จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี, จิตรกรรมไทยแบบประเพณี หมายถึง, จิตรกรรมไทยแบบประเพณี คือ, จิตรกรรมไทยแบบประเพณี ความหมาย, จิตรกรรมไทยแบบประเพณี คืออะไร
จิตรกรรมหรือภาพเขียนในประเทศไทยมีอยู่เมื่อหลายพันปีมาแล้ว เป็นภาพเขียนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือก่อนที่จะเกิดจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
ผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขียนภาพบนผนังถ้ำ เพิงผา เช่น ภาพที่เกี่ยวกับการล่าสัตว์การเกษตรกรรม หรือพิธีกรรม ซึ่งนักวิชาการในปัจจุบันแม้ว่ายังอธิบายให้ชัดเจนไม่ได้ แต่ภาพเขียนเก่าแก่เหล่านี้ก็ช่วยให้เรานึกถึงลักษณะทางสังคมของคนในยุคนั้น เช่น หากเป็นภาพการล่าสัตว์ หรือการเพาะปลูก ผู้คนในยุคนั้นก็ย่อมมีวิถีชีวิตในระดับสังคมล่าสัตว์ หรือระดับสังคมเกษตรกรรม ซึ่งมีพัฒนาการทางเทคโนโลยีสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง เป็นต้น
ภาพเขียนเหล่านี้ยังไม่มีระเบียบแบบแผนชัดเจน องค์ประกอบภาพซึ่งมีรูปบุคคลกิริยาท่าทางต่างๆ หรือรูปสัตว์ ที่ล้วนเขียนขึ้นอย่างอิสระ ไม่ถูกต้องตามสัดส่วนสรีระ คงเขียนขึ้นเพื่อสื่อความในหมู่เหล่าของตน
ภาพเขียนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เกิดจากการใช้เครื่องมือที่อาจเป็นกิ่งไม้ทุบปลายให้แตกเป็นฝอย ใช้เป็นแปรงเพื่อจุ่มสีเขียนภาพซึ่งได้เป็นเส้นหยาบๆ หรือระบายให้เป็นรูปร่างอย่างคร่าวๆ นอกจากนี้ยังมีการพ่นสี คงเป็นการอมสีไว้ในปากแล้วพ่นออกมา หรือพ่น โดยผ่านกระบอกไม้ลงบนมือซึ่งทาบทับบนผนังก็จะได้รูปมือ ตลอดจนพิมพ์ทาบทับ เช่น ทาบฝ่ามือที่ชุบสีลงบนผนังให้เกิดเป็นรูปรอยฝ่ามือบางแห่งได้พบว่ามีการเขียนแต่งเติมให้เป็นรูปมือที่สมบูรณ์ยิงขึ้น การสะบัดสีให้เป็นรูปรอยต่างๆ ก็มีอยู่ด้วย
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี, จิตรกรรมไทยแบบประเพณี หมายถึง, จิตรกรรมไทยแบบประเพณี คือ, จิตรกรรมไทยแบบประเพณี ความหมาย, จิตรกรรมไทยแบบประเพณี คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!