ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย, ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย หมายถึง, ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย คือ, ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย ความหมาย, ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย คืออะไร
ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่นอนว่า มีการนำมันสำปะหลังมาสู่ประเทศไทยเมื่อไร และอย่างไรแต่สันนิษฐานกันว่าคงมีผู้นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซียแห่งใดแห่งหนึ่ง เพราะคำว่า สำปะหลัง คล้ายกับคำในภาษาชวาตะวันตก ซึ่งเรียกมันสำปะหลังว่า สัมเปอ (Sampue) ซึ่งมีความหมายเหมือนคำยุนิคายู ในภาษามาเลย์ ซึ่งแปลว่า พืชที่มีรากขยายใหญ่
การปลูกมันสำปะหลังเป็นการค้าครั้งแรกในประเทศไทยนั้นปลูกในภาคใต้ โดยปลูกระหว่างแถวต้นยางพาราขนาดเล็ก แล้วส่งผลิตผลที่ได้ไปจำหน่ายโรงงานทำแป้ง และโรงงานทำสาคูขนาดเล็กชั่วคราว แต่การปลูกมันสำปะหลังเป็นการค้าในภาคใต้นั้นค่อยๆ หมดไป เพราะปลูกกันในฃระหว่างแถวยางพาราและพืชยืนต้นอื่นๆ ปลูกได้ ๔-๕ ปี ต้นยางพาราก็โตคลุมพื้นที่หมดไม่สามารถปลูกมันสำปะหลังได้อีกต่อไป สำหรับการปลูกมันสำปะหลังเป็นการค้าแพร่หลายในปัจจุบันนี้ เริ่มมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพราะในระยะนั้น ประเทศญี่ปุ่นขาดวัตถุดิบ และได้เริ่มสั่งซื้อแป้งมันสำปะหลังจากประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ในขณะที่สภาพภูมิประเทศริมฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย คือ จังหวัดชลบุรีและระยอง มีลักษณะเป็นเนินเขาลาดเอียง ดินเป็นดินทราย ไม่มีแม่น้ำใหญ่ที่จะทำการชลประทานได้ พื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะแก่การทำนาและพืชไร่ชนิดอื่นชาวบ้านจึงเริ่มปลูกมันสำปะหลังกัน ปรากฏว่าการปลูกมันสำปะหลังได้รับผลดี จนกลายเป็นอาชีพที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว นอกจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นลูกค้าประจำแล้ว ในเวลาต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเพื่อบ้านของไทย ก็ได้สั่งแป้งมันสำปะหลังจากไทย จึงทำให้โรงงานแป้งมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นและทันสมัยขึ้น ควบคู่ไปกับพื้นที่ปลูกที่ขยายออกไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ทำให้มีการปลูกมันสำปะหลังเป็นการค้าในระยะแรก แต่อุตสาหกรรมแป้งเพื่อส่งออกมิได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เหมือนกับการส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์
การใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อการเลี้ยงสัตว์เริ่มประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๙ สมัยนั้นมีชาวเยอรมันทดลองนำเอาขี้แป้ง ซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากการทำแป้งมันสำปะหลังไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้ผลเป็นที่พอใจคุ้มกับราคา แต่ขี้แป้งซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการทำแป้งมันสำปะหลังมีไม่มากพอกับความต้องการของตลาดยุโรป จึงมีผู้ริเริ่มเอาหัวมันสำปะหลังสดมาหั่นเป็นชิ้นๆ นำมาตากแห้งและบดด้วยหินบดข้าวเป็นมันป่น ปรากฏว่ามันป่นที่ได้จากการบดหัวมันสำปะหลังนี้ เป็นที่นิยมของโรงงานอาหารสัตว์ในยุโรป ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีผู้นำเอากากมันสำปะหลังที่ทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังมาผสมปนรวมกันเรียกว่า กากมันป่น(waste meal) ในราวปี พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๔ เป็นสินค้าที่ขายดี ปรากฏว่ามีผู้ปลอมปนมันสำปะหลังป่นกันมากขึ้น โดยผสมกับดิน ทราย แกลบ ขี้เลื่อยมาบดปนลงไปบ้าง ผู้ซื้อในยุโรปจึงหันมาซื้อมันเส้นแทน มันเส้นทำได้โดยนำหัวมันสำปะหลังสดมาโม่เป็นชิ้นๆ แล้วตากแดดให้แห้ง ระยะนั้นชาวชลบุรีได้คิดเครื่องทำมันเส้นขึ้นแล้ว การส่งมันเส้นออกจำหน่ายในยุโรปจึงดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๑ ได้มีบริษัทสั่งเครื่องอัดเม็ดมาจากต่างประเทศเพื่อทำมันสำปะหลังอัดเม็ด โดยใช้มันเส้นเข้าเครื่องอัดออกมาเป็นแท่งเหมือนแท่งชอล์ก เพื่อใช้ส่งออกขายแทนมันเส้นซึ่งมีน้ำหนักเบา เปลืองเนื้อที่บรรทุกในระวางเรือมาก เสียค่าขนส่งสูง และต่อมาวิศวกรไทยได้สร้างเครื่องอัดเม็ดเลียนแบบของต่างประเทศเป็นผลสำเร็จ และใช้ได้ดีทั้งราคาถูกว่าสั่งจากต่างประเทศ ปัจจุบันเครื่องอัดเม็ดในโรงงานมันสำปะหลังอัดเม็ดส่วนใหญ่เป็นเครื่องอัดเม็ดที่ทำขึ้นในประเทศไทย
ความต้องการมันสำปะหลังอัดเม็ดในยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดชลบุรีและระยองมาแต่เดิมผลิตมันสำปะหลังไม่พอกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจึงได้แผ่ขยายไปยังส่วนอื่นๆ ของประเทศอย่างรวดเร็ว ทั้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ แต่พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ขยายไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทยเพิ่มจาก ๔ แสนไร่เศษในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นมากกว่า ๔ ล้านไร่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ส่งออกจำหน่ายต่างประเทศที่สำคัญที่สุด คือ มันสำปะหลังอัดเม็ด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ประเทศไทยส่งมันสำปะหลังอัดเม็ดออกจำหน่ายต่างประเทศถึง ๒.๑ ล้านตัน แต่ที่ส่งแป้งมันสำปะหลังออกเพียง ๑ แสน ๔ หมื่นตัน เนื่องจากประเทศไทยสามารถผลิตข้าว ได้เพียงพอกับความต้องการของพลเมือง การใช้มันสำปะหลังสำหรับบริโภคในประเทศมีน้อย จึงฃสามารถส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังออกจำหน่ายได้มากที่สุดในโลก แม้ประเทศบราซิล อินโดนีเซียไนจีเรีย และแซร์ จะผลิตมันสำปะหลังได้มากกว่าไทย แต่ใช้บริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ปริมาณของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่งออก ประมาณ ๘๐เปอร์เซ็นต์ในตลาดโลก จึงไปจากประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย, ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย หมายถึง, ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย คือ, ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย ความหมาย, ประวัติความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!