ด้วงงวงเจาะลำต้น
ด้วงงวงเจาะลำต้น, ด้วงงวงเจาะลำต้น หมายถึง, ด้วงงวงเจาะลำต้น คือ, ด้วงงวงเจาะลำต้น ความหมาย, ด้วงงวงเจาะลำต้น คืออะไร
Pempherulus affinis Faust
ชีวประวัติและรูปร่างลักษณะ
ไข่ ด้วงงวงตัวเมียจะใช้ปากแทะเจาะรูเข้าไป แล้ววางไข่ภายในโคนต้นระดับผิวดิน ตัวหนึ่งวางไข่ เฉลี่ย ๕๐ ฟอง วางได้สูงสุด ๑๒๑ ฟอง ภายในระยะเวลา ๖๐-๘๐ วัน ลักษณะของไข่อาจกลม รูปไข่ หรือเป็นท่อนยาว แล้วแต่รูที่ด้วงเจาะ สีขาวขุ่น ปกติจะยาว ๐.๔ มิลลิเมตร กว้าง ๐.๒๙ มิลลิเมตร อาจวางไข่ ๗-๘ ฟองบนฝ้ายต้นหนึ่ง ระยะฟักตัวของไข่ ๗-๘ วัน
หนอน เจาะอุโมงค์บนเยื่อรอบเนื้อไม้จากทางบนลงล่างของลำต้น กัดกินเนื้อเยื่ออ่อน ระยะเป็นหนอน ๓๕-๕๗ วัน หนอนโตเต็มที่จะสร้างทางผ่านเนื้อไม้ออกไปถึงผิวไม้ และเหลือไว้เพียงบางๆ แล้วหนอน จะทำอุโมงค์สำหรับพักเข้าดักแด้ในเนื้อไม้
ดักแด้ สีขาวในระยะแรก แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก่อนจะออกเป็นตัวเต็มวัย
ตัวเต็มวัย ออกจากต้นฝ้าย โดยเจาะผ่านเปลือกไม้ อาหารของตัวเต็มวัย คือ เปลือกไม้ มีชีวิตยาว ๒๕-๓๐ วัน ลำตัวยาวประมาณ ๔ มิลลิเมตร กว้าง ๐.๕ มิลลิเมตร
ถิ่นที่อยู่อาศัย
พบด้วงงวงเจาะลำต้นระบาดประปรายในแหล่งปลูกฝ้ายทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่น สุโขทัย แพร่ เพชรบูรณ์ เลย
ด้วงงวงเจาะลำต้น, ด้วงงวงเจาะลำต้น หมายถึง, ด้วงงวงเจาะลำต้น คือ, ด้วงงวงเจาะลำต้น ความหมาย, ด้วงงวงเจาะลำต้น คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!