ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์, การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์ หมายถึง, การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์ คือ, การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์ ความหมาย, การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์

          ข้าวโพดถูกจัดลำดับทางพฤกษศาสตร์ ดังนี้
          วงศ์ (Family) กรามีนีอี (Gramineae) ซึ่งรวมพวกหญ้า ไม้ไผ่  และธัญพืชอื่น ๆ
          วงศ์ย่อย  (Sub-Family) ปานิคอยดีอี (Panicoideae)  ซึ่งรวมข้าวฟ่าง ลูกเดือย  และอ้อย
          เผ่า (Tribe) เมย์ดีอี (Maydeae) ซึ่งรวมสกุล (Genus) ซี ทริพซาคัมและยูกลีนา (Zea,Tripsacum  และ Euchlaena)
          สกุล (Genus) ซี (Zea)
          ชนิด (Species) เมย์ส (mays)

          ลักษณะทั่ว ๆ ไปและลักษณะทางพฤกษศาสตร์
          ราก   รากแรกที่ออกมาจากคัพภะ   (embryo)  เป็นรากชั่วคราว เรียกว่า  ไพรมารี  (primary)  หรือ  เซมินัล (seminal) หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ  ๗-๑๐  วัน  รากถาวรจะงอกขึ้นรอบ ๆ ข้อปลาย ๆ ในระดับใต้พื้นดินประมาณ ๑-๒ นิ้ว รากถาวรนี้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแผ่ออกไปโดยรอบประมาณ  ๑๐๐ เซนติเมตร และแทงลึกลงไปในดินแนวดิ่งยาวมาก  ซึ่งอาจยาวถึง  ๓๐๐  เซนติเมตร  รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย  (fibrous root system) นอกจากรากที่อยู่ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว  (brace  root) ซึ่งเกิดขึ้นรอบ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน และบางครั้งรากพวกนี้ยังช่วยหยั่งยึดพื้นดินอีกด้วย
          ลำต้น  ข้าวโพดมีลำต้นแข็ง  ไส้แน่นไม่กลวง มีความยาวตั้งแต่ ๓๐  เซนติเมตร  จนถึง ๘ เมตร แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ ตามลำต้นมีข้อ (node) และปล้อง  (internode) ปล้องที่อยู่ในดินและใกล้ผิวดินสั้น และจะค่อย ๆ ยาวขึ้นไปทางด้านปลาย  ปล้องเหนือพื้นดินจะมีจำนวนประมาณ ๘-๒๐ ปล้อง พันธุ์ข้าวโพดส่วนมาก  ลำต้นสดมีสีเขียว แต่บางพันธุ์มีสีม่วง ข้าวโพดแตกกอไม่มากนัก  ส่วนมากไม่แตกกอทั้งนี้ แล้วแต่ชนิดพันธุ์และสิ่งแวดล้อม  ข้าวโพดที่แตกกอได้  ๓-๔  ต้น เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดที่ปลูกในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ๆ อาจแตกกอได้ตั้งแต่  ๗-๑๐ ต้น
          ใบ ข้าวโพดมีใบลักษณะยาวรี คล้ายพืชตระกูลหญ้าทั่วไป ประกอบด้วย ตัวใบ  กาบใบ และเขี้ยวใบ  ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสีเขียว บางพันธุ์ใบสีม่วงและบางพันธุ์ใบลาย จำนวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่ ๘-๔๘ ใบ
          ดอก ข้าวโพดจัดเป็นพวกโมโนอิเชียส (monoecious) คือ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกอยู่ในต้นเดียวกัน  ช่อดอกตัวผู้  (tassel) อยู่ตอนบนสุดของลำต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมีอับเกสร (anther) ๓ อับ แต่ละอับจะมีเรณูเกสร (pollen grain) ประมาณ ๒,๕๐๐ เม็ด   ดังนั้นข้าวโพดต้นหนึ่งจึงมีเรณูเกสรอยู่เป็นจำนวนหลายล้าน  และสามารถปลิวไปได้ไกลกว่า ๒,๐๐๐  เมตร   ส่วนดอกตัวเมียอยู่รวมกันเป็นช่อ เกิดขึ้นตอนข้อกลาง ๆ  ลำต้น ต้นหนึ่งอาจมีหลายช่อแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกตัวเมียแต่ละดอกประกอบด้วยรังไข่  (ovary) และเส้นไหม (silk หรือ style) ซึ่งมีความยาวประมาณ ๕-๑๕  เซนติเมตร และยื่นปลายโผล่ออกไปรวมกันเป็นกระจุก  อยู่ตรงปลายช่อดอกซึ่งมีเปลือกหุ้มอยู่ ดอกพวกนี้พร้อมที่จะผสมพันธุ์ หรือรับละอองเกสรได้เมื่อเส้นไหมโผล่ออกมา หลังจากได้รับการผสมเส้นไหมจะแห้งเหี่ยว  และรังไข่เจริญเติบโตเป็นเมล็ด ช่อดอกตัวเมียที่รับการผสมแล้วเรียกว่า ฝัก (ear)  แต่ละฝักอาจมีเมล็ดมากถึง ๑,๐๐๐  เมล็ด  แกนกลางของฝักเรียกว่า ซัง  (cob) ปกติดอกตัวผู้จะบานพร้อมที่จะผสมก่อนดอกตัวเมีย  ดั้งนั้นจึงเป็นพืชที่ผสมข้ามพันธุ์   (cross-pollination)   ตามธรรมชาติมีการผสมตัวเอง  (self-pollination) เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์, การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์ หมายถึง, การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์ คือ, การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์ ความหมาย, การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu