ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์, การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ หมายถึง, การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ คือ, การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ ความหมาย, การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์


การเจริญเติบโตของเด็ก
         
เด็กที่มีสุขภาพดีและมีความสุขจะต้องมีการเจริญเติบโตทางร่างกายสมอง เชาวน์ปัญญา อารมณ์ และมีการพัฒนาทางพฤติกรรมต่อสังคมอย่างประสมประสานกัน สิ่งที่ใช้ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ดูได้จาก ๒ ด้าน คือ
          ๑. การเติบโตทางร่างกาย ซึ่งสามารถวัดได้
          ๒. การพัฒนา คุณภาพ หรือหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ซึ่งแสดงออกมาในด้านพฤติกรรม 
           
           การประเมินสองด้านนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยที่การเจริญเติบโตของเด็กแต่ละคนอยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยต่างๆ เช่น การถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ สภาพโภชนาการการเจ็บป่วย การศึกษาของตัวเด็กเอง คุณภาพทางอารมณ์ของบุคคล ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และสภาพของสังคม ภูมิประเทศที่เด็กอาศัยอยู่ ดังนั้น แม้แต่พี่น้องท้องเดียวกัน อาจมีการการเจริญเติบโตและพัฒนาการแตกต่างกันได้ แต่ก็สามารถกำหนดมาตรฐานปกติ ตลอดจนค่าที่อาจแตกต่างได้จากการศึกษาเป็นจำนวนมาก

วิธีการที่ใช้วัดการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในปัจจุบัน มีดังนี้
           ก. การวัดการเจริญเติบโตทางร่างกาย
           ข. การวัดการเจริญเติบโตทางด้านพฤติกรรม

          ข. การวัดการเจริญเติบโตทางด้านพฤติกรรม
          การเจริญทางด้านพฤติกรรมเป็นการผสมผสานของการแสดงออกถึงความสามารถและการทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายตามวัย โดยการควบคุมของสมอง สติปัญญา อารมณ์ และความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (สังคม) ในขวบปีแรกจะมีพัฒนาการด้านนี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งพวกที่มีการพัฒนาดีในช่วงแรกนี้ก็ย่อมจะมีการพัฒนาที่ดีในระยะหลังด้วย 
          การพัฒนาทางด้านพฤติกรรมนี้ เป็นขบวนการต่อเนื่อง โดยมีระบบประสาทเป็นตัวกำหนดผสมผสานกับการเจริญเติบโตและเริ่มจากศีรษะมาเท้า  ตั้งแต่เด็กยิ้มได้ในปลายเดือนแรก จนถึงสามารถเดินเองได้เมื่ออายุ ๑๒-๑๔ เดือน (ดูตารางการเจริญทางพฤติกรรมในขวบปีแรก) 
          การที่เด็กมีการเจริญทางพฤติกรรมช้าหรือเร็วกว่าเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว มิได้หมายถึงว่าเด็กนั้นมีร่างกายสติปัญญาดีหรือต่ำกว่า เพราะการเจริญเติบโตของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยที่ทุกๆ คนจะมีการเจริญเติบโตตามขั้นตอนเหมือนกัน เด็กที่มีการเจริญทางพฤติกรรมที่ช้าเกินเกณฑ์มาตรฐานเกิน ๒-๓ เดือน ควรจะได้รับการตรวจจากแพทย์ การเจริญเติบโตในวัยก่อนเรียน 
          การเจริญเติบโตในอายุขวบปีที่ ๒ น้อยกว่าปีแรก น้ำหนักจะขึ้นเพียง ๒-๓ กิโลกรัม และส่วนสูงจะเพิ่มประมาณ ๑๐-๑๒ เซนติเมตร เส้นรอบศีรษะเพิ่มเพียง ๒ เซนติเมตรเท่านั้น ฟันจะขึ้นอีกประมาณ ๘ ซี่ เมื่ออายุ ๑๕ เดือน เด็กจะเริ่มเดินได้เอง  และวิ่งเตาะแตะเมื่ออายุปีครึ่ง  ซึ่งจะล้มบ่อยต้องคอยระวังเมื่อเด็กอายุ ๒ ปี เด็กจะวิ่งได้ค่อนข้างดี การหกล้มจะน้อยลง และพูดได้ ๒-๓ คำติดกัน การเล่นระยะนี้มักจะเล่นคนเดียว จะชอบเล่นกับเด็กอื่นเมื่ออายุ ๓-๔ ปี อายุระหว่าง ๓-๖ ปี การเจริญเติบโตค่อนข้างสม่ำเสมอน้ำหนักมักขึ้นประมาณปีละ ๒ กิโลกรัม สูงขึ้นประมาณปีละ ๕-๘ เซนติเมตร ฟันน้ำนมขึ้นครบเมื่ออายุประมาณ ๒ ปีครึ่ง เมื่ออายุ ๓ ปี มักแยกเพศว่าเป็นหญิงเป็นชายได้ ระยะนี้การเจริญ ทางด้านจิตใจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เด็กมักเริ่มกลัวการจากได้โดยเฉพาะการจากแม่

