ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ศัพท์สังคีต, ศัพท์สังคีต หมายถึง, ศัพท์สังคีต คือ, ศัพท์สังคีต ความหมาย, ศัพท์สังคีต คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 8
ศัพท์สังคีต

          ศัพท์สังคีต คือ ภาษาเฉพาะที่ใช้พูดกันในวงการดนตรีไทย ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าหมายความถึงอะไร หรือให้ปฏิบัติอย่างไร จะนำมาอธิบายเฉพาะคำที่มีกล่าวไว้ในบทข้างต้น ดังต่อไปนี้
          กรอ ๑. เป็นวิธีบรรเลงของเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) อย่างหนึ่งซึ่งใช้วิธีตี ๒ มือ สลับกันถี่ๆ โดยใช้มือซ้ายกับมือขวาตีมือละเสียง เป็นคู่ ๒
คู่ ๓ คู่ ๔ คู่ ๕ คู่ ๖ และคู่ ๘
          ๒. เป็นคำเรียกการดำเนินทำนองเพลงที่ใช้เสียงยาวๆ ช้าๆ เพลงที่ดำเนินทำนองอย่างนี้เรียกว่า "ทางกรอ" ที่เรียกอย่างนี้ก็ด้วยทำนองที่มีเสียงยาวๆ นั้น
เครื่องดนตรีประเภทตี ต้องตีกรอ (ดังข้อ ๑) เพราะไม่สามารถจะทำเสียงยาวอย่างพวกเครื่องสีเครื่องเป่าได้
          เก็บ ได้แก่ การบรรเลงที่สอดแทรกเสียงให้มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าเนื้อเพลงธรรมดา เช่นเนื้อเพลงเดินทำนองห่างๆ ได้ ๔ พยางค์ การเก็บก็จะแทรกแซงถี่ขึ้นเป็น ๑๖
พยางค์ ซึ่งมีความยาวเท่ากัน (ดูโน๊ตเปรียบเทียบกับเนื้อเพลงที่คำว่าเนื้อ)
          คู่ หมายถึง ๒ เสียงและเสียงทั้งสองนี้จะบรรเลงพร้อมกันก็ได้หรือคนละทีก็ได้เสียงทั้งสองห่างกันเท่าใดก็เรียกว่าคู่เท่านั้น แต่การนับจะต้องนับเสียงที่ดังทั้ง
สองรวมอยู่ด้วยกัน เช่น เสียงหนึ่งอยู่ที่อักษร บ อีกเสียงหนึ่งอยู่ที่อักษร พการนับก็ต้องนับ บ เป็น ๑ แล้ว ป เป็น ๒ ๓ผ ๔ฝ และ ๕พ คู่เช่นนี้
ก็เรียกว่า "คู่ ๕"
          จังหวะ หมายถึง การแบ่งส่วนย่อยของทำนองเพลง ซึ่งดำเนินไปโดยสม่ำเสมอ ทุกๆระยะที่แบ่งนี้ คือ จังหวะ
          จังหวะที่ใช้ในการบรรเลงดนตรีไทย แยกออกได้เป็น ๓ อย่าง คือ
          ๑. การแบ่งระยะที่มีความรู้สึกอยู่ในใจ แม้จะไม่มีสัญญาณอะไรตีเป็นที่หมายก็มีความรู้สึกแบ่งระยะได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะกำหนดแบ่งระยะถี่หรือห่างอย่างไร
ก็แล้วแต่ถนัด อย่างนี้เรียกว่า "จังหวะสามัญ" หรือจังหวะทั่วไป
          ๒. การกำหนดแบ่งระยะนั้น ใช้เสียงฉิ่งที่ตีเป็นที่หมาย เสียงที่ตีดัง "ฉิ่ง" เป็นจังหวะเบา และเสียงที่ตีดัง "ฉับ" เป็นจังหวะหนัก ซึ่งจังหวะหนักเป็นสำคัญ
กว่าจังหวะเบา
          ๓. กำหนดเอาเสียงตีของตะโพน หรือสองหน้า หรือกลองแขกซึ่งเรียกว่า"หน้าทับ" เป็นที่หมายเมื่อตะโพนหรือสองหน้าหรือกลองแขกตีไปจบกระบวนครั้งหนึ่ง ก็กำหนดว่าเป็นจังหวะหนึ่ง ตีจบไป ๒ ครั้งก็ถือว่าเป็น ๒ จังหวะตีจบไปกี่ครั้งก็ถือว่าเป็นเท่านั้นจังหวะ จังหวะอย่างนี้เรียกว่า "จังหวะหน้าทับ"
          ตับ หมายถึง เพลงหลายๆ เพลง ที่นำมาร้องหรือบรรเลง ติดต่อกันไป เหมือนอย่างปลาหลายๆ ตัว เอาไม้คาบให้เรียงติดกัน ก็เรียกว่า ตับ หรือใบจากหลายๆใบนำมาเย็บให้เรียงติดกัน ก็เรียกว่า ตับจาก เพลงที่เรียงติดต่อกันเป็นตับนี้ยังแยกออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ
          ๑. ตับเพลง ได้แก่ เพลงที่นำมาร้องหรือบรรเลงติดต่อกันนั้น ต้องเป็นเพลงอัตราเดียวกัน ๒ ชั้นก็ ๒ ชั้นทุกเพลง หรือ ๓ ชั้นก็ ๓ ชั้นทุกๆ เพลง และ
ทำนองที่ติดต่อกันได้สนิทสนม ส่วนใจความของบทร้องอาจเป็นคนละเรื่องหรือคนละตอนก็ได้ ไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ
          ๒. ตับเรื่อง เพลงที่นำมารวมร้องหรือบรรเลงติดต่อกันนั้น ต้องมีบทร้องเป็นเรื่องเดียวกัน และดำเนินไปโดยลำดับ ฟังได้ความเป็นเรื่องเป็นราว ส่วน
ทำนองเพลงจะเป็นชั้นเดียว ๒ ชั้น หรือจะลักลั่นกันอย่างไรก็ได้ทั้งนั้น ไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ
          เถา คือเพลงที่เป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันตามลำดับเช่น ๓ ชั้น ๒ ชั้นและชั้นเดียว อัตราที่ลดหลั่นกันนี้ต้องไม่น้อยกว่า ๓ อันดับ และต้องร้องหรือ
บรรเลงติดต่อกัน โดยไม่เว้นระยะหรือมีเพลงอื่นมาแทรก เหมือนชามรูปเดียวกัน ๓ ขนาด มีใหญ่ กลาง และเล็ก นำมาซ้อนกัน หรือวางเรียงกัน ก็เรียกว่า
เถา หรือ ๓ ใบเถา
          ทาง คำนี้มีความหมายแยกได้เป็น ๓ ประการคือ
          ๑. หมายถึงวิธีดำเนินทำนองโดยเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เช่น ทางระนาดเอก ทางระนาดทุ้ม ทางซอด้วง ทางจะเข้ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีวิธีดำเนิน
ทำนองของตนต่างๆ กัน (ดูโน๊ตเปรียบเทียบกับเนื้อเพลงที่คำว่าเนื้อ)
          ๒. หมายถึงวิธีดำเนินทำนองของเพลงที่แต่งขึ้นโดยเฉพาะ เช่น ทางของครูคนนั้น ทางของครูคนนี้ หรือทางเดี่ยว ทางหมู่ และทางกรอ เป็นต้น
          ๓. หมายถึงระดับเสียงที่บรรเลง ซึ่งแต่ละทางเป็นคนละเสียง และมีชื่อเรียก
เป็นที่หมายรู้กัน เช่น ทางเพียงออล่าง ทางใน และทางกลาง เป็นต้น
          ทำนอง ได้แก่ เสียงสูงๆ ต่ำๆ ซึ่งสลับสับสนกัน และมีความสั้น ยาว หนัก เบา ต่างๆแล้วแต่ความประสงค์ของผู้แต่ง
          เนื้อ คำนี้แยกความหมายออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ
          ๑. หมายถึง บทประพันธ์ที่เป็นถ้อยคำสำหรับร้อง ซึ่งเรียกเต็มๆ ให้ได้ความหมายชัดเจนขึ้นว่า "เนื้อร้อง"
          ๒. หมายถึง ทำนองเพลงที่เป็นเนื้อแท้ คือ ทำนอง ที่มิได้ตกแต่งพลิกแพลงออกไป ถ้าจะเรียกเต็มๆ ให้ได้ความหมายชัดเจนก็ต้องเรียกว่า "เนื้อเพลง" การ
ตีฆ้องวงใหญ่ในวงปี่พาทย์โดยปกตินั้น คือ "เนื้อ" (หรือเนื้อเพลง) ส่วนระนาดเอก หรือระนาดทุ้ม หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ ซึ่งดำเนินทำนองพลิกแพลงออกไป
ตามวิธีการของเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆ เปรียบเสมือนหนังที่หุ้มห่อไปตามรูปของเนื้อ
          เพี้ยน ได้แก่ เสียงที่ไม่ตรงกับระดับที่ถูกต้อง เพี้ยนก็คือผิด แต่เป็นการผิดเพียงเล็กน้อย ไม่ว่าเสียงร้องหรือเสียงดนตรี ถ้าหากว่าไม่ตรงกับระดับเสียงที่ถูกต้องแล้วไม่ว่าจะสูงไปหรือต่ำไป แม้แต่เพียงเล็กน้อยก็เรียกว่า "เพี้ยน" ทั้งสิ้น
          ลูกล้อลูกขัด เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่ง ที่แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น ๒ พวกและผลัดกันบรรเลงคนละที พวกหนึ่งบรรเลงก่อนเรียกว่า พวกหน้า อีกพวก
หนึ่งบรรเลงที่หลังเรียกว่า พวกหลัง ทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ จะเป็นวรรคสั้นๆ หรือยาวๆ ก็ได้ แต่ถ้าเมื่อพวกหน้าบรรเลงไปแล้วเป็นทำนองอย่างใด
พวกหลังก็บรรเลงเป็นทำนองอย่างเดียวกันเหมือนการพูดล้อเลียนตามกัน ก็เรียกว่า "ลูกล้อ" ถ้าหากเมื่อพวกหน้าบรรเลงไปเป็นทำนองอย่างหนึ่ง แล้ว
พวกหลังแยกทำนองบรรเลงไปเสียอีกอย่างหนึ่ง (ไม่เหมือนพวกหน้า) เหมือนพูดขัดกันก็เรียก "ลูกขัด" ถ้าเพลงใด มีบรรเลงทั้ง ๒ อย่างก็เรียกว่า "ลูก
ล้อลูกขัด"

ศัพท์สังคีต, ศัพท์สังคีต หมายถึง, ศัพท์สังคีต คือ, ศัพท์สังคีต ความหมาย, ศัพท์สังคีต คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu