โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ
โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ, โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ หมายถึง, โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ คือ, โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ ความหมาย, โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ คืออะไร
เป็นโรคที่เกิดจากการเกิดฟองก๊าซในเลือดหรือในเนื้อเยื่อ เมื่อมีการลดความกดดันไม่เพียงพอ หรือไม่ลดความกดดันเลยหลังการดำน้ำลึกมากกว่า ๓๐ ฟุตน้ำทะเล และดำเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ปริมาณของก๊าซเฉื่อย (ยกเว้นก๊าซฮีเลียม) ที่ละลายอยู่ในเนื้อเยื่อและในเลือดขณะนั้นมีมากเกินกว่าปริมาณปกติทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นฟองอากาศกระจายไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะการดำน้ำที่ใช้อุปกรณ์การหายใจใต้น้ำ และขวดอากาศที่มีก๊าซไนโตรเจนผสมอยู่ด้วย เมื่อก๊าซไนโตรเจนมีปริมาณมากกว่าก๊าซชนิดอื่นในอากาศผสม จึงละลายในเลือดและเนื้อเยื่อร่างกายในปริมาณมาก ขณะดำน้ำขึ้นไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในร่างกายจะถูกกำจัดออกมา ให้ได้สมดุลกับความกดดันที่ลดลงภายนอกโดยวิธีหายใจออกมาถ้ามีปริมาณเล็กน้อย ร่างกายสามารถกำจัดได้หมด แต่ถ้ามีการลอยตัวขึ้นเร็ว โดยไม่ได้หยุดลดความกดในน้ำเป็นระยะตามตารางลดความกดเพื่อให้ร่างกายมีเวลาขับไนโตรเจนออกมา หรือมีการขจัดก๊าซออกจากร่างกายช้าผิดปกติระหว่างการลดความกด จะทำให้ไม่สามารถขับไนโตรเจนที่ละลายอยู่ออกทางปอดได้ทัน จึงเหลือปริมาณของก๊าซไนโตรเจนอยู่ในภาวะเกินความอิ่มตัวเมื่อความดันอากาศลดลง ไนโตรเจนส่วนนี้จะกลายสภาพเป็นฟองอากาศ ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายทั้งส่วนที่เป็นของแข็งหรือของเหลว เช่น เกิดฟองอากาศที่กล้ามเนื้อข้อต่อจะมีอาการปวด ถ้าเข้าสู่กระแสเลือดไปอุดเส้นเลือดที่ไขสันหลังหรือสมองจะทำให้สลบ หรือเป็นอัมพาต
อาการและอาการแสดง แบ่งเป็น ๒ ชนิด เพื่อสะดวกในการรักษา
ชนิดที่ ๑ อาการมักเริ่มภายใน ๑ ชม. หลังขึ้นจากน้ำ โดยรู้สึกเพลียกว่าปกติหลังจากดำน้ำ มีผื่นคันเป็นผื่นนูนตรงจุดกลางสีม่วงคล้ำปวดแสบปวดร้อน มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ เนื่องจากมีฟองอากาศแทรกตามเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ ทำให้เนื้อเยื่อเกิดความบอบช้ำและฉีกขาดลักษณะปวดลึกๆ และรบกวน ไม่ปวดมาก มีความรู้สึกวูบวาบ หรือมีอาการชาตามผิวหนัง ขา เท้า มีอาการมึนงง อาการที่พบมากที่สุด คือ อาการปวดข้อไหล่
ชนิดที่ ๒ อาการรุนแรงกว่าชนิดที่ ๑ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ในระยะนี้ มีการเกิดฟองอากาศจำนวนมากในอวัยวะสำคัญ ดังนี้
- ไขสันหลังและเส้นเลือดรอบๆ ฟองไนโตรเจนจะอุดกั้นเส้นเลือดดำประมาณ ๘๐%
อาการ เสียการรับรู้ อัมพาตครึ่งตัวปัสสาวะไม่ออก
- สมอง พบได้น้อย เกิดจากปริมาณฟองอากาศมาก แล้วหลุดจากรอยรั่วหรือรอยฉีกขาดของถุงลมและปอดเข้าสู่เนื้อเยื่อสมอง
อาการ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะข้างเดียวคล้ายไมเกรน หมดสติ อัมพาตครึ่งซีก
- ปอด พบน้อย เกิดเนื่องจากปริมาณฟองอากาศมากเกินไปจนปอดกรองไม่ไหว หรือฟองอากาศอุดเส้นเลือดเล็กๆ ที่ถุงลมปอด ทำให้ขัดขวางการแลกเปลี่ยนก๊าซ จึงเกิดอาการนี้ขึ้นมักเสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาล
อาการ เจ็บหน้าอก ไอ เหนื่อย หายใจไม่ออก มีเสมหะปนเลือด ช็อก
- หูชั้นใน มีอาการหูหนวก มีเสียงดังหึ่งๆ ภายในหู เวียนศีรษะ ตากระตุก
- กล้ามเนื้อและข้อต่อ มีอาการปวดแนวสันหลังหรือสะโพก ปวดร้าวกลางหลังทั้งสองข้างลำตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ระยะการเกิดอาการ ๕๐% เกิดอาการครึ่งชั่วโมงหลังขึ้นจากน้ำ ๘๕% เกิดอาการภายใน ๖๐ นาที ๙๕% เกิดอาการภายใน ๓ ชม. ๑% เกิดหลัง ๖ ชม. หลังขึ้นจากน้ำ
ปัจจัยเสริม ปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดอาการนี้ง่ายขึ้น ได้แก่ เพศหญิง ความอ้วน อายุมาก ทำงานหนักเกินไป การดื่มเหล้า การอดนอน การบาดเจ็บในส่วนต่างๆ ของร่างกาย การขึ้นที่สูงหลังการดำน้ำลึก และการดำน้ำซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้ง
การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติตามกฎของการดำน้ำอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสริมต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว
โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ, โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ หมายถึง, โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ คือ, โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ ความหมาย, โรคลดความกด หรือโรคเคซอง หรือ โรคน้ำหีบ หรือโรคน้ำหนีบ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!