ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ปอแก้ว, ปอแก้ว หมายถึง, ปอแก้ว คือ, ปอแก้ว ความหมาย, ปอแก้ว คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ปอแก้ว

          ปอแก้วแบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด  คือ ปอแก้วไทย (Thai Kenaf or roselle)  หรือที่เรียกว่า  "ปอแก้ว"  ในปัจจุบัน และปอคิวบา (Cuban Kenaf)  ปอแก้วและปอคิวบาเป็นพืชในวงศ์มัลวาซีอี (Malvaceae) เช่นเดียวกับฝ้าย  และอยู่ในสกุลเดียวกันคือ  ไฮบิสคุส  (Hibiscus) แต่ต่างชนิดกัน
          ๑.  ปอแก้ว ปอแก้วเป็นปอพื้นเมืองซึ่งปลูกกระจัดกระจายในแอฟริกาและอินเดีย  มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันตกของประเทศซูดานเป็นพืชให้เส้นใยที่ได้จากเปลือกของลำต้น รู้จักกันดีในอียิปต์และอินเดียมาหลายศตวรรษแล้วต่อมาปลูกกันแพร่หลายในทวีปเอเชีย  อเมริกาใต้และแอฟริกา  ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ ดร.วิลเลียม ล็อกซ์เบิร์ก (Dr.William Loxberg) ได้นำมาทดลองปลูกตามบริเวณฝั่งทะเลโคโรแมนเดลของอินเดีย และที่สวนพฤกษชาติของกัลกัตตาเชื่อว่าแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใยจากปอแก้วได้เกิดขึ้นในอินเดียเป็นแห่งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ พีเจ เวบสเตอร์ (P.J. Webster) ได้ค้นคว้าพบว่า ปอแก้วที่ปลูกกันมากทางโกลด์โคสต์ (Gold coast) ของแอฟริกาตะวันตกมีลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาน้อยมาก จึงตั้งชื่อย่อยว่า แอลติสซิมา  (Var.  altissima) ซึ่งได้ปลูกแพร่กระจายทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศไทย เพื่อใช้ผลิตกระสอบบรรจุธัญพืชและน้ำตาลทราย
          ปอแก้วมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าไฮบิสคุส  ซับดาริฟฟา (Hibiscus sabdariffa) มีชื่อพื้นเมืองเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่ปลูก เช่น โรแซลล์ (roselle)  ปูซาเฮมพ์ (pusa hemp) และชันนี (channi) เป็นต้น ปอแก้วมี  ๒ ชนิด คือ ชนิดที่ใช้กลีบรองดอกเป็นอาหารที่เรียกว่า กระเจี๊ยบและชนิดที่ใช้เปลือกทำเส้นใย
          ๒. ปอคิวบา ปอคิวบามีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาแถบแองโกรา ซึ่งภูมิประเทศมีลักษณะร้อนชื้นอยู่ระหว่างเส้นละติจูด ๔๐° - ๔๘° เหนือแล้วต่อมาจึงกระจัดกระจายออกไปแถบรัสเซียและแมนจูเรีย  จนถึงเส้นละติจูด ๓๐°ใต้

          ปอแก้วและปอคิวบามีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่แตกต่างกันตรงที่รูปร่างหรือขนาดเท่านั้นส่วนอื่น ๆ มีลักษณะใกล้เคียงกันมากดังนี้
          ๑. ระบบราก   มีรากแก้วหยั่งลงไปในดินลึกประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร
          ๒. ลำต้น  สูงเรียวตั้งตรง ๓-๔ เมตร  ไม่แตกกิ่ง มีสีเขียว สีม่วงแดง มีสีเขียวปนแดง มีทั้งผิวเรียบหรือมีหนาม
          ๓. ใบ  เกิดสลับกันบนลำต้น   สำหรับปอแก้วเป็นใบชนิดใบประกอบ (palmately  compound)  ใบหนึ่ง ๆ มีลักษณะแยกเป็นแฉกคล้ายนิ้วมือ ส่วนปอคิวบาเป็นใบชนิดใบเดี่ยว และใบประกอบ อาจจะพบทั้งสองชนิดบนต้นเดียวกัน ขอบใบของปอแก้วและปอคิวบามีหยักคล้ายฟันเลื่อย
          ๔. ดอก เป็นดอกเดี่ยว  มีกลีบดอก ๕ อัน สีเหลืองที่ฐานดอกมีสีม่วงและออกดอกในช่วงวันสั้น เป็นพืชผสมตัวเอง
          ๕. ฝัก มีลักษณะกลม  ปอคิวบาจะมีขนมาก มีเมล็ด ๒๐-๕๐ เมล็ดต่อฝัก
          ๖. คุณภาพเส้นใย   ปอคิวบาจะให้คุณภาพเส้นใยดีกว่าปอแก้ว ปอทั้งสองชนิดนี้  ในต้นหนึ่ง ๆ จะให้ปริมาณเส้นใย ประมาณร้อยละ ๔-๖
          ๗. สภาพพื้นที่ ปอคิวบามีความทนต่อความแห้งแล้งได้น้อยกว่าปอแก้ว แต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพน้ำขัง และทนต่อการระบาดของโรคและแมลงได้น้อยกว่าปอแก้ว
          ๘. อายุการเก็บเกี่ยว เมื่อปอออกดอกประมาณร้อยละ ๕๐ ของลำต้น (๑๕๐-๑๖๐ วัน)

ปอแก้ว, ปอแก้ว หมายถึง, ปอแก้ว คือ, ปอแก้ว ความหมาย, ปอแก้ว คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu