ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หมายถึง, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ความหมาย, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คืออะไร
คำว่า พราหมณ์ หมายถึง คนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความรู้ทางวิทยาการเกี่ยวกับหลักดำเนินชีวิตตามแนวทางศาสนาหรือแนวพิธีกรรมต่างๆ ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์และพิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนดูฤกษ์ดูยามในพิธีหลวงและพิธีราษฎร์
ชาวอินเดียที่เป็นพราหมณ์เข้ามาในประเทศไทยก่อนสมัยสุโขทัยโดยผ่านมาทางเขมรทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาและทางใต้ ศาสนาพราหมณ์คือ ศาสนาฮินดูดั้งเดิม ชาวอินเดียได้เข้ามาพร้อมกับศาสนาฮินดู โดยเฉพาะในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้
คัมภีร์ดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือคัมภีร์พระเวท แปลว่า ความรู้มาจากพระเจ้าพระผู้ประเสริฐ คือ พรหม คัมภีร์พระเวทจึง เป็นคำสอนของพระเจ้า มีเทพเจ้าทั้งหลายเป็นที่เคารพนับถือ เช่น พระอัคนีเทพ พระอินทรเทพ พระอัศวินเทพ สาวิตรีเทพ สุริยเทพ วรุณเทพ อุสาเทพ โสมเทพ วิษณุเทพ เป็นต้น ชาวฮินดูเลือกบูชาเทพองค์หนึ่งองค์ใดที่ตนเองเคารพนับถือเป็นพิเศษ
ในประเทศไทยมีเทวสถานโบสถ์พราหมณ์หลายแห่ง เช่น โบสถ์พระอิศวร โบสถ์พระพิฆเนศ โบสถ์พระนารายณ์ โบสถ์เทพมณเฑียร โบสถ์พระแม่อุมาเทวี วัดวิษณุ เป็นต้น ทั้งหมดตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร หลายแห่งก่อตั้งมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พราหมณ์มีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมทั้งของหลวงและของราษฎร์ ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น นอกนั้นมีพิธีซึ่งราษฎร์ทั่วไปก็กระทำโดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีให้ โดยเฉพาะพิธีที่เกี่ยวกับขวัญ เช่น พิธีทำขวัญเดือนโกนผมไฟ พิธีโกนจุก พิธีสมรส พิธีศพ พิธีตั้งศาลพระภูมิ เป็นต้น
พิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเองมีอยู่ประจำเกือบทุกเดือน นอกนั้นก็มีการประกอบ ศาสนกิจเป็นประจำทุกวัน ด้วยการสวดมนต์การบูชาพระเจ้าโดยการร้องเพลงสดุดีพระองค์ชาวฮินดูถือว่า ดนตรี การขับร้อง และการเต้นรำเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ
ชาวฮินดูซึ่งเข้ามาในประเทศไทยระยะร้อยปีเศษมานี้ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้า จึงทำมาค้าขายในสังคมเหมือนพ่อค้าทั่วไปเป็นหลัก
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หมายถึง, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ความหมาย, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!