เราคงเคยเห็นอยู่เสมอว่า เมื่อเราปล่อยลูกโป่งขึ้นไปสูงๆ ลูกโป่งจะขยายตัวใหญ่ขึ้นเมื่อลอยสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะความกดของอากาศในระดับสูงมีน้อยกว่าระดับต่ำ ในที่สุดเมื่อลูกโป่งลอยสูงขึ้นไปมากๆ ก็จะแตกมวลของอากาศก็เช่นเดียวกัน เมื่อเคลื่อนตัวไปตามบริเวณที่มีความกดของอากาศต่ำกว่าก็จะขยายตัวออก การขยายตัวของอากาศนี้จะทำให้อุณหภูมิลดลง เมื่ออากาศแห้งเคลื่อนตัวสูงขึ้น ๑ กิโลเมตร อุณหภูมิจะลดลงประมาณ๑๐°ซ.ในทำนองเดียวกันเมื่ออากาศแห้งเลื่อนต่ำลง ๑ กิโลเมตร อุณหภูมิจะร้อนขึ้น ๑๐°ซ.ซึ่งค่านี้ก็คืออัตราการเปลี่ยนของอุณหภูมิ ตามความสูงของอากาศแห้ง (dry adiabatic lapserate) การขยายตัวของอากาศในลักษณะซึ่งไม่มีการถ่ายเทความร้อนระหว่างมวลอากาศนั้นกับสิ่งแวดล้อมนี้เรียกว่า "การขยายตัวแบบเอเดียแบติค" (adiabatic expansion) การขยายตัวหรือหดตัวดังกล่าวมานี้ เรากล่าวถึงเฉพาะอากาศแห้งซึ่งไม่มีไอน้ำปนอยู่ด้วยเท่านั้น
ตามธรรมดาแล้ว บรรยากาศของเราย่อมมีไอน้ำปนอยู่ด้วยเสมอ เมื่ออากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ (หมายถึงความชื้นสัมพัทธ์มีค่าเท่ากับ ร้อยละ ๑๐๐) อากาศที่ลอยขึ้นและขยายตัวจะเย็นลง แต่อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง จะมีค่าไม่เท่ากับ ๑๐°ซ. ต่อ๑ กิโลเมตร หรือไม่เท่ากับอัตราเปลี่ยนเอเดียแบติคของอากาศแห้ง แต่จะมีค่าเฉลี่ยประมาณ ๖.๕°ซ. ต่อ ๑ กิโลเมตร ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเมื่ออากาศซึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำลอยขึ้นจะขยายตัวและเย็นลง ไอน้ำในอากาศจะกลั่นตัวรวมตัวกันเป็นเมฆ การรวมตัวเป็นเมฆนี้จะคายความร้อนแฝงออกมา (ประมาณ ๖๐๐ แคลอรี่ต่อไอน้ำ ๑ กรัม) ความร้อนแฝงนี้ก็จะทำให้อุณหภูมิอุ่นขึ้นและทำให้อัตราเปลี่ยนเอเดียแบติคของอากาศลดน้อยลง ซึ่งเป็นอัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิของอากาศชื้น (moist adiabatic lapse rate)
อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูงนี้ มีความสำคัญเกี่ยวกับเสถียรภาพหรือการทรงตัวของบรรยากาศ คำว่าเสถียรภาพของบรรยากาศหมายถึงอากาศเมื่อถูกทำให้เคลื่อนตัวแล้วจะพยายามกลับมาที่เดิมไม่ทำให้การเคลื่อนตัวแผ่ขยายเพิ่มขึ้น การไม่มีเสถียรภาพหรือไร้เสถียรภาพของอากาศ หมายถึงอากาศเมื่อถูกเคลื่อนตัวแล้ว การเคลื่อนตัวแผ่ขยายเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น อากาศที่จะเกิดพายุฟ้าคะนองได้จะต้องเป็นอากาศชื้น และไร้เสถียรภาพ
ในภาพข้างล่าง เราจะเห็นได้ว่าเมื่ออากาศพัดผ่านภูเขาและลอยตัวขึ้น เมฆที่เกิดจากอากาศซึ่งมีเสถียรภาพ มักจะเป็นเมฆชนิดชั้นตามแนวนอนและไม่ก่อตัวตามแนวตั้งมาก แต่มวลอากาศชนิดไร้เสถียรภาพหรือไม่มีการทรงตัว เมฆที่เกิดขึ้นจะก่อตัวสูงในแนวตั้ง และเป็นเมฆชนิดที่ทำให้เกิดฝน
แสดงลักษณะของเฆมซึ่งเกิดขึ้นจากมวลอากาศซึ่ง
ก. มีเสถียรภาพหรือการทรงตัว
ข.ไร้เสถียรภาพหรือไม่มีการทรงตัว
อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง
อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง, อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง หมายถึง, อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง คือ, อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง ความหมาย, อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง คืออะไร
อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง, อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง หมายถึง, อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง คือ, อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง ความหมาย, อัตราเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!