ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์
ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์, ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ หมายถึง, ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ คือ, ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ ความหมาย, ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ คืออะไร
ลักษณะและความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงกับประเพณีราษฎร์
จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ การเมือง ศาสนาและความเชื่อในสังคมไทย จะเห็นได้ว่า ดินแดนที่เป็นประเทศไทยนี้ เป็นที่อยู่ของคนหลายเผ่าพันธุ์ที่เข้ามาผสมปนเปกันเป็นเวลาหลายศตวรรษ จนมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่กล่าวได้ว่า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากภาษา ศาสนาความเชื่อ และประเพณีต่างๆ ที่มีที่มาจากสภาพแวดล้อมในทางภูมิศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของประชาชนในประเทศนี้เป็นสำคัญ
ลักษณะของสังคมไทยเป็นสังคมที่เรียกกันว่า สังคมตามประเพณี ที่มีพื้นฐานมาจากสังคมที่มีพัฒนาการมาจากสังคมแบบเผ่าพันธุ์ซึ่งแยกอยู่โดดๆ มีความสมบูรณ์ของตัวเอง มาเป็นสังคมแบบชาวนาที่มีลักษณะสำคัญคือ ในขณะที่ยังรักษาลักษณะบางอย่างของวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนอยู่ ก็ยอมรับและต้องการรูปแบบบางอย่างของวัฒนธรรมแบบเมืองเข้ามาผสมผสาน และเปลี่ยนแปลงรูปแบบเดิมของตนอยู่เรื่อยๆ ทำให้สังคมชาวนามีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่ สังคมชาวนาอื่นๆ บนแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เช่นเดียวกันลักษณะทางวัฒนธรรมไทยอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ระดับมาแต่โบราณ ตามรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างกันของผู้ที่อาศัยอยู่ในสังคมไทย คือ
๑. วัฒนธรรมของคนในระดับชนชั้นผู้นำชนชั้นสูง หรือชนชั้นปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เจ้านายเชื้อพระวงศ์ และขุนนาง ซึ่งมีราชสำนักหรือวัง เป็นจุดศูนย์กลางสร้างสรรค์เผยแพร่ออกมาที่เรียกว่า ประเพณีหลวง
๒. ลักษณะของวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของไพร่ฟ้าประชาชน หรือชนชั้นที่ถูก ปกครอง ที่ประกอบไปด้วย ชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา สามัญชนทั่วประเทศ ซึ่งจะมีลักษณะหลากหลายแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่มีสภาพแวดล้อมต่ ต่างกัน มีหมู่บ้าน หรือวัด เป็นศูนย์กลางของการสร้างสรรค์เผยแพร่ที่เรียกกันว่า ประเพณีราษฎร์
ความสัมพันธ์ของประเพณีทั้งสองลักษณะนี้มิได้แยกกันเด็ดขาด แต่มีความสัมพันธ์ที่แสดงถึงความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ คือได้มีการหยิบยืมเลียนแบบวัฒนธรรมซึ่งกันและกันประเพณีหลวงเองก็ได้แบบอย่างของประเพณีราษฎร์มาขัดเกลาให้ละเอียดอ่อน มีความประณีตวิจิตรซับซ้อน หรือมีความขลังศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น ทั้งนี้ด้วยการรับแบบแผนจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย จีน เปอร์เซีย มอญ เขมร และชวา เข้ามาผสมผสานจนกลายเป็นประเพณีหลวงโดยสมบูรณ์ หลังจากนั้นแล้วก็จะมีอิทธิพลส่งกลับไปสู่ประเพณีราษฎร์อีกครั้งหนึ่งโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของความสัมพันธ์ดังกล่าว ทำให้ประเพณีราษฎร์ ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปตามประเพณีหลวง
ประเพณีราษฎร์ตามท้องถิ่นต่างๆ เป็นสังคมแบบชาวนาที่ได้พัฒนาผ่านพ้นสังคมแบบเผ่าพันธุ์ มาเป็นสังคมที่อยู่กึ่งกลางระหว่างวัฒนธรรมของสังคมแบบเผ่าพันธุ์กับสังคมแบบเมือง ตัวอย่างเช่น ขณะที่ยังรักษาประเพณีการถือผี หรือประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิมที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และการทำมาหากินในท้องถิ่นของตนอย่างแน่นแฟ้นอยู่ก็ยอมรับวัฒนธรรมแบบเมืองเข้ามาผสมผสาน เช่น การรับนับถือพระพุทธศาสนา และประเพณีที่เนื่องในพระพุทธศาสนา เข้ามาปฏิบัติในวิถีชีวิตของตนด้วย ประเพณีหลวงจึงมีอิทธิพลเหนือประเพณีราษฎร์ และมีส่วนลดความแตกต่างในองค์ประกอบของประเพณีราษฎร์ ผลักดันให้เกิดรูปแบบใหม่ที่มีความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้น
นอกจากนี้ ในส่วนของประเพณีราษฎร์เองยังสามารถแบ่งความแตกต่างออกได้เป็นสองระดับ คือ ระดับพื้นบ้าน และ ระดับพื้นเมือง
มีคำไทยที่ใช้กันมาแต่สมัยโบราณว่า "สร้างบ้านแปงเมือง" ซึ่งชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของสังคมไทยแต่โบราณว่า น่าจะเกิดจากผู้คนหลายๆครอบครัวได้มาอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ และเมื่อหมู่บ้านมีการขยายตัว มีการปกครองที่ซับซ้อนมากขึ้น หมู่บ้านหลายๆ หมู่บ้านก็รวมตัวกันขึ้นเป็นเมืองเล็ก แล้วขยายเป็นเมืองใหญ่ในเวลาต่อมากลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และ การปกครองที่สัมพันธ์กันทั้งชุมชนหมู่บ้านที่อยู่ภายในท้องถิ่นกับชุมชนบ้านเมืองอื่นๆ ดังนั้น สังคมใหญ่ๆ ที่รวมกันอยู่อย่างหนาแน่นจึงเรียกว่า "บ้านเมือง" ผลิตผลของชาวบ้านจึงมักเรียกกันว่าเป็นของพื้นบ้านพื้นเมือง ศิลปะที่เป็นการสร้างสรรค์ของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาก็จะเรียกกันว่า ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง เป็นต้น เมื่อพิจารณารูปแบบทางวัฒนธรรมแล้ว คำสองคำนี้จะสะท้อนภาพของประเพณี ๒ ระดับที่กล่าวมาแล้วคือ
จะมีลักษณะผสมผสานของประเพณีพื้นบ้านหลายๆ ชุมชนเป็นรากฐาน โดยมีการรับประเพณีหลวงมาเป็นตัวสนับสนุนด้วย จนได้รับการยอมรับเชื่อถือเป็นเอกลักษณ์ของหลายๆ ท้องถิ่น อาจพบทั่วทั้งหมู่บ้าน และในเมืองในวงกว้างทั่วทั้งภูมิภาค เช่น ประเพณีการเล่นเพลงฉ่อยและลำตัดของภาคกลางการเล่นหมอลำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเล่นโนราในภาคใต้ หรือซอของภาคเหนือ
ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทำให้อยุธยาเป็นราชอาณาจักรที่สำคัญ บ้านเล็ก เมืองน้อยที่เคยเป็นอิสระต้องตกอยู่ภายใต้การปก ครองของกรุงศรีอยุธยา เป็นเหตุให้ประเพณีหลวงกระจายลงสู่หัวเมืองต่างๆ ที่สำคัญๆ ทั่วราชอาณาจักรแต่นั้นมา เช่น เมืองนครศรีธรรมราช มีฐานะเป็นหัวเมืองใหญ่ทางภาคใต้ที่ขึ้นตรงต่อเมืองหลวงที่กรุงศรีอยุธยาโดยมีหัวเมืองเล็กหัวเมืองน้อยอยู่ในความควบคุม เมืองนครศรีธรรมราชย่อมมีวัฒนธรรมพื้นเมืองของตนอยู่แล้ว โดยพัฒนามาจากประเพณีพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้นเองแต่เมื่อเมืองนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองเอกทางภาคใต้ที่ติดต่อรับพระบรมราชโองการโดยตรงจากกรุงศรีอยุธยา เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกรุงศรีอยุธยาย่อมจะมีอยู่มาก และเพราะเมืองนครศรีธรรมราชมีโอกาสที่จะติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติด้วย ดังนั้นโอกาสที่จะรับอิทธิพลจากต่างชาติจึงมีอยู่ด้วย
ในทำนองเดียวกัน เมืองนครราชสีมา หรือเมืองเชียงใหม่ที่เป็นหัวเมืองชั้นเอก หรือระดับเมืองประเทศราช จึงย่อมรับประเพณีจากเมืองหลวงที่สลับซับซ้อนมากกว่าประเพณีระดับพื้นบ้านทั่วไปจะเห็นได้ว่า ในท้องถิ่นต่างๆ นั้น แต่เดิมมีประเพณีพื้นบ้านเป็นพื้นฐานโดยทั่วไปอยู่แล้วต่อมาเมื่อตั้งขึ้นเป็นเมือง ก็จะรับอิทธิพลทั้งประเพณีพื้นบ้านและประเพณีหลวงจนกลายเป็นประเพณีพื้นเมืองที่มีลักษณะพิเศษขึ้นมาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่พร้อมจะส่งอิทธิพลไปสู่ประเพณีพื้นบ้านต่อไป ดังนั้น การที่จะทำความเข้าใจประเพณีหลวงโดยละเลยการทำความเข้าใจประเพณีราษฎร์ หรือในทางกลับกันจะศึกษาประเพณีราษฎร์โดยไม่มีพื้นฐานความเข้าใจพัฒนาการของประเพณีหลวง ย่อมอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะจะไม่สามารถทำความเข้าใจภาพรวมของพัฒนาการของวัฒนธรรมไทยได้เลย เนื่องจากโดยสภาพแวดล้อม ทั้งทางภูมิศาสตร์ สังคมและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์แล้ว วัฒนธรรมไทยมีลักษณะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงกล่าว คือ มีความพร้อมอยู่เสมอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีความแปลกและใหม่กว่า ประเพณีหลวงจึง มักมีอิทธิพลเหนือประเพณีราษฎร์อย่างมาก การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไทยมักจะเริ่มที่ประเพณีหลวงก่อนเสมอ หรืออีกนัยหนึ่งเริ่มจากชนชั้นผู้นำก่อนแล้วจึงส่งผลมายังระดับประเพณีราษฎร์ของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ เป็นเงาตามตัว จนทำให้ประเพณีราษฎร์ในบางท้องถิ่น สลายตัวไปในปัจจุบัน
ปรากฏการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงลักษณะของสังคมชาวนาที่มักจะมองสังคมส่วนกลางเป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ เปลี่ยนจากพื้นบ้านมาเป็นพื้นเมือง และเข้าสู่รูปแบบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วไปทั้งประเทศตาม ส่วนกลาง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเจริญของการคมนาคม การแพร่หลายของสื่อมวลชน และ ความนิยมวัฒนธรรมสมัยใหม่ด้วย
ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์, ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ หมายถึง, ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ คือ, ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ ความหมาย, ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!