สหภาพสากลไปรษณย์ (Universal Potal Union) หรือ UPU เป็นองค์การระหว่างประเทศ มีหน้าที่ประสานงานนโยบายด้านการไปรษณีย์ระหว่างประเทศมาชิก ซึ่งในแต่ละประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกตกร่วมกันในนโยบายจัดการไปรษณีย์ภัณฑ์ระหว่างประเทศ
ประวัติ
เมื่อครั้งก่อนที่จะมีสหภาพไปรษณีย์สากล การที่ประเทศหนึ่งจะแลกเปลี่ยนไปรษณีย์กับอีกประเทศหนึ่งได้นั้นต้องมีการทำสนธิสัญญากับแต่ละประเทศก่อน ซึ่งการส่งจดหมายระหว่างเทศนั้นจะต้องติดแสตมป์ของประเทศต่างๆ ที่จดหมายเดินทางผ่านไปด้วย สหรัฐอเมริกาจึงได้เรียกร้องให้มีการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นในเดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2406 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีผู้เข้าร่วมจาก 15 ประเทศ ทั้งยุโรปและอเมริกา โดยผลที่ได้จากการประชุมเพียงเพื่อนำไปสู่อัตราไปรษณีย์ที่ชัดเจน มิได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศ จากนั้น 11 ปีถัดมา มีผู้แทนจาก 22 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมที่กรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้ลงนามในสนธิสัญญาเบิร์นจัดตั้งเป็นองค์กรระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พทุธศักราช 2417 ใช้ชื่อว่า สหภาพไปรษณีย์ทั่วไป (General Postal Union) แต่เมื่อในคราวการประชุมสากลสมัยถัดมาเมื่อปี 2421 ณ กรุงปารีส มีจำนวนสมาชิกที่เพิ่มมากขึ้น จึงได้มีมติเปลี่ยนมาใช้ชื่อ สหภาพสากลไปรษณย์ (Universal Potal Union) หรือ UPU ดังเช่นในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อมีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ สหภาพไปรษณีย์สากลก็ได้กลายมาเป็นองค์การชำนัญพิเศษหน่วยหนึ่งของสหประชาชาติ
การไปรษณีย์ในประเทศไทย
เมื่อปีพุทธศักราช 2428 ผู้แทนไปรษณีย์ไทย นำโดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสหภาพไปรษณีย์สากล ครั้งที่ 3 ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส และได้ทำเรื่องขอเข้าร่วมสหภาพ ทำให้ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2428 ภายหลังจากที่ได้จัดตั้งกรมไปรษณีย์และเปิดให้บริการไปประมาณ 2 ปี ทำให้กรมไปรณีย์สามารถให้บริการจดหมายระหว่างประเทศได้ ในโอกาสนี้ กรมไปรษณีย์ได้จัดพิมพ์แสตมป์ชุดที่สองทดแทนแสตมป์ชุดที่หนึ่ง หรือชุดโสฬศ โดยเพิ่มชื่อประเทศและราคาบนวงแสตมป์เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของสหภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม: wikipedia.org