เรือนพื้นบ้าน เป็นเรือนที่สร้างขึ้นในชนบทและเขตใกล้ชุมชน ซึ่งผู้เป็นเจ้าของมีอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และประมง เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน และชาวประมง จะใช้วัสดุท้องถิ่นที่หามาได้ง่าย ๆ ราคาถูก ฝีมือปลูกสร้างไม่ใคร่ประณีต แต่มีความงามทางด้านรูปทรง สัดส่วน ขนาดของตัวไม้ ตลอดจนมีความกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างดียิ่ง เรือนพื้นบ้านนี้มีอยู่ในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
เรือนไทยเดิมและเรือนพื้นบ้านในชนบททั่วไป มิได้ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพังชาวบ้านได้สร้างบ้านปลูกเรือนรวมตัวกันขึ้นจนเป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอต่างๆ ตามที่เราเห็นกันอยู่จนทุกวันนี้
บ้านเรือนที่ตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า หมู่บ้าน หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตามสภาพภูมิศาสตร์ มีลักษณะต่างๆ กันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ภาคเหนือมีภูเขามาก ที่ราบน้อย อุดมไปด้วยแม่น้ำลำธาร ลำห้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภูเขาและที่ราบปนกันแต่ขาดแคลนน้ำ ส่วนใหญ่แห้งแล้ง ต้องอาศัยแต่เฉพาะน้ำฝน ภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย ภาคใต้มีภูเขาและที่ราบปนกันแต่ฝนตกชุกตลอดปี สภาวะดังกล่าวเป็นผลผลักดันให้เกิดหมู่บ้านหลาย ๆ ลักษณะ ซึ่งจะกล่าวพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
เรือนพื้นบ้าน
เรือนพื้นบ้าน, เรือนพื้นบ้าน หมายถึง, เรือนพื้นบ้าน คือ, เรือนพื้นบ้าน ความหมาย, เรือนพื้นบ้าน คืออะไร
เรือนพื้นบ้าน, เรือนพื้นบ้าน หมายถึง, เรือนพื้นบ้าน คือ, เรือนพื้นบ้าน ความหมาย, เรือนพื้นบ้าน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!