ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การดูแลรักษาลูกของแมลง, การดูแลรักษาลูกของแมลง หมายถึง, การดูแลรักษาลูกของแมลง คือ, การดูแลรักษาลูกของแมลง ความหมาย, การดูแลรักษาลูกของแมลง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การดูแลรักษาลูกของแมลง

            ส่วนใหญ่พ่อแม่ของแมลงไม่มีการเลี้ยงลูกปล่อยให้ลูกหากินช่วยตัวเอง แมลงส่วนใหญ่จึง วางไข่หรือออกลูกที่แหล่งอาหารหรือบริเวณที่มี อาหารให้ลูก แมลงส่วนน้อยที่มีการดูแลช่วยเหลือ ลูก เช่น แมลงดาสวนตัวเมียจะวางไข่เป็น แผงติดแน่นบนหลังตัวผู้ เมื่อตัวผู้ว่ายน้ำไป ณที่ใดก็เท่ากับพาไข่ติดไปด้วย ไข่จึงรอดพ้นจากศัตรู แมลงดานาจะคอยเฝ้ารักษากลุ่มไข่ที่ตัวเมียวางติดไว้กับต้นพืชในน้ำ ไม่ยอมให้ศัตรูเข้ามาทำลาย รวมทั้งคอยไล่ตัวเมียที่อาจจะเข้ามากินไข่ของตัวเองด้วย จนกระทั่งตัวอ่อนฟักออกจากไข่แล้วจึงละทิ้งไป แมลงหนีบจะเฝ้าดูแลรักษา ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ จนกระทั่งโตพอสมควรที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว จึงจะแยกตัวไป
          อย่างไรก็ตาม แมลงหลายพวกเสาะหาที่ทำรังหรือสร้างรังอย่างแข็งแรง สำหรับป้องกันภัยให้ลูกและหาอาหารมาเก็บไว้ให้ลูกกิน จนกระทั่งโตเต็มที่โดยลูกไม่ต้องออกหากินเอง เช่น ผึ้งกรวย จะเที่ยวเสาะหารูขนาดพอเหมาะเช่นรูที่ แมลงอื่นเจาะทิ้งร้างไว้ หรือรูที่คนทำขึ้น เช่น

          รูกุญแจที่โต๊ะหรือรูกลอนประตู รูท่อยางที่ถูกทิ้งไว้ เมื่อได้ที่แล้วจะบินออกไปกัดใบไม้เป็นแผ่น เกือบกลม นำมาห่อเป็นรวย รองกันหลายชั้นในรูเพื่อเป็นรัง นำเกสรดอกไม้มาบุรังจนเพียงพอ ที่จะเป็นอาหารให้ลูกอ่อน ซึ่งฟักออกจากไข่กินจนเจริญเติบโตเต็มที่ได้ ส่วนผึ้งหลอดนั้นทำรัง แบบเดียวกันแต่จะกรุรังด้วยดินเหนียวหรือดินผสมยางไม้ ก่อนที่จะขนใบไม้มากรุรัง หมาร่าจะ
ขนดินเหนียวมาสร้างรังให้แข็งแรงจนเสร็จเสียก่อนจึงจะไปหาตัวหนอนที่เป็นอาหารของลูกอ่อนโดยต่อยให้สลบแล้วขนมาใส่ในรังที่เตรียมไว้ ก่อนที่จะวางไข่ลงไปบนตัวหนอนที่สลบนั้นแล้วจึงปิดรังเพื่อให้ลูกน้อยที่ฟักออกจากไข่ได้กินตัวหนอนทีอยู่ในรังจนเจริญเติบโตได้อย่างปลอดภัยแมลงเหล่านี้จึงมีชีวิตอย่างโดดเดี่ยว
           แมลงที่รวมตัวกันอยู่เป็นฝูงช่วยกันทำรังหาอาหารเลี้ยงลูกอ่อน จัดเป็นแมลงที่มีความเป็นอยู่แบบสังคมชั้นสูงนั้น ได้แก่ ต่อ แตน ผึ้งชันโรง มด และปลวก ในรัง ๆ หนึ่งจึงอาจจะพบแมลงเหล่านี้เป็นพัน เป็นหมื่น หรือนับ แสนตัวก็มี แมลงเหล่านี้มีการแบ่งชั้นวรรณะ

          กล่าวคือในแต่ละรัง ตัวอ่อนเจริญเมื่อโตเต็มวัยมี รูปร่างไม่เหมือนกัน และทำหน้าที่ต่างกัน มี วรรณะตัวผู้ วรรณะตัวเมีย วรรณะกรรมกร และ วรรณะทหาร พวกต่อหลวง ต่อหัวเสือ แตนลิ้นหมา ผึ้งโพรง ผึ้งหลวงผึ้งเลี้ยง และชันโรงเป็นต้น มีตัวผู้ขนาดย่อมกว่าตัวเมียทำหน้าที่ผสมพันธุ์ ตัวเมียที่จะเป็นแม่รังเมื่อผสมพันธุ์และวางไข่ซึ่งจะฟักเป็นตัวแพร่ลูกหลานต่อไปส่วนพวกวรรณะกรรมกรหรือลูกรังนั้นคือตัวเมียที่เป็นหมัน มีขนาดตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย ทำหน้าที่สร้างรังหาอาหารมาเลี้ยงตัวอ่อน และ
คอยเฝ้าระวังศัตรู โดยมีเหล็กในที่ต่อยให้เจ็บปวดถึงตายได้ ต่อ แตน และผึ้ง เหล่านี้ไม่มีวรรณะทหารที่จะมีรูปร่างผิดแปลกออกไป
 เพราะพวกวรรณะกรรมกรทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว โดยปรกติในรังแต่ละรังของต่อและผึ้งดังกล่าว ข้างต้นจะมีตัวเมียตัวเดียวซึ่งเป็นแม่รัง ที่เหลือเป็นลูกรัง ซึ่งเป็นวรรณะกรรมกร จะพบตัวผู้ก็ เฉพาะเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์หรือแยกรัง ต่อและ แตนชนิดที่กล่าวข้างต้นไม่มีการเก็บสำรองอาหารไว้ในรัง ฉะนั้น เมื่อแหล่งอาหารขาดแคลน ก็จำเป็นที่จะต้องแยกรังออกไปหาแหล่งใหม่เพื่อ สร้างรังใหม่ต่อไป สำหรับผึ้งที่กล่าวข้างต้นและชันโรงมีการเก็บสำรองอาหารซึ่งเป็นน้ำผึ้งและเกสรดอกไม้ไว้ในรวงรัง โดยแบ่งสัดส่วนเอา
ไว้เป็นที่เก็บสำรองโดยเฉพาะ มนุษย์เราได้อาศัยน้ำผึ้งที่เก็บสำรองเหล่านี้มาเป็นอาหารอีกทีหนึ่งส่วนผึ้งมิ้มมีวรรณะและความเป็นอยู่เช่นเดียวกับ ผึ้งอื่น ๆ ที่กล่าวข้างต้น ผิดกันแต่ว่าผึ้งงานซึ่งเป็นวรรณะกรรมกรไม่มีต่อมน้ำพิษ และเหล็กใน ที่จะใช้ป้องกันตัว ชอบทำรังตามกิ่งไม้ซึ่งค่อนข้างเปิดเผย จึงมักจะถูกทำลายโดยมนุษย์และศัตรูอื่น ๆ ได้ง่าย ต้องย้ายรังหลีกหนีบ่อย ๆ

          ในกรณีของมดและปลวก นอกจากจะมีวรรณะตัวผู้ ตัวเมีย กรรมกรแล้ว ยังมีวรรณะ ทหาร ซึ่งมักจะมีร่างกายใหญ่โตผิดสัดใหญ่ของรวงรังดังจะเห็นได้จากมดง่ามและ ปลวกโดยทั่วไป เป็นต้น พวกนี้มักจะมีหัวโตผิดสัดส่วนกับอกและท้อง มีขากรรไกรหน้า
รูปร่างคล้ายเขี้ยวใหญ่ เป็นที่น่าเกรงขามของศัตรูพวกวรรณะทหารเหล่านี้จะพบได้บ่อย ๆ เมื่อเดินไปตามทางปะปนกับวรรณะกรรมกร ปลวกงาน มีความแตกต่างกับมด ผึ้ง ต่อ แตน และชันโรงที่กล่าวข้างต้น ในแง่ที่ว่าสามารถช่วยทำงานตั้งแต่อายุเยาว์วัย โดยไม่ต้องรอให้เจริญเติบโตเต็มทส่วนเมื่อเทียบกับวรรณะกรรมกร ซึ่งเป็นประชากรส่วน

          โดยสรุป อาจจะกล่าวได้ว่าแมลงส่วนใหญ่ที่วิวัฒนาการในการที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นยังน้อยอยู่ แต่ก็ยังมีแมลงหลายชนิดหลายพวกที่มีวิวัฒนาการในทางสังคมสูงมากถึงขั้นแบ่งชั้นวรรณะในการทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจนซึ่งหลายสิ่งหลายอย่างที่มนุษย์เองก็ไม่สามารถจะทำได้ ทำให้แมลงเหล่านี้มีชีวิตอยู่รอดในโลกมาได้อย่างดีจนถึงสมัยปัจจุบัน

การดูแลรักษาลูกของแมลง, การดูแลรักษาลูกของแมลง หมายถึง, การดูแลรักษาลูกของแมลง คือ, การดูแลรักษาลูกของแมลง ความหมาย, การดูแลรักษาลูกของแมลง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 19

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu