การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การกระตุ้นเซลล์หรือชิ้นส่วนพืชให้เกิดการเจริญเติบโต หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการบนอาหารสังเคราะห์ ภายใต้สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ที่สามารถควบคุมได้ในสภาพที่ปลอดเชื้อ โดยใช้สมดุลของสารควบคุมการเจริญเติบโต พืช เป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของเนื้อเยื่อที่นำมาทำการเพาะเลี้ยง
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเริ่มต้นขึ้น จากการศึกษาที่พบว่าเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่แยกออกมาจากพืชมีความสามารถที่จะพัฒนากลับจนเกิดเป็นต้นพืชสมบูรณ์ขึ้นใหม่ได้ ทำให้เกิดการทดลองเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ของพืชบนอาหารสังเคราะห์ จนในปัจจุบันสามารถทำการเพาะเลี้ยงอวัยวะเซลล์ และเซลล์ไร้ผนังหรือโพรโทพลาสต์ (protoplast) ของพืชหลายชนิด รวมทั้งการพัฒนาสูตรอาหารสังเคราะห์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงในแต่ละชนิดของพืช และมีการใช้วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านต่างๆ เข้ามาร่วม เพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านชีวเคมี พันธุศาสตร์ และการปรับปรุงพันธุ์ ทำให้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ทั้งทางด้านการเกษตร การแพทย์ และการอุตสาหกรรม เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสามารถแบ่งออกตามวิธีการได้หลายชนิด ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ได้แก่
ประโยชน์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซลล์แขวนลอย ได้แก่ การนำมาใช้ศึกษาถึงกระบวนการเมแทบอลิซึมภายในเซลล์ การศึกษาการทำงานของเอนไซม์และการแสดงออกของยีน ตลอดจนเพื่อการผลิตเซลล์ไร้ผนังและคัพภะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป