ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง, การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง หมายถึง, การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง คือ, การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง ความหมาย, การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง

          ความเชื่อของผู้ปลูกไม้ผลในอดีต เกี่ยวกับการบังคับให้ต้นไม้ออกดอกคือ การทำให้ต้นไม้เกิดอาการใกล้ตายหรือกลัวตาย แล้วต้นไม้นั้นจะออกดอก นั่นก็คือ ใช้วิธีการต่างๆที่ทำร้ายต้นไม้ เช่น การสับราก  การสับต้น หรือการควั่นต้น ควั่นกิ่ง หรือใช้ลวดรัดกิ่งเพื่อไม่ให้อาหารส่งมาเลี้ยงลำต้น ส่วนล่างได้ วิธีการเหล่านี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการทรมานต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้รู้สึกว่าใกล้ตาย จึงจำเป็นต้องแพร่พันธุ์ออกไปก่อน  นั่นคือ ต้องมีการออกดอก 
          ปรากฏการณ์การออกดอกของต้นไม้หลังจากที่ได้รับการทรมานนั้น สามารถอธิบายได้โดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ เกี่ยวกับระบบลำเลียงน้ำและอาหารของต้นไม้ กล่าวคือ ต้นไม้ยืนต้นทั้งหลายมีระบบ ลำเลียงน้ำและอาหารแยกออกจากกัน น้ำและแร่ธาตุที่ต้นไม้ดูดขึ้นมาจากราก และ ส่งผ่านต่อไปยังลำต้นส่วนบนซึ่งได้แก่กิ่งก้าน และใบไม้นั้น จะเดินทางผ่านทาง "ท่อน้ำ" ซึ่งเชื่อมต่อกันทุกส่วนของพืช ตั้งแต่ปลายยอดของกิ่งแต่ละกิ่งผ่านลำต้นไปถึงปลายราก ซึ่ง "ท่อน้ำ" ที่อยู่ในส่วนของลำต้นได้แก่ส่วนที่เราเรียกว่า "เนื้อไม้"  นั่นเอง เมื่อรากส่งน้ำและธาตุอาหารไปยังใบ ซึ่งทำหน้าที่ปรุงอาหารโดยการสังเคราะห์แสงแล้ว อาหารที่สร้างขึ้นก็จะส่งไปยังส่วนต่างๆของพืชโดย การเคลื่อนที่ไปตาม "ท่ออาหาร" โดยส่วนของท่ออาหารที่ปรากฏให้เห็นในส่วนของลำต้นก็คือ "เปลือกไม้" นั่นเอง เมื่อดูที่ลำต้น ของต้นไม้ผลยืนต้น ซึ่งแยกได้ ๒ ส่วนคือ เนื้อไม้และเปลือกไม้ ก็จะเห็นได้ว่า ทั้งสอง ส่วนนี้คือระบบท่อลำเลียงน้ำและอาหารของพืช โดยที่น้ำและธาตุอาหารจะเคลื่อนที่ขึ้นด้านบนผ่านทางเนื้อไม้ ส่วนอาหารที่พืช สร้างขึ้นจากใบจะเคลื่อนที่ลงมาตามเปลือกไม้ เพื่อส่งไปยังราก ดังนั้น การสับต้น ควั่นต้น หรือใช้ลวดรัด เป็นการสร้างอุปสรรคหรือขัดขวางการเคลื่อนที่ของอาหารที่ส่งลงไปยังราก ผลที่ตามมาจะเกิดขึ้น ๒ อย่างคือ เกิดการสะสมอาหารในส่วนบนของต้น และในขณะเดียวกันรากจะขาดอาหาร ทำให้ความสามารถในการดูดน้ำและแร่ธาตุน้อยลง ต้นไม้ก็จะเกิดอาการคล้ายกับการขาดน้ำและธาตุอาหาร และเริ่มการออกดอกได้เหมือนกับการใช้วิธีงดน้ำ
          การควั่นกิ่งหรือการรัดกิ่งเป็นวิธีการบังคับการออกดอกวิธีหนึ่งซึ่งนิยมใช้กันในพืชหลายชนิด พืชที่สามารถใช้วิธีการนี้ได้ผล ได้แก่ ส้ม มะนาว มะเฟือง ลิ้นจี่ และลำไยบางสายพันธุ์ โดยจะมีการควั่นกิ่งหลักที่มีขนาดใหญ่พอประมาณขึ้นอยู่กับขนาดต้น โดยทั่วไปจะเลือกกิ่งแขนงชุดแรกที่แยกออกมาจากต้น ซึ่งมักมีประมาณ ๓ - ๕ กิ่ง จำนวนกิ่งที่ควั่นควรมีประมาณครึ่งหนึ่งของกิ่งขนาดเดียวกันในต้น เช่น หากมีกิ่งแขนงใหญ่ชุดแรกที่เกิดจากลำต้นจำนวน ๕ กิ่ง ก็ควรควั่นกิ่งไม่เกิน ๓ กิ่ง และให้ส่วนที่เหลือยังคงสามารถส่งอาหารไปเลี้ยงรากได้บ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นตาย วิธีการควั่นโดยทั่วไปคือ ใช้เลื่อยหรือใช้มีดควั่นรอบกิ่งนั้นให้เป็นรอย แล้วใช้ลวดรัดให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ ๑ - ๒ เดือน จึงคลายลวดออก อีกวิธีหนึ่งคือ การควั่นรอบกิ่ง ๒ รอยขนานกัน โดยห่างกันประมาณไม่เกิน ๑ เซนติเมตร แล้วลอกเปลือกไม้ออก ในระยะนี้จะเกิดการสร้างตาดอกขึ้นในกิ่งด้านบน หลังจากนั้นประมาณ ๑ เดือน ต้นไม้จะสร้างเนื้อเยื่อ ขึ้นมาปิดแผลหรือรอยควั่นนั้น และเกิดการเชื่อมประสานของท่ออาหาร จึงทำให้การ ลำเลียงอาหารต่อไปยังรากเกิดขึ้นได้ใหม่ และต้นไม้สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ตามปกติ  แต่ถ้ามีการควั่นกิ่งกว้างเกินไป เนื้อเยื่อจะเชื่อมประสานกันได้น้อยลง ดังนั้น โอกาสที่กิ่งจะตายหรือต้นตายอาจมีมากขึ้น

การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง, การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง หมายถึง, การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง คือ, การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง ความหมาย, การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu