ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒), ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒) หมายถึง, ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒) คือ, ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒) ความหมาย, ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒)

          วรรณคดีไทยเป็นงานศิลปะจากจินตนาการของผู้เขียน ที่สอดแทรกเรื่องราวของพรรณไม้ ที่เกี่ยวข้องในวิถีชีวิตของคนแต่ละยุคแต่ละสมัยไว้อย่างเหมาะสมกลมกลืน เมื่ออ่านวรรณคดีจึงได้เรียนรู้จึงการใช้พืชพรรณในชีวิตประจำวันตั้งแต่ใช้เป็นอาหาร ทำเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย ใช้ย้อมเสื้อผ้าแพรพรรณ ใช้แต่งหน้าและประทินผิวให้งดงาม ถือเป็นต้นแบบเครื่องสำอางของไทย นอกจากนั้น ในงานประพณีต่างๆ ยังนำดอกไม้หรือใบไม้มาประดิษฐ์และร้อยเป็นมาลัย จัดทำพานพุ่ม เพื่อใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกราบไหว้ผู้ที่เคารพ ซื่งงานฝีมือเหล่านี้แสดงถึงภูมิปัญญาในงานศิลปะของคนไทยที่มีคุณค่ายิ่งกว่านั้น วรรณคดียังแสดงถึงคติความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ ที่เป็นสื่อให้เกิดธรรมเนียมการใช้พันธุ์ไม้ที่เป็นมงคล และห้ามใช้พันธุ์ไม้ที่ไม้เป็นมงคล เป็นต้น

          วิถีชีวิตที่สงบและเรียบง่ายของคนไทยในอดีตจะแฝงไว้ด้วยภูมิปัญญา เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยคนไทยรู้จักการรักษาโดยใช้พืชสมุนไพร ซึ่งอาจมีอยู่ในครัวเรือน ในละแวกบ้าน หรือในป่าที่อุดมสมบูรณ์ และหลากหลายด้านพรรณไม้ความรู้เหล่านี้ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมายาวนานจนถึงปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า สมุนไพรที่เพิ่งจะมานิยมใช้นั้น มีอยู่หลายชนิดที่ปู่ย่าตายายได้   เคยใช้มาก่อนนี้แล้ว เนื่องจากความเกี่ยวข้องและผูกพันกับพรรณไม้ต่างๆ  ในชีวิตที่ผ่านไปในแต่ละวันนี้เอง จึงทำให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าของพรรณไม้ และช่วยกันทำนุบำรุงรักษาไว้ ดังนั้น  สิ่งแวดล้อมจึงมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งเรือกสวนไร่นา และแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นห้วย หนอง คลอง บึง ก็ล้วนแต่มีน้ำใสสะอาดและมีพรรณไม้น้ำเขียวชอุ่ม ทำให้เกิดทิวทัศน์ที่งดงามและน่าประทับใจ

          วรรณคดีมิได้กล่าวถึงแต่เฉพาะพรรณไม้ท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังกล่าวถึงพรรณไม้ต่างถิ่นนานาชนิดที่มีปลูกอยู่ในอุทยาน และตามบ้านเรือนในยุคนั้นๆ  ด้วย เช่น ยี่โถ ยี่เข่ง และดาวเรือง  เนื่องจากพรรณไม้มีหลากหลายชนิดเช่นนี้ การเรียกชื่อจึงพ้องกันอยู่มาก บางครั้งแต่ละท้องถิ่นก็เรียกชื่อต่างกันไปทั้งที่เป็นชนิดเดียวกัน และบางครั้งก็เรียกชื่อเดียวกันทั้งที่เป็นคนละชนิดกัน ดังนั้น การอ่านและวิเคราะห์เรื่องต้นไม้ในวรรณคดีจึงต้องใช้วิจารณญาณ หรือหลักฐานอื่นๆ ประกอบเพื่อความถูกต้อง และเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกขาดความเชื่อถือในวรรณคดี ซื่งเป็นผลงานศิลปะด้านภาษาที่มีคุณค่ายิ่งของไทย

ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒), ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒) หมายถึง, ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒) คือ, ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒) ความหมาย, ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu