วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย
วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย, วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย หมายถึง, วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย คือ, วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ความหมาย, วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย คืออะไร
วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ก้าวไปพร้อมๆ กับความเจริญและวิวัฒนาการทางด้านต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ในกรณีที่วัฒนธรรมของสังคมใดสังคมหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระบบสังคม งานจิตรกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมก็ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมเช่นเดียวกัน
แม้ว่าส่วนหนึ่งของการแสดงออกของงานจิตรกรรมร่วมสมัยในประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากความเคลื่อนไหวของศิลปะซึ่งเป็นสากล แต่ก็ยังมีแนวความคิดที่เป็นอิสระ ไม่มีความผูกพันต่อสิ่งใด โดยเฉพาะจิตรกรมีโอกาสแสดงแนวความคิดสร้างสรรค์ในแนวใหม่ มีการทดลองเทคนิควิธีการที่เหมาะสมกับแนวความคิดของแต่ละบุคคล ในบางกรณีงานจิตรกรรมร่วมสมัยอาจอาศัยเค้าโครงของแนวความคิดด้านจิตรกรรมไทยแบบประเพณีมาสร้างสรรค์แนวทางใหม่ของจิตรกรรมร่วมสมัยด้วยก็ได้ การศึกษาศิลปะเป็นสิ่งควบคู่มากับความเจริญและวิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย
เนื่องจากงานจิตรกรรมร่วมสมัยมิได้มีแนวทางตามแบบตระกูลช่างเขียนแบบเดียวกับงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี เช่น ตระกูลช่างนนทบุรี ตระกูลช่างเพชรบุรี ซึ่งสร้างสรรค์งานตามการวางโครงการและแนวความคิดของครูช่าง แต่จิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น จิตรกรผลิตงานสร้างสรรค์ตามแนวทางของตน ดังนั้น การศึกษาหาความรู้ และวิวัฒนาการด้านงานศิลปะในลักษณะสากลและวิเคราะห์วิจารณ์ลักษณะงานจึงเป็นสิ่งจำเป็น
การจัดตั้งสถาบันการสอนทางศิลปะในประเทศไทยเริ่มในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยเริ่มมีการตั้ง "โรงเรียนเพาะช่าง" ขึ้นในพ.ศ. ๒๔๕๖ เพื่อจัดการและให้การศึกษาในวิชาการด้านศิลปะหลายสาขา และตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม (โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง) ใน พ.ศ. ๒๔๗๖ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรใน พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยมีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Corrado Feroci, ค.ศ. ๑๘๙๒-๑๙๖๒) ชาวอิตาลี เป็นผู้วางรากฐานในการศึกษาเกี่ยวกับวิชาช่างสาขาจิตรกรรมและประติมากรรมทั้งในแบบของศิลปะสากลและศิลปะแบบประเพณีไทย มีจุดประสงค์เพื่อผลิตศิลปินผู้ที่ทำงานศิลปะอย่างแท้จริง
วิวัฒนาการของจิตรกรรมร่วมสมัยของไทยเมื่อพิจารณาช่วงระยะเวลาของการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ ประมาณพ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับจิตรกรรมร่วมสมัยของชาติอื่นๆ โดยเฉพาะชาติในแถบเอเชียด้วยกัน ลักษณะการสร้างสรรค์ไม่จำกัดกรรมวิธีและเทคนิค มีทั้งสีน้ำ สีฝุ่น สีชอล์ก (chalk) สีน้ำมัน สีอะครีลิก (acrylic) และเทคนิคประสมอื่นๆ ด้วย ศิลปินแต่ละบุคคลต่างก็มีวิวัฒนาการในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมของตนเอง
ในการพัฒนางานจิตรกรรมร่วมสมัยนั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ การแสดงงานสร้างสรรค์และการวิจารณ์งานเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาการสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล การส่งเสริมคุณค่าของงานจิตรกรรมร่วมสมัยให้ได้มาตรฐาน จำเป็นต้องมีการแสดงผลงานต่อสาธารณชน ดังนั้น สถานที่แสดงงาน หรือหอศิลป์มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อวิวัฒนาการของงานจิตรกรรมร่วมสมัย รวมทั้งการเผยแพร่และการจัดประกวดผลงานจิตรกรรมก็เช่นเดียวกัน เพราะทำให้ได้เห็นผลงานในแนวความคิดต่างๆ เปรียบเทียบกัน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตงานสร้างสรรค์มีพลังในการสร้างสรรค์ต่อเนื่องกัน และมีความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น
วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย, วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย หมายถึง, วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย คือ, วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ความหมาย, วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!