ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จ. อุบลราชธานี

     15 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ศรีศักร วัลลิโภดม และ พรชัย สุจิตต์ แห่งภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่าได้ค้นพบ ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ขนาดยาวประมาณ 200 เมตร ที่หน้าผาริมแม่น้ำโขง อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี ต่อมาได้มีการสำรวจศึกษาเพิ่มเติมพบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์อายุกว่า 3,000 ปีกว่า 300 ภาพ นับเป็นกลุ่มภาพเขียนสีโบราณที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ลักษณะของภาพแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ภาพฝ่ามือ ภาพสัตว์ ภาพคน ภาพวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ และภาพรูปทรงเรขาคณิต ในอดีตชาวบ้านเชื่อว่าผาแต้มเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ต้องห้าม เป็นแหล่งอาศัยของภูตผีปีศาจ เรียกว่า "ภูผาแห่งความตาย” หลังจากคณะของ อ. ศรีศักร วัลลิโภดม มาสำรวจพบก็ได้มีผู้คนเดินทางมาศึกษาและเที่ยวชมมากขึ้น ในปีเดียวกันนั้นทางราชการจึงประกาศให้ผาแต้มและป่าภูโหล่นรวมถึงพื้นที่โดยรอบเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ และขึ้นทะเบียนผาแต้มเป็นโบราณสถานในปี 2525 แต่เนื่อง จากบริเวณผาแต้มอยู่ห่างจาก อช. แก่งตะนะ อีกทั้งมีพื้นที่กว้างใหญ่ กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงแยกผาแต้มและพื้นที่โดยรอบ จัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 มีเนื้อที่ประมาณ 12,500 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศ

พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จ. อุบลราชธานี, พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จ. อุบลราชธานี หมายถึง, พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จ. อุบลราชธานี คือ, พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จ. อุบลราชธานี ความหมาย, พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จ. อุบลราชธานี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

วันนี้ในอดีต : 08 พฤษภาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนพฤษภาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนพฤษภาคม

คำยอดฮิต

Sanook.commenu