ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล, ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล หมายถึง, ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล คือ, ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล ความหมาย, ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล

          อย่างไรก็ตาม  การพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลแบบกระจายจะต้องมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นซอฟต์แวร์สำหรับจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed  Database  Management  Systems :  DDBMS)   ควรที่จะมีฟังก์ชันพิเศษเพิ่มขึ้น  ดังนี้

          1.  ฟังก์ชันในการเข้าถึงข้อมูลในจุดอื่น  การส่งคำสั่งตอบคำถาม  และส่งข้อมูลระหว่างจุดได้โดยผ่านเครือข่ายสื่อสาร  (Communication  Network)

          2.  ฟังก์ชันในการเก็บรายละเอียดของข้อมูลว่า  ข้อมูลใดกระจายอยู่ที่จุดใดบ้าง  ทั้งนี้  เพื่อใช้ในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและสอดคล้องกัน

          3.  ฟังก์ชันในการทำให้ข้อมูลที่ถูกทำซ้ำในจุดต่างๆ มีความถูกต้อง  และสอดคล้องกันเสมอ

          4.  ฟังก์ชันในการเลือกชุดข้อมูลที่ควรจะใช้เมื่อข้อมูลชุดนั้นมีการทำซ้ำไว้หลายตำแหน่ง

          5.  ฟังก์ชันในการปรับคำสั่งสอบถามที่ต้องการใช้ข้อมูลจากหลาย ๆ จุด

          6.  ฟังก์ชันในการกู้  (Recovery)  ข้อมูลคืนเมื่อจุดใดจุดหนึ่งในระบบขัดข้อง (crash)

          สถาปัตยกรรมแบบรับ-ให้บริการ (Client Server  Architecture)  พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับระบบที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนมาก  และติดต่อกันโดยผ่านเครือข่ายสื่อสาร  ระบบนี้ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในการนำมาพัฒนาใช้กับระบบจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย  เนื่องจากมีความสามารถในการสนับสนุนในการทำงานแบบกระจาย  แนวคิดคือ  การแบ่งซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลออกเป็น ๒  ระดับ  คือ  ระดับบริการ  และระดับให้บริการเพื่อลดความซับซ้อนของระบบลง  บางจุดอาจจะทำหน้าที่เป็นผู้รับบริการเพียงอย่างเดียว  ในขณะ ที่จุดอื่นอาจทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ  ซึ่งจะมีเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเท่านั้นหรือในบางจุดอาจมีทั้งส่วนให้บริการและรับบริการอยู่ร่วมกันก็ได้

          ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายแบ่งได้เป็นหลายประเภทด้วยกัน  ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เรานำมาพิจารณาเป็นเกณฑ์ในการจัดแบ่ง  ตัวอย่างหลักเกณฑ์ในการแบ่งระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย ได้แก่ 

           ๑.  ระดับความเหมือน (Degree  of  Homogeneity)  ของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย  กล่าวคือ  ซอฟต์แวร์นี้  ในทุกๆ ระดับผู้ให้บริการ  เหมือนกันทั้งหมดหรือไม่  และในระดับผู้รับบริการ  เหมือนกันทั้งหมดหรือไม่ 

           ๒.  ระดับภาวะอิสระเฉพาะที่ (Degree  of  Local  Autonomy) ซึ่งพิจารณาว่า  ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายนั้น   สามารถทำงานบางอย่าง ณ จุดทำงานนั้นๆ ได้บ้างหรือไม่

          3.  ระดับความโปร่งใสของการกระจาย (Degree of  Distribution  Transparency) คือ  การที่ผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายได้สัมผัส  หรือรับรู้ถึงการแตกกระจาย  หรือการทำซ้ำของข้อมูลบ้างหรือไม่



ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล, ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล หมายถึง, ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล คือ, ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล ความหมาย, ฟังก์ชันพิเศษในการจัดการฐานข้อมูล คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 25

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu