ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การกรีดเอาน้ำยาง, การกรีดเอาน้ำยาง หมายถึง, การกรีดเอาน้ำยาง คือ, การกรีดเอาน้ำยาง ความหมาย, การกรีดเอาน้ำยาง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การกรีดเอาน้ำยาง

          ความเจริญงอกงามของต้นยางนั้น  ถ้าได้รับการบำรุงรักษาอย่างดีตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ต้นยางจะโตได้ขนาดกรีดเอาน้ำยางได้ภายใน ๕-๖ ปี แต่ถ้าปล่อยให้มีวัชพืชหรือหญ้าคารบกวนแล้ว กว่าจะกรีดได้อาจต้องรอไปเป็น ๙ หรือ ๑๐ ปี ทำให้ขาดรายได้ไปมาก ถ้าต้นยางได้รับการบำรุงรักษาดี หรือมีอาหารอยู่ในดินเพียงพอ  ต้นยางจะสูงและลำต้นจะโตได้ขนาดตามที่ควรจะเป็นดังนี้
ความเจริญของต้นยาง (ต้นติดตา) นับตั้งแต่วันปลูก
(วัดลำต้นตรงที่สูงจากพื้นดิน ๑.๕ เมตร)

อายุ

ลักษณะความเจริญ

๔ เดือน
๘ เดือน
๑๒ เดือน
๑๘ เดือน
๒๔ เดือน
๒ - ๓ ปี
๓ - ๔ ปี
๔ - ๕ ปี
๕ - ๖ ปี

  ควรจะแตกพุ่มใบ ๒ ชั้น
  ควรจะสูง ๑-๑.๕ เมตร
  ควรจะสูง ๒ เมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๘–๑๐ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๑๐–๑๗ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๒๐–๒๘ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๓๐–๓๙ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๔๐–๔๘ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๕๐–๕๘ เซนติเมตร
          โดยเฉลี่ยแล้วลำต้นจะโตขึ้นปีละประมาณ ๑๐  เซนติเมตร ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ลำต้นส่วนที่ใกล้พื้นดินจะโตเร็วกว่าต้นติดตาเล็กน้อย หากปรากฏว่า ต้นยางที่ปลูกมิได้เจริญตามขนาดข้างต้น จะต้องรีบหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไขโดยเร็วที่สุด
          เมื่อต้นยางเจริญเติบโตอายุได้ ๕-๖ ปี ควรจะศึกษาต่อไปว่า
          (๑) ควรจะเริ่มกรีดต้นยางเมื่อใด
          (๒) ควรเริ่มกรีดตรงส่วนไหนของต้นยาง
          (๓) วิธีกรีดต้นยางให้ถูกต้อง
          (๔) ควรจะใช้ระบบกรีดยางอย่างไร เพื่อมิให้ต้นยางทรุดโทรม
          (๕) การรองน้ำยางและการเก็บน้ำยาง           ถ้าเป็นต้นยางที่เกิดจากเมล็ด  ลักษณะของโคนต้นจะใหญ่กว่าลำต้น เปลือกตรงโคนต้นจะหนากว่าส่วนบนและมีน้ำยางมากที่สุดเฉพาะตรงโคนต้นเท่านั้น ยิ่งสูงขึ้นไปเท่าใดเปลือกจะยิ่งบางลง  และน้ำยางก็จะยิ่งมีจำนวนน้อยลง   ถ้าทดลองกรีดในระยะสูงต่าง ๆ  กัน จะปรากฏว่า  การกรีดสูงจากพื้นดินเพียง ๑๕ เซนติเมตร  จะได้น้ำยางมากกว่ากรีดในระยะสูงจากพื้นดิน ๔๕-๖๐  เซนติเมตร ประมาณ ๑/๒ เท่า แต่การที่น้ำยางออกมากเกินไป จะเป็นอันตรายแก่ต้นยาง ต้นยางอาจแคระแกร็น  หรือเป็นโรคเปลือกแห้ง จึงควรกรีดให้ได้น้ำยางพอสมควร และเริ่มกรีดได้เมื่อวัดลำต้นโดยรอบตรงที่สูงจาากพื้นดิน  ๗๕  เซนติเมตร  ได้ขนาดตั้งแต่ ๕๐ เซนติเมตรขึ้นไปให้เริ่มกรีดตรงที่สูงจากพื้นดิน ๗๕ เซนติเมตร

          ถ้าเป็นต้นยางที่ติดตา  ลักษณะต้นยางติดตากับต้นยางที่เกิดจากเมล็ดไม่เหมือนกัน สังเกตได้จากลักษณะของลำต้น   ถ้าเป็นต้นติดตาตั้งแต่โคนขึ้นไป  จนถึงคบมีขนาดเกือบเท่ากัน ต้นที่ติดตานี้ ความหนาของเปลือกและน้ำยางตั้งแต่โคนต้นขึ้นไป  จนถึงระดับสูง ๙๐-๑๒๕ เซนติเมตรไม่ต่างกันมากนัก  จึงให้เริ่มกรีดได้  เมื่อวัดลำต้นโดยรอบตรงที่สูงจากรอยติดตา  ๑๒๕ เซนติเมตร ได้ขนาดกว่า  ๕๐ เซนติเมตร ให้เริ่มกรีดตรงที่สูงจากรอยติดตาขึ้นไป ๑๒๕ เซนติเมตร
          วิธีวัดขนาดต้นยาง   การวัดขนาดลำต้นของต้นยางนั้น ถ้าหากมีจำนวนต้นยางเป็นจำนวนมากหลายร้อย หลายพันต้น ควรใช้ไม้แบบสำหรับวัด โดยใช้ไม้คล้ายไม้บรรทัดขนาดใหญ่ ยาวเท่ากับความสูงจากพื้นดินถึงตรงที่จะวัดขนาดต้นยาง คือ สูง ๗๕ เซนติเมตร สำหรับต้นที่ปลูกด้วยเมล็ด  และ ๑๒๕ เซนติเมตรจากรอยติดตาสำหรับต้นติดตา ตรงปลายมีลวดยาว ๕๐ เซนติเมตร  ใช้ไม้วัดตั้งที่พื้นดินหรือตรงรอยติดตาแล้วแต่กรณีแล้วใช้ลวดโอบรอบต้นยาง ถ้าลวดชนกันพอดีหรือลวดไม่ถึงกัน แสดงว่าต้นยางนั้นมีขนาดโตพอที่จะกรีดได้แล้ว

          จำนวนต้นยางกรีดได้ต้องมี  ๓ ใน ๔ ของต้นยางทั้งหมดจึงค่อยเปิดกรีด ในการเปิดกรีดนั้น ควรรอให้ต้นยางโตสมบูรณ์ได้ขนาดกรีดไม่น้อยกว่า ๓  ใน  ๔  ของจำนวนต้นยางทั้งหมด มิฉะนั้น  จะทำให้เปลือกที่ใช้ไปในการกรีดของแต่ละต้นสูงไม่สม่ำเสมอ  ลักลั่นกันมากไป และจะมีต้นยางที่ละเว้นไม่กรีดไว้มาก จะไม่สะดวกแก่ผู้กรีดยาง แต่ถ้าเป็นสวนยางขนาดเล็กเนื้อที่ไม่เกิน ๕-๖ ไร่ เจ้าของสวนต้องการได้รายได้เร็วก็ไม่จำเป็นต้องรอ

การกรีดเอาน้ำยาง, การกรีดเอาน้ำยาง หมายถึง, การกรีดเอาน้ำยาง คือ, การกรีดเอาน้ำยาง ความหมาย, การกรีดเอาน้ำยาง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu