ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วัดประจำรัชกาล, วัดประจำรัชกาล หมายถึง, วัดประจำรัชกาล คือ, วัดประจำรัชกาล ความหมาย, วัดประจำรัชกาล คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วัดประจำรัชกาล

          ในการนำชาวต่างประเทศชมความงดงามของบ้านเมืองในประเทศไทย  รายการสำคัญที่จะขาดมิได้คือ การนำชมวัดต่าง  ๆ  ทั้งนี้เพราะวัดถือเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรมไทยไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม  ประติมากรรมจิตรกรรม  และงานช่างศิลป์ทั้งปวง แม้แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ต้องเดินทางโดยเรือ เมื่อผ่านปากน้ำเจ้าพระยาเข้ามา ก็จะพบพระสมุทรเจดีย์ก่อนสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ  อย่างอื่น จนเข้ามาถึงใจกลางพระนครก็จะเห็นพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามสูงเด่นเป็นสง่าและงดงามยิ่ง จนเป็นที่ยอมรับนับถือกันว่า  พระพุทธปรางค์องค์นี้เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย

          การสร้างวัดในสมัยแรกนั้น สืบเนื่องมาจากการถวายที่ดินซึ่งเป็นป่าเป็นสวน ให้เป็นที่พักของพระภิกษุสงฆ์ และเพื่อสร้างเป็นอนุสรณ์แห่งพุทธศาสนา  ด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรืออัฐิบุคคลสำคัญในพุทธศาสนา  ต่อมา วัตถุประสงค์ของการสร้างวัดได้เน้นหนักไปในทางสร้างให้เป็นวัดประจำตระกูล สำหรับเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลและบรรจุอัฐิธาตุของคนในวงศ์ตระกูล หรือเป็นการสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งเหตุการณ์ หรือบุคคล ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือล่วงลับไปแล้ว และที่สำคัญ ส่วนใหญ่มักสร้างวัดด้วยความศรัทธาและความเชื่อเรื่องบุญเรื่องกรรม โดยถือว่าการสร้างวัดนั้นได้กุศลสูงยิ่ง

           ต่อมา วัดในพระพุทธศาสนาได้มีความสำคัญในด้านการปกครองและสังคมมากขึ้นตามลำดับ โดยทางด้านการปกครองก็ต้องอาศัยการอบรมสั่งสอนและชี้นำของพระภิกษุสงฆ์ และเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการพบปะทำกิจกรรมร่วมกัน ตลอดจนเป็นผู้นำของชุมชนในเรื่องศิลปวิทยาต่างๆ รวมไปถึงการศึกษา และการสาธารณสุข ดังนั้น จึงถือว่าเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์  พระบรมวงศานุวงศ์  ข้าราชการพ่อค้าคหบดี ที่จะต้องสร้างหรือทะนุบำรุงวัดให้เจริญมั่นคง

           คตินิยมที่ว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จะต้องสร้างวัดประจำรัชกาล ได้ปรากฏชัดเจนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  ดังปรากฏชื่อวัดดังนี้
          วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 
          วัดอรุณราชวราราม  เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
          วัดราชโอรสาราม  เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
          วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม  เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม  เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          ส่วนในรัชกาลต่อมานั้น  ไม่พบหลักฐานชัดเจนว่า ทรงถือว่าวัดใดเป็นวัดประจำรัชกาลยิ่งไปกว่านั้น มีพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงไว้อย่างชัดเจนว่ามีพระราชดำริว่าพระอารามหลวงในกรุงรัตนโกสินทร์มีจำนวนมากแล้ว  ต้องเป็นพระราชภาระในการอุปถัมภ์บำรุงมิใช่น้อย และพระอารามต่างๆ  นั้นก็ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่เยาวชนอยู่แล้ว จึงทรงสร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเพื่อเป็นอนุสาวรีย์แทนการสร้างวัดประจำรัชกาล ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรวมโรงเรียนราชวิทย์วิทยาลัยเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย สำหรับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องด้วยฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ จึงมิได้ทรงสร้างพระอารามหลวงขึ้นใหม่ แต่ทรงอุทิศพระราชทรัพย์ซ่อมแซมวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นงานใหญ่ ส่วนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลก็เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ จึงมิได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่ประการใด ดังนั้น จึงขอกล่าวถึงวัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตามสมควรดังนี้          เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น  พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  ทรงเป็นแม่ทัพคุมกองทัพไปป้องกันข้าศึกพม่าที่จะยกทัพมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ได้ทรงกระทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม ที่วัดจอมทองริมคลองด่าน ทรงอธิษฐานขอให้ราชการทัพครั้งนี้ประสบความสำเร็จ  และเสด็จกลับมาโดยสวัสดิภาพ ปรากฏว่าพม่าไม่ได้ยกทัพมาจึงมีพระบรมราชโองการให้เลิกทัพกลับมา

          เมื่อเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว จึงทรงเริ่มปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งวัด โดยเสด็จมาควบคุมการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง เสร็จแล้วจึงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานนามว่า  “วัดราชโอรส” เพราะเป็นวัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนา

          ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความสัมพันธ์ทางการค้าสำเภากับจีนมาก ทำให้ทรงนิยมศิลปะแบบจีน และเพราะการปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการส่วนพระองค์ จึงทรงใช้ศิลปกรรมแบบจีนมาผสมผสานกับศิลปกรรมแบบไทยตามพระราชหฤทัยได้อย่างงดงามลงตัว และเป็นต้นแบบของการสร้างวัดในรัชกาล ทั้งของหลวงและของขุนนางพ่อค้าคหบดีอีกหลายวัด  จนถือว่าเป็นศิลปกรรมแบบรัชกาลที่  ๓

          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  มาประดิษฐานไว้ ณ ฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถ  พร้อมทั้งแผ่นพระปรมาภิไธยและแผ่นศิลาจารึกดวงพระบรมราชสมภพ จึงถือว่าวัดนี้เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๓

วัดประจำรัชกาล, วัดประจำรัชกาล หมายถึง, วัดประจำรัชกาล คือ, วัดประจำรัชกาล ความหมาย, วัดประจำรัชกาล คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu