การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑)
การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑), การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) หมายถึง, การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) คือ, การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ความหมาย, การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) คืออะไร
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔หลังจากที่ได้ทรงผนวชมาเป็นเวลาถึง ๒๗ ปี ตลอดเวลานั้นได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ วิชาการแผนใหม่ และความเป็นไปของโลกและประเทศใกล้เคียง ทรงเห็นว่าไทยกล้าเกินไปที่ตอบปฏิเสธสนธิสัญญาของ เซอร์ เจมส์ บรูค อังกฤษน่าจะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับไทยง่ายๆ และเป็นจริงตามพระราชดำริ กล่าวคือ พ.ศ. ๒๓๙๘ อังกฤษได้ส่งเซอร์ จอห์นบาวริง (Sir John Bowring) ทูตคนที่ ๔ มายังกรุงเทพฯ ทูตผู้นี้เป็นผู้แทนของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย จึงมีฐานะสูงกว่าทูตที่แล้วๆ มา รัฐบาลไทยได้ให้การต้อนรับเซอร์จอห์น บาวริง อย่างสมเกียติ ได้ตกลงทำสัญญากันเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘สัญญาฉบับนี้ไทยเสียเปรียบอังกฤษหลายประการ เช่น การอนุญาตให้มีศาลกงสุล (หรือที่เรียกว่าสิทธิสภาพนอกอาณาเขต) และภาษีขาเข้าร้อยละ ๓ เป็นต้น อำนาจศาลกงสุลทำให้เราเสียอธิปไตยทางการศาล และสัญญานี้ยังไม่มีข้อความบอกเลิก เป็นสัญญาที่ไม่เสมอภาค ผูกมัดเมืองไทยมาเกือบร้อยปี แต่ไทยยอมทำสัญญาฉบับนี้ก็เพราะไทยเปลี่ยนนโยบายของประเทศ หันมา "คบฝรั่ง" และโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องที่อังกฤษเสนอเพื่อมิให้ต้องเสียเอกราชของบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าถึงเวลาที่ไทยจะต้องเปลี่ยนวิเทโศบายเพื่อประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อความปลอดภัยของประเทศ และเพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก หลังจากทำสัญญากับอังกฤษแล้ว ประเทศต่างๆ ในยุโรปรวมทั้งสหรัฐอเมริกาก็ได้ส่งผู้แทนมาเจรจาขอทำสัญญาเช่นเดียวกันบ้าง สถานกงสุลของประเทศต่างๆ ก็ตั้งขึ้นในกรุงเทพฯ ตามสัญญาเช่น สถานกงสุลอเมริกันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ มี สตีเฟน แมททูน (StephenMattoon) ที่คนไทยเรียกกันว่า "หมอมะตูน" เป็นกงสุลคนแรก สถานทูตอังกฤษก็ตั้งขึ้นในปีเดียวกัน มีนาย ซี บี ฮิลเลียร์ (C.B. Hillier) เป็นกงสุลคนแรก ต่อมาเปลี่ยนเป็นเซอร์ โรเบิร์ต ชอมเบิร์ก (Sir Robert Schomburgh) และทอมัส ยอร์จ นอกซ์ (ThomasGeorge Knox) ตามลำดับ ในรัชกาลที่ ๔ นี้เองที่ไทยได้ส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรียังประเทศในยุโรปเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ทรงแต่งตั้งพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นราชทูตไปลอนดอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ และพระยาศรีพิพัฒน์(แพ บุนนาค) เป็นทูตไปปารีส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓
การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑), การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) หมายถึง, การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) คือ, การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ความหมาย, การต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!