ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย, ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย หมายถึง, ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย คือ, ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย ความหมาย, ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย

           ประเทศไทยมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกน้ำมันหลายสิบชนิดแต่จะกล่าวถึงเฉพาะพืชที่มีความสำคัญในด้านการเกษตร เท่านั้น


          คนไทยคุ้นเคยกับมะพร้าวมาเป็นเวลานานและใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของมะพร้าว เช่นผลอ่อนใช้รับประทานสด (น้ำและเนื้อ) เนื้อมะพร้าวจากผลแก่นำไปปรุงอาหารและขนมหลาย ชนิด และใช้สกัดน้ำมัน กากที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์น้ำมันมะพร้าวใช้ประกอบอาหาร เนยเทียม และสบู่ เปลือกมะพร้าวนำไปแยกเอาเส้นใยใช้ทำเชือก วัสดุ ทำเบาะและที่นอน ขุยมะพร้าวใช้ทำวัสดุเพาะชำต้นไม้ กะลาใช้ทำภาชนะตักตวงของเหลว(กระจ่า กระบวย ฯลฯ) ทำกระดุม เครื่องประดับเครื่องดนตรี (ซออู้) ทำเชื้อเพลิง และถ่านกัมมันต์(มีคุณสมบัติในการดูดซับสูง) ใบมะพร้าวทั้งอ่อนและแก่ ตลอดจนก้านใบใช้มุงหลังคาเครื่องจักสาน ไม้กวาดทางมะพร้าว ใช้ทำรั้วและเชื้อเพลิง ลำต้นแก่ใช้ในการก่อสร้างประดิษฐ์เครื่องเรือน ยอดอ่อนใช้เป็นอาหาร จั่น
(ช่อดอก) มีน้ำหวานรองมาดื่มเป็นน้ำผลไม้หรือทำน้ำตาล หมักทำเหล้าและน้ำส้ม รากใช้ทำยา สีย้อมผ้า และเชื้อเพลิง แต่อย่างไรก็ตามการปลูกมะพร้าวโดยทั่วไปก็เพื่อนำเอาเนื้อมะพร้าวไปประกอบอาหารและสกัดเอาน้ำมันเช่นเดียวกับปาล์ม
           ไม่มีหลักฐานแน่ชัดระบุถึงถิ่นกำเนิดของมะพร้าว แต่ยอมรับกันว่าอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย หรือหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ต่อมา จึงแพร่กระจายออกไปทั่วทุกภูมิภาคในเขตร้อนและกึ่งร้อน โดยอาจจะกระจาย (ลอยน้ำ) ไปเอง
และคนนำเอาไปปลูก มะพร้าวอยู่ในวงศ์ปาล์ม(Family Palmaceae) มะพร้าวที่ใช้บริโภคมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera  (Linn.)
          มีการปลูกมะพร้าวในทุกภาคทั่วประเทศไทยแต่สวนขนาดใหญ่อยู่ในภาคใต้และจังหวัดชายทะเลรอบอ่าวไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ มีพื้นที่ปลูก มะพร้าวประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ ไร่  ได้ผลิตผล๑,๓๐๐,๐๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่าที่เกษตรกรได้รับ
๒,๗๐๐ ล้านบาท ใช้บริโภคในรูปต่าง ๆ ประมาณ๙๐๐,๐๐๐ ตัน ใช้สกัดน้ำมัน ๔๐๐,๐๐๐ ตันและส่งเป็นสินค้าออก ๓,๐๐๐ ตัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด ขยายออกไปอีกไม่ได้ ดังนั้นจึงมุ่งในทางเพิ่มผลิตผลต่อพื้นที่ให้สูงขึ้น โดยเปลี่ยนสวนมะพร้าวเก่าที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองมีอายุ มากและให้ผลิตผลต่ำเป็นสวนปลูกใหม่ ใช้พันธุ์มะพร้าวลูกผสมที่ให้ผลิตผลสูง และเพิ่มรายได้
ให้แก่เกษตรกรโดยปลูกพืชแซม เช่น โกโก้ พริกไทย สมุนไพร หรือเลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ หรือโคนม ในสวนมะพร้าว
          มะพร้าวเป็นพืชปลูกกันมาเป็นเวลานานทั่วเขตร้อนของโลก จึงมีความแตกต่างกันในรูปทรง และลักษณะอื่น ๆ อย่างหลากหลาย มีนักพฤกษศาสตร์หลายท่านพยายามจำแนกพันธุ์มะพร้าวที่ปลูกกันออกเป็นหมวดหมู่ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป การจำแนกพันธุ์มะพร้าวในประเทศไทยอาศัยทั้งความสูง และอายุการตกผล

          การแบ่งพันธุ์มะพร้าวโดยอาศัยความสูงออกเป็น ๒ พันธุ์ คือ

๑. ต้นเตี้ย แยกออกตามสีของผล ได้แก่หมูสีเขียว หมูสีเหลือง นกคุ่ม น้ำหอม มะพร้าวไฟนาฬิเก เป็นต้น
๒. ต้นสูง ได้แก่ พันธุ์มะพร้าวใหญ่มะพร้าวกลาง ร้อยทะลาย ปากจก  (ผลยาว)กะโหลก  (ใหญ่พิเศษ) เปลือกหวาน และ
มะแพร้ว เป็นต้น

