การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทยได้ดำเนินการมาตามลำดับดังนี้
พ.ศ. ๒๕๑๖ ประกาศคณะปฏิวัติที่ ๒๙๔ ห้ามขายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า ๑๖ ปี
พ.ศ. ๒๕๑๗ แพทยสมาคมผลักดันให้มีการพิมพ์คำเตือนบนซองบุหรี่
พ.ศ. ๒๕๑๙ กรุงเทพมหานครออกเทศบัญญัติห้ามสูบบุหรี่บนรถประจำทางและในโรงภาพยนตร์
พ.ศ. ๒๕๒๙ ก่อตั้งโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
กระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงห้ามสูบบุหรี่บนรถทัวร์
พ.ศ. ๒๕๓๑ องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ ๗ เมษายน เป็นวันงดสูบบุหรี่โลกครั้งแรก และในปีต่อมาได้เปลี่ยนเป็น
วันที่ ๓๑ พฤษภาคมของทุกปี
พ.ศ. ๒๕๓๒ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ห้ามโฆษณาบุหรี่ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๓ ที่ประชุมว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ตัดสินให้ไทยต้องเปิดตลาดบุหรี่เสรีให้บุหรี่ต่างประเทศ
เข้ามาขายในประเทศไทยได้ แต่ไทยสามารถมีมาตรการต่างๆเพื่อพิทักษ์สุขภาพของประชาชน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งสถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ ๒ ฉบับ ผ่านสภาออกมาเป็นกฎหมาย เป็นผลสำเร็จ
พ.ศ. ๒๕๓๗ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ขึ้นภาษีบุหรี่เป็นระยะๆตามอัตราเงินเฟ้อ
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การอนามัยโลกเริ่มดำเนินการร่างอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการสูบ บุหรี่ของโลก
มาตรการหลายมาตรการที่กล่าวมาแล้ว มีส่วนช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ตัดสินใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ เช่น การให้ข้อมูลพิษภัยของการสูบบุหรี่ การจำกัดสถานที่สูบบุหรี่ การขึ้นภาษีบุหรี่ และการพิมพ์คำเตือน นอกจากนี้การดำเนินการคลินิกอดบุหรี่ การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของกระบวนการที่จะช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ เพราะมีผู้สูบบุหรี่จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถ เลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเองได้จากการที่ไม่รู้วิธีที่จะเลิกสูบ แม้เคยพยายามที่จะเลิกหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากขาดแรงจูงใจที่จะเลิก หรือเสพติดบุหรี่มากก็ตาม