          การเจริญเติบโตในวัยเรียน
          อายุระหว่าง ๕-๑๒ ปี การเจริญทางกายเป็นไปค่อนข้างสม่ำเสมอ น้ำหนักขึ้นประมาณปีละ ๒-๓ กิโลกรัมต่อปี ส่วนสูงจะเพิ่มประมาณปีละ ๔-๖ เซนติเมตร ศีรษะขยายช้าลง การเจริญด้านกำลังดีขึ้น ฟันน้ำนมเริ่มหลุดเมื่ออายุ ๖-๗  ปี ฟันแท้ซี่แรกขึ้นเมื่ออายุ ๗ ปี และค่อยๆ แทนฟันน้ำนมที่หลุดไปเฉลี่ยประมาณปีละ ๔ ซี่ ในระยะนี้การเจริญทางด้านพฤติกรรมจะเริ่มเข้าสังคมได้ดีขึ้น ต้องการพึ่งตนเองมากขึ้น

          ระยะวัยรุ่น
          เป็นระยะก่อนเข้าวัยหนุ่มสาว อาจเริ่มในอายุต่างกันเด็กหญิงอาจเริ่มตั้งแต่ ๑๐-๑๒ ปี เด็กชายอาจเริ่ม ๑๒-๑๔ ปีการเจริญในชายมักช้ากว่าหญิง แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลในการเจริญทั้งทางร่างกายและด้านพฤติกรรม เช่น ด้านพันธุกรรม (เช่น พ่อ-แม่สูง ลูกมักสูง) ด้านโภชนาการ (กินดีอยู่ดีร่างกายสูงใหญ่กว่าเด็กขาดอาหาร) ด้านสังคม (เด็กในกรุงเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วกว่าเด็กชนบท)และการเจริญทางจิตใจและพฤติกรรม ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและการอบรมสั่งสอนแก่เด็กนั้นๆ

การส่งเสริมการเจริญเติบโตและการเจริญทางด้านพฤติกรรมของเด็ก
          การส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก สามารถจะกระทำได้บุคคลที่เป็นกลจักรสำคัญก็คือพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและชุมชน ส่วนแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หรือทางการศึกษาเป็นผู้ที่จะช่วยหาข้อมูลแนะนำ ป้องกันและส่งเสริมบางประการเท่านั้น หัวข้อที่จะใช้ในการส่งเสริมพอสรุปได้คือ
          ๑. ระแวดระวังการเจริญเติบโตของเด็ก เด็กทุกคนควรจะได้รับการติดตามการเจริญเติบโต อย่างน้อยก็ควรจะได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเป็นระยะๆ ตามวัย เช่น วัยทารก ๑-๒ เดือนต่อครั้ง วัยก่อนเข้าเรียนปีละ ๒-๓ ครั้ง และวัยเรียนปีละ ๒ ครั้งเป็นอย่างน้อย แล้วลงจุดบนกราฟการเจริญเติบโตเพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโต หากมีการเจริญเติบโตผิดปกติไม่ว่าจะเป็นด้านน้ำหนักน้อยหรือมากเกินอัตราเฉลี่ย ควรจะได้รับการปรึกษาจากแพทย์ หากสามารถจะปฏิบัติได้ ก็ควรได้รับการตรวจทางพฤติกรรมของเด็กด้วย
          ๒. ระแวดระวังการให้อาหารตั้งแต่เกิด การให้อาหารที่เหมาะกับช่วงอายุ จะช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตเป็นปกติและมีสุขภาพดี มีอุปโภคนิสัยที่ดีและถูกต้อง ตลอดจนสมารถลดการเจ็บป่วยทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับอาหารทารก)
          ๓. ช่วยกระตุ้นการพัฒนาทางร่างกายและสมองให้ผสมผสานกันการเล่นของเด็กที่ถูกต้องตามวัย จะเป็นปัจจัยช่วยให้มีการก้าวหน้าทางพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างดี
          ๔. ป้องกันการติดโรคติดเชื้อจากบุคคลอื่น ภายในบ้านและชุมชนตลอดจนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากการได้รับวัคซีนต่างๆ ตามช่วงอายุที่เหมาะสม
          ๕. ค้นหาความพิการที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการดูจังหวะการพัฒนาของเด็ก หากผิดปกติหรือไม่มีความก้าวหน้าควรจะปรึกษาแพทย์

