาดตลิ่งคลอง ส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำทั้งสองข้าง บวกกับความกว้างของท้องคลอง เป็นเมตร
          S  =    ลาดของผิวน้ำในคลอง หรือเท่ากับค่าความลาดเทของท้องคลองไปตามแนวคลองโดยประมาณ

          คลองส่งน้ำทุกสายจะต้องมีสัดส่วนและขนาด  คือ พื้นที่รูปตัดขวางของคลองโตพอที่จะส่งน้ำที่มีปริมาณตามต้องการไปได้  และมีระดับน้ำในคลองสูงพอที่จะส่งไปยังพื้นที่เพาะปลูกที่ต้องการใช้น้ำนั้นด้วย

คลองส่งน้ำ, คลองส่งน้ำ หมายถึง, คลองส่งน้ำ คือ, คลองส่งน้ำ ความหมาย, คลองส่งน้ำ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu