โดยที่ไม้เกิดจากต้นไม้หลายชนิด คุณสมบัติในด้านต่างๆ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ จึงมีความแตกต่างกันไป ไม้แต่ละชนิดย่อมเหมาะสมกับงานแต่ละอย่าง มากน้อยไม่เหมือนกัน ในงานก่อสร้าง เรามักคำนึงถึงความแข็งแรงและความทนทาน ในประดิษฐกรรมเครื่องเรือน หรือส่วนประกอบเครื่องจักรกลซึ่งต้องการความสวยงามและแนบเนียนในการเข้าไม้เราอาจ คำนึงถึงลวดลายในไม้ การหดหรือการพองตัว ความยากง่ายในการไสกบตกแต่งตลอดจนการลงน้ำมัน ในการทำลังใส่ของเราอาจคำนึงถึงความหนักเบา และความยากง่ายในการตีตะปู ในการทำเยื่อกระดาษ เราสนใจถึงปริมาณส่วนประกอบทางเคมีของไม้ และลักษณะของเส้นใย รวมทั้งความยากง่ายในการฟอกสี เป็นคุณสมบัติที่รู้จักกันแพร่หลายและ ทดสอบหาค่าได้ง่ายกว่า คุณสมบัติอย่างอื่น การกล่าวถึงน้ำหนักของสารโดยทั่วๆ ไป เราใช้วิธีเทียบเป็นทศนิยมของน้ำหนักน้ำที่มีปริมาตรเท่ากัน ซึ่งเรียกกันว่า ความถ่วงจำเพาะ (ถพ.) เนื้อไม้แท้ๆ จะมีค่าความถ่วงจำเพราะโดยเฉลี่ยประมาณ ๑.๕๔ หรือหนักกว่าน้ำประมาณหนึ่งเท่าครึ่ง การที่ไม้ลอยน้ำได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้แห้ง เพราะว่าเนื้อไม้มีช่องว่างอยู่ทั่วๆ ไป ในประเทศไทยมีไม้หลายพันชนิด และมีค่าความถ่วงจำเพาะแตกต่างกันระหว่าง ๐.๓ - ๑.๓ เป็นส่วนใหญ่ไม้ที่เบาที่สุด ได้แก่ ไม้เทียะ ถพ. ๐.๑๒ ซึ่งมีทางภาคใต้ ที่หนักที่สุด ได้แก่ ไม้มะเกลือ ถพ. ๑.๓๕ มีอยู่ทั่วๆ ไป
ไม้จะหนักหรือเบาเพียงไร มันขึ้นอยู่กับความหนาบางของผนังเซลล์ค้ำจุนเป็นสำคัญ ไม้มีผนังเซลล์ ค้ำจุนหนาก็จะหนัก ถ้าบางก็จะเบา ความชื้นในไม้มีบทบาทเกี่ยวกับน้ำหนักอยู่มาก กล่าวคือ ถ้ามีความชื้นสูงก็มีน้ำหนักมาก ถ้ามีความชื้นน้อยก็มีน้ำหนักเบาลงตามส่วน ในสมัยที่การคมนาคมทางบกไม่สะดวก การทำไม้สักต้องใช้วิธี "กาน" หรือตัดกระพี้ โดยรอบโคนต้นให้ขาดถึงแก่น ทำให้ไม้ตาย ปล่อยไว้ให้แห้งประมาณ ๒ ปีเสียก่อน จึงทำการตัดโค่น การทำเช่นนี้ ทำให้ไม้ลอยน้ำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีทุ่นช่วย และทุ่นค่าใช้จ่ายได้มาก
ตัวอย่างปริมาณความชื้นและความถ่วงจำเพาะของไม้บางชนิด
ชนิดไม้
การหดตัว (%)
รัศมี
สัมผัส
ตามยาว
สักหำโจร
มะมื่น
สนเขา
สมพง
๒.๗
๖.๑
๖.๓
๔.๔
๔.๐
๕.๒
๑๒.๘
๙.๐
๖.๓
๗.๓
๐.๐๐
๐.๔๑
๐.๐๓
๐.๓๔
๐.๑๓