          ส่วนการจำแนกโดยอาศัยอายุการติดผลแบ่งออกเป็น ๓ พันธุ์ คือ
๑. มะพร้าวพันธุ์เบา โดยออกผลหลังจากปลูกได้ ๓ - ๔ ปี
๒. มะพร้าวกลาง ออกผลหลังจากปลูกได้ ๕ - ๖ ปี
๓. มะพร้าวหนัก ออกผลหลังจากปลูกได้๗ - ๘ ปี
          มะพร้าวแต่ละประเภท ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องขนาดและทรงต้น จำนวนและลักษณะของใบ ขนาดรูปร่างและสีของผล ในระยะหลังมีการนำเชื้อพันธุ์มะพร้าวจากทวีปแอฟริกา อเมริกากลาง และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ามาเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อีกเป็นจำนวนมากทำให้การจำแนกประเภทและพันธุ์มะพร้าวยุ่งยากยิ่งขึ้น
          กรมวิชาการเกษตรแนะนำพันธุ์มะพร้าวอยู่๒ พันธุ์ คือ พันธุ์ลูกผสมสวี 1 และพันธุ์ลูกผสมสวี 2
          มะพร้าวเจริญเติบโตและติดผลได้ดีในแหล่งที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตรและตกอย่างสม่ำเสมอตลอดปี ถ้ามีช่วงฝนแล้งนานกว่า ๓ เดือน การออกดอกและติดผลลดต่ำลง มะพร้าวชอบดินร่วนปนทราย หรือดินตะกอนตามบริเวณปากแม่น้ำซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง และอุ้มน้ำได้ดี ในที่ลุ่มซึ่งมีน้ำ    ท่วมขังควรจะยกแปลงปลูกให้สูงพ้นระดับน้ำสำหรับดินดอนต้องมีหน้าดินลึกกว่า ๑ เมตร

          การเตรียมพื้นที่ขนาดใหญ่ ควรปรับหน้าดินให้เรียบ มีการตัดแบ่งแปลงและทำถนนภายในสวน พื้นที่ที่ลาดชันมากควรปรับเป็นขั้นบันได และปลูกพืชคลุมดินป้องกันการชะล้างและพังทะลายของดิน จัดเตรียมหลุมปลูกไว้ล่วงหน้าโดยวางแนวเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านเท่า สำหรับมะพร้าวเล็กระยะระหว่างต้นห่างกัน ๖ - ๗ เมตร (ในหนึ่งไร่จะปลูกได้ ๓๗ - ๕๑
ต้น) ส่วนมะพร้าวใหญ่ขยายระยะระหว่างต้นเป็น๘ - ๙ เมตร (ในหนึ่งไร่ปลูกได้ ๒๒ - ๒๕ ต้น)ขุดหลุมปลูกขนาดกว้าง ๑ x ยาว ๑ x  ลึก ๑เมตร นำเศษพืช ปุ๋ยคอก และหินฟอสเฟต (อัตราหลุมละครึ่งกิโลกรัม)  คลุกดินรองก้นหลุม
          ควรเพาะผลมะพร้าวให้งอกไว้ล่วงหน้าเป็นเวลา ๘ เดือน - ๑ ปี (มีใบ ๓ - ๔ ใบ)และควรเริ่มปลูกในต้นหรือกลางฤดูฝน สำหรับที่ดอนให้ขุดหลุมวางหน่อมะพร้าวให้เสมอหรือต่ำกว่าระดับดิน แต่ในที่ลุ่มให้วางหน่อมะพร้าวเสมอหรือสูงกว่าระดับดิน จัดหน่อให้หันไปในทิศทางเดียวกัน ระยะแรกอาจใช้น้ำช่วยเมื่อมี ช่วงฝนแล้งนาน ไถพรวนหน้าดินในระหว่าง ต้น
มะพร้าวเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันกำจัดวัชพืชและไฟป่า ปลูกพืชคลุมหน้าดิน ออกสำรวจการระบาดทำลายของโรคและแมลงศัตรูมะพร้าวและ  ป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
          ต้นมะพร้าวจะเติบโตขยายตัวทางด้านข้างในระยะ ๓ ปีแรก หลังจากนั้นลำต้นจะยืดตัวทาง ด้านสูง เริ่มออกดอกติดจั่นและติดผล (ตามอายุของพันธุ์) ติดต่อกันไปเป็นเวลานานถึง๘๐ - ๑๐๐ ปี

           การเจริญเติบโตของต้นมะพร้าวและผลิตผลขึ้นอยู่กับความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดินเมื่อมะพร้าวติดผลแล้วควรให้ปุ๋ยเกรด 13-13-21หรือ 12-12-17-2 (แมกนีเซียม) ในจำนวนตามคำแนะนำ โดยทั่วไปมะพร้าวจะแตกใบใหม่ออก
มาปีละ ๑๒ - ๑๕ ใบ และที่มุมใบจะมีช่อดอกหรือจั่นแทงออกมา โดยเฉลี่ยแล้วมะพร้าวให้ผล๕๐๐ - ๘๐๐ ผล/ไร่/ปี แต่ถ้ามีการบำรุงรักษาที่    ดีอาจให้ผลสูง ๘๐๐-๑,๐๐๐ ผล/ไร่/ปี
   

ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย, ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย หมายถึง, ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย คือ, ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย ความหมาย, ชนิดของพืชน้ำมันที่เพาะปลูกในประเทศไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 19

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu