
สมอง น้ำหนักของสมองจะลดลง จากการที่เซลล์ประสาทลดจำนวนลง ทำให้ขนาดของสมองเหี่ยวลง ช่องว่างระหว่างกลีบสมองถ่างกว้างออก สมองบางส่วน เช่น ส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความคิดอ่าน สติปัญญาที่กลีบสมองส่วนหน้า หรือส่วนซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับความจำ จะฝ่อตัวมากกว่าส่วนอื่น
กล้ามเนื้อ การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อช้าลง เช่น ความเร็วของการเขียนหนังสือ การกลัดกระดุมเสื้อ หรือรูดซิป
การมองเห็น เปลือกตา บนจะตกลงเล็กน้อย น้ำตาใน เบ้าตามากขึ้นเนื่องจากการอุดตันของท่อทางเดินน้ำตา หรืออาการเคืองตาเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงจ้า แก้วตาหรือเลนส์จะขุ่นจากโปรตีนที่เสื่อมสภาพที่เรียกว่า ต้อกระจก ทำให้แสงผ่านเลนส์ลดลง นอกจากนั้น การมองเห็นสีจะลดลง ผู้สูงอายุจึงมักชอบสีที่สดสว่าง
การได้ยิน ประสาทหูชั้นในเสื่อม ทำให้การได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงเสื่อมลง จึงอาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อให้การได้ยินชัดเจนขึ้น
การทรงตัว เส้นประสาทที่รับผิดชอบการทรงตัวอยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่รับผิดชอบการได้ยิน เวลาเปลี่ยนท่าทาง และทิศทางของศีรษะอย่างรวดเร็ว ทำให้วิงเวียนศีรษะรู้สึกว่าบ้านหมุน โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนท่าทาง และทิศทางของศีรษะอย่างรวดเร็ว
สติปัญญา ความจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นจะเสื่อมลง ต้องใช้เวลานานขึ้นในการนึกทบทวน ขณะเดียวกันจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานมาแล้วได้ดีกว่าความสามารถในการแก้ปัญหาใหม่ๆลดลง ส่วนความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆก็จะลดลง เมื่อมีอายุ ๗๐ ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุจะขาดความคิดริเริ่ม และค่อนข้างระมัดระวังใน การตัดสินใจ ปฏิกิริยาของร่างกายในการตอบสนองทันทีต่อสิ่งเร้าลดลง
การนอน ระยะเวลาที่หลับสนิทสั้นลง ตื่นกลางดึกบ่อยๆ จึงมักรู้สึกว่าตัวเองนอนหลับเคลิ้ม เหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม ทำให้พึ่งยานอนหลับมากเกินความจำเป็น
ระบบประสาทอัตโนมัติ มีอาการหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืนหรือนั่งเร็วๆ มีอาการปัสสาวะราด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และสมรรถภาพในการออกกำลังกายลดลง