รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ
รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ, รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ หมายถึง, รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ คือ, รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ ความหมาย, รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ คืออะไร
ชุมชนโบราณในประเทศไทยจากหลักฐานในภาพถ่ายทางอากาศ เท่าที่ได้มีผู้รวบรวมไว้มีจำนวน ๑,๒๐๘ แห่ง ในจำนวนนี้ประมาณ ๙๕๔ แห่ง จัดเป็นแหล่งชุมชนที่มีคูคันดินล้อมรอบ โดยทั่วๆ ไปแล้วเป็นที่เข้าใจว่าการขุดคูคันดินล้อมรอบแหล่งชุมชนมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ อย่างรวมกัน ได้แก่
๑) เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณแหล่งชุมชน หรือบริเวณที่มีความสำคัญโดยเฉพาะ
๒) เพื่อเป็นการป้องกันศัตรูจากภายนอก
๓) เพื่อความสะดวกในการคมนาคมเชื่อมโยงกับทางน้ำหรือเส้นทางออกสู่ทะเล
๔) เพื่อกักเก็บน้ำใช้ประโยชน์สำหรับชุมชน
ลักษณะการใช้ประโยชน์คูคันดินรอบชุมชนโบราณดังกล่าวนี้ สามารถพิจารณาได้จากลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมของบริเวณที่ชุมชนนั้นตั้งอยู่ และลักษณะเฉพาะของคูคันดินเหล่านั้น เช่น รูปร่าง ขนาดและทิศทางของคูคันดิน เป็นต้น
เราอาจจำแนกลักษณะของคูคันดินรอบชุมชนโบราณในประเทศไทยได้ในลักษณะของ "กลุ่มรูปแบบ" โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ของรูปร่างคูคันดินกับลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ "กลุ่มรูปแบบที่ไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ" และ "กลุ่มรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ" ในแต่ละกลุ่มรูปแบบยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็นรูปแบบประเภทต่างๆ โดยอาศัยรูปร่างและลักษณะเฉพาะของชุมชนแต่ละแห่ง การจัดแบ่งกลุ่มและประเภทคูคันดินรอบชุมชนโบราณที่สำรวจพบในประเทศไทย นับเป็นหลักฐานที่น่าภาคภูมิใจสำหรับประเทศเราที่มีชุมชนโบราณที่ขุดคูคันดินล้อมรอบจำนวนมาก และมีรูปแบบหลากหลายสามารถนำมาจัดเป็นระบบได้ จะเป็นตัวอย่างสำหรับการศึกษาอย่างมีระบบโดยนำไปใช้เปรียบเทียบแหล่งชุมชนโบราณในภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป ในรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ พอจะอธิบายได้ดังนี้ คันดินที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ มีรูปร่างเป็นไปตามภูมิประเทศที่ขุดคูคันดินล้อมรอบ มีลักษณะเป็นเนินสูงกว่าพื้นที่รอบข้าง คูคันดินในกลุ่มนี้สามารถจัดแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๒.๑ ประเภทรูปแบบคูคันดินขุดล้อมรอบตีนเนิน ชุมชนโบราณที่จัดอยู่ในรูปแบบนี้ สำรวจพบแต่เฉพาะในที่ราบภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่เรียกกันว่า "อีสาน" เป็นบริเวณที่ราบสูงรองรับด้วยชั้นหินทราย และชั้นหินที่มีเกลือ ชั้นหินเกลือที่แทรกอยู่นี้ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริเวณอีสานในช่วงฤดูแล้งขาดแคลนน้ำ และมีดินเค็มเกิดขึ้นเป็นแห่งๆ ทั่วไป แหล่งชุมชนโบราณที่สำรวจพบในบริเวณอีสาน จะเลือกสร้างอยู่ในบริเวณที่มีสภาพธรรมชาติสามารถกักเก็บน้ำได้โดยขุดคูคันดินล้อมรอบตีนเนินเพื่อเก็บน้ำใช้สำหรับชุมชน
๒.๒ ประเภทรูปแบบคูคันดินขุดล้อมบนเนิน ลักษณะคูคันดินตามรูปแบบนี้ พบว่าคูคันดินขุดตามขอบสันเนินซึ่งสูงกว่าที่ราบโดยรอบ คูมีลักษณะแคบและสูงชัน มีคันดินอยู่ภายในทำให้ลำบากต่อการปีนป่ายเข้าไปในบริเวณที่ขุดคูคันดินล้อมรอบ คูที่ขุดมีระดับแตกต่างกันและไม่แสดงลักษณะของการกักเก็บน้ำ ตลอดจนไม่มีความสัมพันธ์กับทางน้ำธรรมชาติหรือคลองชลประทานในบริเวณนั้น บริเวณที่ขุดคูคันดินล้อมรอบจะอยู่บนที่สูง ประมาณ ๒๐-๔๐ เมตรจากพื้นที่ราบโดยรอบ ที่ต่ำลงมาลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลาดเชิงเนิน อยู่ระหว่างคูคันดินกับที่ราบลุ่มทำนา บริเวณที่ลาดเชิงเนินนี้ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับการตั้งถิ่นฐานในปัจจุบันส่วนบริเวณที่ขุดคูคันดินล้อมรอบ ทำหน้าที่เสมือนป้อมป้องกันศัตรู ผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเชิงเนิน เมื่อมีศัตรูก็จะเข้าไปอยู่ในบริเวณบนเนินที่มีคูคันดินขุดล้อมรอบ ใช้เป็นที่ป้องกันศัตรูจากภายนอก ชุมชนโบราณที่มีคูคันดินดังกล่าว มีลักษณะคล้ายกับเป็นเมืองป้อม และพบอยู่แต่เฉพาะบริเวณภาคเหนือของไทยที่เรียกว่า "ล้านนา"เท่านั้น ลักษณะรูปแบบคูคันดินที่สำรวจพบมีหลายรูปแบบ บางบริเวณขุดคูล้อมรอบบริเวณเนินอิสระต่อกัน บางแห่งจับเป็นกลุ่ม และบางแห่งขุดคูคันดินต่อเชื่อมกันคล้ายลูกโซ่ และบางแห่งมีขนาดใหญ่ขุดคูคันดินเชื่อมต่อกันเป็นส่วนๆ แสดงให้เห็นวิวัฒนาการการขุดคูคันดินให้สอดคล้องกับขนาดของชุมชนที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น
๒.๓ ประเภทรูปแบบคูคันดินขุดล้อมรอบทั้งบนเนินและที่ราบ คูคันดินที่ขุดต่อเชื่อมกันจะล้อมรอบบริเวณทั้งบนเนินและที่ราบ คูในบริเวณที่ลุ่มจะมีน้ำขังมีคันดินภายในสูงชัน และส่วนที่เป็นเนินเขา คูมีลักษณะแคบและชันเปลี่ยนแปลงระดับไปตามลักษณะภูมิประเทศ ไม่สามารถใช้ ในการกักเก็บน้ำ มีลักษณะเช่นเดียวกับคูคันดิน ขุดล้อมรอบบนเนิน ชุมชนโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบประเภทนี้ มักมีขนาดใหญ่และพบอยู่แต่เฉพาะในภาคเหนือของไทยที่เรียกว่า "ล้านนา" เท่านั้นดังตัวอย่างชุมชนโบราณที่ตัวอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ, รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ หมายถึง, รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ คือ, รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ ความหมาย, รูปแบบคูคันดินรอบชุมชนโบราณ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!