ตารางแสดงการเจริญเติบโตด้านพฤติกรรมในขวบแรก

อายุ(เดือน) การเคลื่อนไหว การมองและปฏิกิริยาเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น การได้ยินและการเปล่งเสียง การสังคม

















๑๐

๑๑

๑๒

เริ่มมีการเคลื่อนไหวของศีรษะ อย่างไม่ราบรื่นและสั่น มีการเคลื่อนไหวของแขนขา เวลาเปลี่ยนท่าอย่างชัดเจน ชันคอได้ เวลานอนคว่ำจะผงกศีรษะ ยกออก โดยใช้มือและแขนยัน ชอบจับเท้าเล่น แล้วเอาเข้าปาก คว่ำได้ ต่อมากลับนอนหงาย เองได้ จับนั่งได้ นั่ง ศีรษะและหลังตรง คลาน จับยืนได้ ยืนเองได้ จับเดินได้ นั่งเองได้ แขนยันเวลาเอนตัวไปข้างหน้า หรือเอียงตัว พยายามคืบ คลาน บิดตัว และเปลี่ยนท่าดึงตัวเอง ยืนโหนตัวเล่นรอบ ๆ โต๊ะ เก้าอี้ เดินเอง มองจ้องสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว จ้องหน้าแม่ ตาจะจ้องมองตามสิ่งของที่เคลื่อน ไหว จำหน้าแม่ หรือขวดนมได้ มือแบ เต็มที่ มองและคว้าของมาเล่น มาไว้ ที่หน้าแล้วเอาใส่ปาก จำของที่เห็นประจำได้ เช่น ถ้วย ขวดนม ของเล่น มือตนเอง ใช้ตาสองข้าง มองบนจุดเดียว ตาไม่เหล่ เปลี่ยนของเล่นจากมือหนึ่ง ไปยังอีกมือหนึ่ง มองบนของที่ทำหล่น หัดใช้นิ้ว หัวแม่มือและนิ้วชี้จับของ มองหาสิ่งของ ตาไว มองจ้องของเล็ก ๆ มองรอบ ๆ และสามารถจะประเมิน สถานการณ์ เริ่มมองที่รูปและใช้ นิ้วชี้ ชี้ ร้องไห้เมื่อหิวหรือไม่สบาย เช่น ผ้าอ้อมเปียก ร้อน อบเกินไป ฯลฯ สงบและเงียบเมื่อได้ยินเสียงหรือ สัมผัส ตอบสนองเสียง เช่น ดีใจเมื่อได้ ยินเสียงแม่ หรือไม่ชอบเมื่อได้ยิน เสียงดัง เสียงร้องเป็นลักษณะแสดงว่าโตขึ้น ทำเสียงอ้อแอ้โต้ตอบกับผู้เล่น มองตามเสียง เริ่มพยายามทำเสียงตาม หัดพูด ออกเสียงแสดงความต้องการ ทำเสียงเลียนแบบ เริ่มเข้าใจความหมายของคำ เป็นคำๆ เช่น พ่อ แม่ และพูดได้เป็น คำๆ ตื่น ดูดนม แล้วนอนหลับ ยิ้ม เรียกร้องความสนใจทางอ้อมต่อ แม่และพ่อ จะเงียบสงบเมื่อมีคนเล่นหรือเขย่า ตัวเบา ๆ มองดูหน้าผุ้ใกล้ชิดแล้วยิ้ม ปากทำเสียงแบะ ๆ เล่น มีปฏิกิริยาชื่นชมต่อสิ่งที่ชอบ เช่น ขณะดูดนมหรืออาบน้ำ ชอบจับมือ ยิ้มเอง เริ่มรู้ว่าใครแปลกหน้า และมี ปฏิกิริยา เล่นสนุกกับผู้ใหญ่ มีปฏิกิริยาตอบสนองและปฏิเสธ เล่นของที่ชอบเล่น ตบมือ หรือโบกมือ

การที่เด็กมีการเจริญทางพฤติกรรมช้าหรือเร็วกว่าเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว มิได้หมายถึงว่าเด็กนั้นมีร่างกายสติปัญญาดีหรือต่ำกว่า เพราะการ เจริญเติบโตของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยที่ทุกๆ คนจะมีการเจริญเติบโตตามขั้นตอนเหมือนกัน เด็กที่มีการเจริญทางพฤติกรรมที่ช้าเกินเกณฑ์มาตรฐาน เกิน ๒-๓ เดือน ควรจะได้รับการตรวจจากแพทย์

การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์, การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ หมายถึง, การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ คือ, การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ ความหมาย, การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu