ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย, เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย หมายถึง, เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย คือ, เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย ความหมาย, เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย

          เมืองหริภุญชัยหรือลัมภูญนคร ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า พระฤาษีวาสุเทพและพระฤาษีสุกกทันตะเป็นผู้สร้างเมื่อราว พ.ศ. ๑๒๐๐ และมีพระนางจามเทวีทรงเป็นกษัตรีองค์แรก
          รูปแบบและลวดลายของเศษเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในวงการโบราณคดี เรียกว่า"เครื่องถ้วยหริภุญชัย" ซึ่งการกำหนดอายุของนักวิชาการยังไม่เป็นมติเดียวกัน บางท่านกำหนดว่ามีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๙ โดยให้เหตุผลว่ารูปแบบของศิลปกรรมที่เก่าที่สุดเป็นอิทธิพลศิลปะอินเดียราชวงศ์ปาละ และเมืองหริภุญชัยหมดความเป็นเอกราชเมื่อพระเจ้ามังรายจากนครเงินยางเชียงแสนมาตีได้ใน พ.ศ. ๑๘๓๖ก่อนที่จะเสด็จไปสร้างเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.๑๘๓๙ ส่วนนักวิชาการบางท่านได้กำหนดอายุของศิลปะหริภุญชัยเก่าขึ้นไปอีกว่า น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙ เพราะจากพงศาวดารเมืองหริภุญชัย ชินกาลมาลีปกรณ์ และจามเทวีวงศ์ได้บันทึกถึงศักราชของการสร้างเมืองตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ เมื่อตรวจสอบแล้วน่าที่จะอยู่ในช่วงดังกล่าว
          สำหรับผู้เขียนเข้าใจว่า การกำหนดอายุศิลปะหริภุญชัยระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙น่าจะถูกต้อง เพราะจากการศึกษารูปแบบศิลปกรรมยุคแรกๆ ที่พบในเมืองหริภุญชัยนี้จะเป็นประติมากรรมที่แสดงอิทธิพลของศิลปะอินเดียราชวงศ์คุปตะ และศิลปะทวารวดีจากภาคกลางซึ่งเข้าใจว่าเป็นศิลปะทวารวดีจากเมืองละโว้หรือลวปุระ ที่นิยมอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔และรับศิลปะอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ก่อนที่เมืองละโว้จะรับรูปแบบศิลปะขอมตามความนิยมในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานแบบวัชรยานในพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
          การศึกษารูปแบบของเครื่องถ้วยหริภุญชัยได้พบว่า สามารถแบ่งรูปแบบได้ ๒ รูปแบบ คือ
          รูปแบบที่ ๑  เป็นเครื่องถ้วยหรือเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบเรียบๆ และตกแต่งด้วยการเขียนเส้นสีแดงที่รอบคอและไหล่ของภาชนะ เช่นหม้อ พาน ตะคัน เป็นต้น ซึ่งลักษณะของภาชนะและการตกแต่งด้วยเส้นสีแดงนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องปั้นดินเผาทวารวดีของภาคกลาง
         รูปแบบที่ ๒  เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีการตกแต่งมากขึ้นทั้งลักษณะของตัวภาชนะเองและการประดับลวดลาย เช่น หม้ออัฐิ ตัวหม้อจะมีการตกแต่ง เช่น มีขอบหลายชั้น ตัวหม้อแบ่งเป็นตอนๆ โดยใช้แนวเส้นคอดหรือสันของหม้อเป็นเส้นแบ่ง ฝาหม้อก็มีลักษณะเป็นชั้นๆ เรียวขึ้นไปจนถึงยอดซึ่งเป็นรูปคล้ายดอกบัว ส่วนลวดลายที่ประดับรอบไหล่และคอของภาชนะมีทั้งลายขุดและลายกดประทับ ลักษณะของหม้ออัฐิและภาชนะบางอย่างในแบบที่ ๒ นี้ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องปั้นดินเผาที่พบที่เมืองเบกทาโน ในรัฐศรีเกษตรโบราณของพม่ามาก
         อย่างไรก็ดี เครื่องปั้นดินเผาหริภุญชัยนี้ได้มีการพัฒนาเป็นลักษณะของตนเองด้วยเช่นกันดังจะเห็นได้จากรูปแบบของหม้อน้ำที่มีรูปกลมเชิงกว้าง หรือรูปแบบของคนโทซึ่งมีรูปกลมคอเรียวสูง และตกแต่งด้วยการเขียนสีแดง ทั้งเป็นเส้นธรรมดาที่ส่วนคอ ไหล่ และตัวคนโท และบางใบก็เขียนเป็นลวดลายที่ตัวคนโทอย่างสวยงามจนอาจกล่าวได้ว่าคนโทนี้เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของศิลปะหริภุญชัยและน่าจะเป็นแบบอย่างให้กับคนโทหรือน้ำต้นของเมืองเชียงใหม่ในสมัยต่อมาด้วย การใช้แม่พิมพ์ก็มีการทำเช่นกันโดยเฉพาะกับการสร้างสรรค์งานปั้น เช่น การทำพระพุทธรูปดินเผาอันลือชื่อว่าเป็นยอดแห่งความงามของสิ่งที่ทำจากดิน และยังพบเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ทำด้วยแม่พิมพ์ คือ แวเหล็กในที่ใช้ในการกรอด้าย รวมถึงแม่พิมพ์ที่ใช้สร้างพระพิมพ์ด้วย
         ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเห็นด้วยกับการกำหนดอายุของเมืองหริภุญชัยในสมัยพระนางจามเทวีปฐมกษัตรี ผู้ซึ่งทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ (ลวปุระ) และทรงเป็นพระมเหสีแห่งเจ้าเมืองราม การกำหนดอายุศิลปกรรมหริภุญชัยตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นเอกราชว่า น่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙

เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย, เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย หมายถึง, เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย คือ, เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย ความหมาย, เครื่องปั้นดินเผาหริกุญชัย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu