ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เครื่องปั้นภาคเหนือ, เครื่องปั้นภาคเหนือ หมายถึง, เครื่องปั้นภาคเหนือ คือ, เครื่องปั้นภาคเหนือ ความหมาย, เครื่องปั้นภาคเหนือ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เครื่องปั้นภาคเหนือ

          ในพ.ศ. ๑๘๓๙ พระเจ้ามังรายได้ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง โดยรวมอาณาจักรหริภุญชัยกับแคว้นเชียงรายเข้าด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการก่อตั้งอาณาจักรล้านนาขึ้นในปีนั้น อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเมื่อพ.ศ. ๒๑๐๑ ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕) อาณาจักรล้านนาได้เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงธนบุรี และเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน

          เครื่องปั้นภาคเหนือ หรือบางท่านเรียกว่าเครื่องถ้วยล้านนา มีแหล่งผลิตกระจายกันอยู่หลายแห่ง ช่วงระยะเวลาที่มีการผลิตอยู่ระหว่างตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ งานผลิตส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นเคลือบสีเขียวไข่กาตัวภาชนะก่อนเคลือบเนื้อค่อนข้างหยาบ  แหล่งผลิตที่ได้ค้นพบและมีการศึกษาแล้ว ได้แก่
          - แหล่งเวียงกาหลง ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
          - แหล่งสันกำแพง ตำบลออนใต้  อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
          - แหล่งบ้านโป่งแดง ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
          - แหล่งวังเหนือ ตำบลบ้านพริก อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
          - แหล่งห้วยแม่ต๋ำ ตำบลแม่ทา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

          นอกจากแหล่งดังกล่าวซึ่งมีการขุดค้นเพื่อศึกษาแล้ว ยังได้พบแหล่งผลิตที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และที่อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน อีกด้วย เครื่องปั้นที่ผลิตจากทุกแหล่งที่กล่าวมาแล้ว มีลักษณะทั่วไปทั้งรูปทรงภาชนะ ลวดลายตกแต่ง และสีที่เคลือบคล้ายคลึงกันมาก

          เครื่องปั้นที่ค้นพบส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นเคลือบ ได้พบเตาเผาเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ในเขตตำบลออนใต้ โดยทั่วไปเนื้อดินที่นำมาทำเครื่องปั้นค่อนข้างหยาบ ตัวภาชนะเมื่อเผาก่อนเคลือบเป็นสีเทาถึงสีเทาดำ ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตจึงทาน้ำดินสีขาวรองพื้นที่ขอบปากและที่ตัวภาชนะด้านในก่อนนำไปเขียนลวดลายตกแต่ง หรือเคลือบเครื่องปั้นเคลือบจากแหล่งผลิตนี้มีทั้งประเภทเคลือบสีน้ำตาล เคลือบสีเขียว รูปแบบของภาชนะที่ผลิตได้แก่ จาน ชาม ชามก้นลึก ไห กระปุกกุณโฑ การตกแต่งลวดลาย เป็นการวาดลวดลายที่ต้องการด้วยสีน้ำตาลหรือสีดำ ลงบนผิวภาชนะก่อนนำไปเคลือบ ลายที่นิยมตกแต่งบนก้นจานมากที่สุดคือ รูปปลา และรูปปลาสองตัวว่ายตามกันเป็นวงกลม นอกจากนั้นมักเป็นลายช่อดอกไม้ ลายพันธุ์พฤกษา กับได้พบลวดลายและรูปแบบภาชนะ ที่ลอกเลียนแบบจากจีนและที่เวียดนามรวมอยู่ด้วย งานผลิตเครื่องปั้นของแหล่งนี้อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๑


เครื่องปั้นภาคเหนือ, เครื่องปั้นภาคเหนือ หมายถึง, เครื่องปั้นภาคเหนือ คือ, เครื่องปั้นภาคเหนือ ความหมาย, เครื่องปั้นภาคเหนือ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu