เผือกเป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง ประชากรของประเทศในเขตร้อนเกือบทั่วโลกรู้จักเผือกเป็นอย่างดีบางประเทศรับประทานเผือกเป็นอาหารหลักเหมือนคนไทยรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก บางประเทศรับประทานเผือกเป็นอาหารรอง ประเทศเหล่านั้นจึงปลูกเผือกกันเป็นล่ำเป็นสัน และถือว่าเผือกเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศ สำหรับประเทศไทย ประชาชนรับประทานเผือก โดยประกอบเป็นอาหารคาวและทำขนม ปริมาณการใช้ยังไม่มากเหมือนพืชชนิดอื่น จึงไม่ปลูกมาก แต่คาดว่าปริมาณการใช้เผือกจะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยมีผลิตผลเผือกประมาณปีละ ๖๕,๓๕๙ ตัน (สถิติปี พ.ศ. ๒๕๑๑) คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๖๓ ล้านบาท ปัจจุบันประเทศไทยส่งเผือกเป็นสินค้าออก ประเทศที่รับซื้อเผือกจากประเทศไทย ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่นเผือกจึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยสามารถผลิตเผือกได้ปีละประมาณ ๖๕,๓๕๙ ตัน (สถิติปี พ.ศ. ๒๕๑๑) นับว่ายังน้อยกว่าอีกหลายประเทศ แต่ก็คงมากกว่าอีกหลายประเทศทีเดียว จากสถิติที่รวบรวมได้ มีประเทศผู้ผลิตเผือกมากดังต่อไปนี้
ประเทศ
ผลิตผล (ตัน)
ไนจีเรีย (Nigeria)กานา (Ghana)
แคเมอรูน (Cameroun)
ไอวอรี่โคสท์ (Ivory Coast)
ไทย (Thailand)
สหสาธารณรัฐอาหรับ (UAR)
รัฐฮาไวอิ-สหรัฐอเมริกา (Hawaii)
๑,๒๙๑,๐๐๐
๙๕๕,๐๐๐
๗๐๓,๐๐๐
๑๖๖,๐๐๐
๖๕,๓๕๙
๓๕,๘๐๐
๔,๐๐๐
ปี พ.ศ.
เนื้อที่เพาะปลูก (ไร่)
ผลิตผล (ตัน)
๒๕๐๗
๒๕๐๘
๒๕๐๙
๒๕๑๐
๒๕๑๑
๔๔,๒๗๖
๕๓,๒๙๕
๖๗,๖๖๑
๗๕,๕๓๙
๗๙,๙๘๕
๓๕,๕๕๘
๔๘,๙๐๕
๕๗,๓๕๘
๖๓,๒๑๒
๖๕,๓๕๙
ผลผลิตหัวเผือกสดประมาณ ๑-๔ ตันต่อไร่ราคาขายส่งประมาณกิโลกรัมละ ๔.๕๐- ๕.๐๐ บาท
ราคาขายปลีกประมาณกิโลกรัมละ ๕.๐๐-๖.๐๐ บาท
เผือกมีชื่อภาษาอังกฤษว่า ทาโร (Taro)นอกจากชื่อนี้ยังมีชื่ออื่นอีก คือโอลด์โคโคแยม (Old Cocoyam) แดเชน หรือ แดชีน (Dashen หรือ Dasheen) และ เอดโด (Eddo หรือ Eddoe) เผือกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียและแถบมหาสมุทรแปซิฟิก เผือก
ตารางแสดงเนื้อที่ปลูกและผลิตผลเผือก ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ แยกเป็นรายภาค
ภาค
พื้นที่ปลูก (ไร่)
ผลิตผล (ตัน)
กลางเหนือ
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ใต้
๔๓,๗๙๙
๔,๕๑๙
๑๕,๐๘๑
๑๖,๕๘๖
๓๖,๕๖๑
๒,๙๔๗
๑๑,๓๒๔
๑๔,๕๒๕
รวมทั้งประเทศ
๗๙,๙๘๕
๖๕,๓๕๘
เป็นอาหารหลักของชาวนิวกีนี เดิมที่เดียวเผือกเป็นพืชป่า ต่อมามนุษย์จึงนำเอาเผือกมาปลูกเพื่อใช้รับประทาน คนไทยรู้จักรับประทานเผือกมานานแล้วประเทศไทยในปัจจุบันมีการปลูกเผือกในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ มีการปลูกเผือกมากที่สุดในจังหวัดในภาคกลาง ซึ่งมีเนื้อที่ปลูกมากกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ปลูกเผือกทั้งหมดของประเทศ จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ฃ ชัยนาท สมุทรสาคร รองลงไป ได้แก่ ภาคใต้ ปลูกมากในจังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี ชุมพร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกมากในจังหวัดบุรีรัมย์ มหาสารคาม ส่วนภาคเหนือปลูกเผือกน้อยกว่าภาคอื่นๆ ปลูกมากในจังหวัดน่านจังหวัดที่ปลูกเผือกมากที่สุดของประเทศได้ แก่จังหวัดราชบุรีมีเนื้อที่ปลูกปีละประมาณ ๑๓,๒๓๘ไร่ ผลิตผลปีละประมาณ ๑๓,๒๓๘ ตัน (สถิติปีพ.ศ. ๒๕๑๑)
ตารางแสดงจังหวัดที่ปลูกเผือกมาก ๑๐ จังหวัด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑
ลำดับ
จังหวัด
เนื้อที่ปลูก (ไร่)
ผลิตผล (ตัน)
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
ประจวบคีรีขันธ์
สงขลา
ชัยนาท
บุรีรัมย์
สุราษฎร์ธานี
สมุทรสาคร
มหาสารคาม
ชุมพร
น่าน
๑๓,๒๓๘
๗,๘๙๐
๔,๕๑๓
๓,๐๔๐
๒,๗๘๐
๒,๔๖๙
๒,๔๑๘
๒,๒๕๐
๒,๒๓๓
๒,๐๑๙
๑๓,๒๓๘
๕,๑๒๘
๓,๒๐๓
๑,๕๒๐
๓,๓๐๘
๓,๒๕๑
๒,๑๗๖
๑,๐๒๖
๒,๕๖๐
๕๙๗
รวมทั้งประเทศ
๗๕,๕๓๒
๖๓,๒๑๒