พนักงานเห่เรือพระราชพิธี
พนักงานเห่เรือพระราชพิธี, พนักงานเห่เรือพระราชพิธี หมายถึง, พนักงานเห่เรือพระราชพิธี คือ, พนักงานเห่เรือพระราชพิธี ความหมาย, พนักงานเห่เรือพระราชพิธี คืออะไร
ปัจจุบันพนักงานต้นเสียงเห่เรือพระราชพิธีที่มีคุณสมบัติพร้อม ทั้งด้านน้ำเสียงที่กังวานไพเราะมีพลัง สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างชัดเจนถูกต้อง และต้องมีไหวพริบปฏิภาณยอดเยี่ยม รวมทั้งต้องมีความรอบรู้ทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณีในการเห่เรืออย่างละเอียดลึกซึ้ง จนได้รับการคัดเลือกให้ เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) ประจำพุทธศักราช ๒๕๔๓ คือ พลเรือตรี มงคล แสงสว่าง ข้าราชการทหารเรือ สังกัดกองทัพเรือ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการเกี่ยวกับ การจัดกระบวนเรือพระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารค และการเห่เรือ
พนักงานเห่เรือพระราชพิธีของกองทัพ เรือมีความเป็นมาที่ยาวนาน พนักงานเห่เรือที่มี ชื่อเสียงอยู่ในวงการเห่เรือ และเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาการเห่เรือให้พนักงานเห่เรือรุ่นต่อๆ มา ได้แก่ นาวาเอกหลวงประจญปัจนึก พันจ่าโทหลวงกล่อมโกศลศัพท์ รองอำมาตย์ตรีโป๊ะ เหมรำไพ เรือเอกผัด ชุดชลามาศ และ พันจ่าเอกเขียว ศุขภูมิ เป็นครูผู้ฝึกการเห่เรือพระราชพิธีให้แก่พลเรือตรีมงคล แสงสว่าง พนักงานนำเห่เรือพระราชพิธีในปัจจุบัน
พลเรือตรีมงคล แสงสว่าง เล่าว่า ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานนำเห่ หรือต้นเสียง นอกจากต้องมีน้ำเสียงดีเป็นอันดับแรกแล้ว ยังต้องมีใจรักจึงจะมีความมุ่งมั่นมุมานะในการฝึกหัดให้กำลังเสียงคงที่ เพราะระยะเวลา ในการเห่เรือพระราชพิธีแต่ละครั้งต้องใช้เวลายาวนาน ๒ - ๓ ชั่วโมง และยังต้องมีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะเห่เรือ รวมทั้งต้องมีความสามารถในการพิจารณาคำนวณระยะทาง กระแสน้ำและกระแสลม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของกระบวนเรือให้สอดคล้องกับบทเห่ โดยอาจจะต้องยืดบทหรือตัดบทออกก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม นอกจากนั้นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องมีความรู้ ความสามารถในการพายเรือพระราชพิธีด้วยกล่าวได้ว่า กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค นอกจากจะต้องอาศัยทำนองเห่เรือเป็นสำคัญแล้ว ยังต้องอาศัยการพายเรือแบบโบราณ และผู้ให้สัญญาณประกอบการพาย เรือด้วย จึงจะได้ภาพรวมกระบวนเรือที่สง่า งามติดตาตรึงใจผู้ชมทั่วไป
ดังนั้นประเพณีการเห่เรือและพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคจึงนับ เป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติไทย และหากจะกล่าวเลยไปถึงการเป็นสมบัติ วัฒนธรรมของโลกด้วย ก็คงไม่เกินความจริง เพราะองค์ประกอบของการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้นหลากหลายด้วยศิลปะต่างแขนง ได้แก่ศิลปะนาวาสถาปัตยกรรมในการออกแบบรูปทรงลำเรืออันสง่างาม ภูมิฐาน และได้ประโยชน์ใช้สอยอย่างสมบูรณ์ จนกระทั่งเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้รับเหรียญรางวัลมรดกทางทะเล จากองค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ประจำ ค.ศ. ๑๙๙๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ศิลปะจิตรกรรมในการออกแบบลวดลายและสีสันอันวิจิตรงดงาม มีท่วงท่าประณีตอ่อนช้อย ศิลปะประติมากรรมในการแกะสลักให้เกิดความตื้นลึก มีแสงเงา ศิลปะในท่วงท่าการพายเรืออย่างพร้อมเพรียง สง่างาม และศิลปะในการประพันธ์ การร้องบทเห่ที่มีถ้อยคำและท่วงทำนองอันไพเราะก้องกังวาน พระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารคจึงสะท้อนภาพวัฒนธรรมอันงดงามสมบูรณ์แบบต่อเนื่องมาจากอดีต ควรที่ปวงชนชาวไทยทุกคนจะมีความภาคภูมิใจ และหวงแหนมรดกวัฒนธรรมนี้ ด้วยการอนุรักษ์และสืบทอดให้เจริญต่อไปชั่วกาลนาน
ดูเพิ่มเติมเรื่อง กระบวนพยุหยาตรา เล่ม ๒๑
พนักงานเห่เรือพระราชพิธี, พนักงานเห่เรือพระราชพิธี หมายถึง, พนักงานเห่เรือพระราชพิธี คือ, พนักงานเห่เรือพระราชพิธี ความหมาย, พนักงานเห่เรือพระราชพิธี คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!