ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา, การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา หมายถึง, การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา คือ, การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา ความหมาย, การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา

          เครื่องมือธรรมดาที่ใช้ในการโค่นล้มไม้ในบ้านเรานั้น  ประกอบด้วยเลื่อยตัด  ขวาน และลิ่ม โดยปกติการโค่นล้มไม้ เพื่อทำเป็นสินค้าหรือล้มไม้เป็นจำนวนมากๆ นั้น จะจัดคนงานออกเป็นชุดๆ คนงานชุดหนึ่งประมาณ ๒-๓ คน ที่ต้องมีคนงานเป็นชุดนี้ เพราะการใช้เลื่อยตัดไม้จะต้องใช้คนอย่างน้อย  ๒ คน เมื่อได้ทราบว่าจะล้มต้นใดได้แล้ว คนงานจะเริ่มใช้ขวานฟันที่โคนต้นไม้ทางด้านที่ต้องการ ให้ต้นไม้ล้มก่อน  เช่น ต้องการให้ต้นไม้ล้มลงทางทิศตะวันออก ก็ใช้ขวานฟันตรงโคนต้นไม้ทางด้านทิศตะวันออก ให้ขวานกินเนื้อไม้เป็นรูปสามเหลี่ยมลึกเข้าไปประมาณ ๑ ๓   ของลำต้น การใช้ขวานฟันไม้ให้กินเนื้อไม้เป็นรูปสามเหลี่ยมเช่นนี้  เรียกกันว่า "บากหน้า" ต่อจากนั้นจึงใช้เลื่อยตัดเลื่อยต้นไม้ทางด้านตรงข้ามให้มีระดับเหนือรอยลึกของบากหน้าประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร  เมื่อรอยเลื่อยเข้าถึงระยะใกล้ๆกับรอยขวานที่บากหน้าไว้  ต้นไม้ก็จะล้มไปในทางที่บากหน้าไว้ การใช้เลื่อยตัดต้นไม้ครั้งหลังนี้ เรียกกันว่า "ลัดหลัง" ในระยะนี้ อาจจะใช้ลิ่มช่วยเพื่อให้ไม้ล้มเร็วขึ้น โดยปกติการล้มไม้เพื่อการค้าจะต้องเลือกทิศทางที่ไม้ล้มเพื่อไม่ไห้ต้นไม้แตกเสียหาย  พยายามหลีกเลี่ยงการล้มไม้ทับก้อนหิน จอมปลวก หรือล้มไม้ข้ามห้วยข้ามลำธาร ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ไม้ที่ล้มแตกเสียหายได้ง่าย นอกจากนั้น ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ตัดต้นไม้ จะต้องระวังมิให้ไม้ที่ล้มนั้นไปทับต้นไม้มีค่าอื่นๆ ด้วย รอยตัดของต้นไปจะต้องพยายามให้ชิดดินให้มากที่สุด เพื่อให้ได้เนื้อไม้ซึ่งจะใช้ทำเป็นซุงได้เต็มที่ สำหรับต้นไม้บางชนิดที่มีพูพอนที่โคนต้น  การล้มด้วยเลื่อยขวานธรรมดา อาจจะต้องสร้างนั่งร้านขึ้นไปรอบๆ ต้น ให้สูงพ้นพูพอน แล้วจึงยืนตัดบนนั่งร้านนั้น การทอนไม้ซึ่งล้มลงแล้วให้เป็นท่อนซุง นิยมใช้เลื่อยตัดมากกว่าการใช้ขวาน เพราะการใช้ขวานทำให้เสียเนื้อไม้มาก การทอนไม้ด้วยเลื่อยตัดมักใช้ลิ่มช่วย เพื่อให้ชักเลื่อยได้สะดวก  เนื้อไม้ไม่บีบใบเลื่อย
          ในการรับจ้างตัดต้นไม้ ผู้รับจ้างมักจะเรียกร้องค่าจ้างเป็น "กำ" แล้วแต่ว่าจะตกลงกันกำละเท่าใด กำหนึ่งมีความยาวประมาณ  ๒๑ เซนติเมตร (๘ นิ้วครึ่ง) โดยวัดจากความโตของไม้ที่ตัด เช่น ไม้ต้นหนึ่งมีความโตวัดรอบตรงกลางต้นได้ ๒๑๐ เซนติเมตร ก็หมายความว่า ไม้ต้นนั้นมีความโต ๑๐ กำ และไม้ที่ล้มนั้นเมื่อทอนเป็นท่อนซุงแล้วผู้รับจ้างจะคิดค่าจ้างตามจำนวนกำของแต่ละท่อน เพราะผู้รับจ้างจะต้องเสียแรงงานทุกครั้งที่ทอนซุง   ยิ่งทอนออกเป็นซุงหลายท่อนก็ยิ่งเสียแรงงานมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการคิดค่าจ้างตัดทอนเป็นลูกบาศก์เมตรบ้างแล้ว

การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา, การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา หมายถึง, การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา คือ, การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา ความหมาย, การล้มไม้ด้วยเครื่องมือธรรมดา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu