สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หมายถึง, สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือ, สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ความหมาย, สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คืออะไร
ก่อนที่จะมีการก่อตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ นั้น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รวมอยู่กับทรัพย์สินส่วนพระองค์ ในความดูแลของสำนักงานพระคลังข้างที่ สังกัดสำนักพระราชวัง ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรเกี่ยวกับทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๗” มีผลทำให้ต้องแบ่งแยกทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งต้องเสียภาษีอากร และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีอากรในการนี้ รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการพิจารณาแบ่งแยกทรัพย์สินต่างๆ ว่า ทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์หรือทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ได้มีการประกาศให้ “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙” กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์แต่ละประเภทมีคำจำกัดความตามมาตรา ๔ ดังนี้
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว ก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย
ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าพระราชวัง
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้ว”
ในส่วนของ “ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” นั้นให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีที่ปรึกษาคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และกรรมการอก ๔ คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ในปีพุทธศักราช๒๔๘๑ จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานขึ้นเรียกว่า“สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” มีฐานะเทียบเท่ากอง ขึ้นอยู่กับกรมคลัง กระทรวงการคลัง และรับมอบหน้าที่การงาน ตลอดจนข้าราชการบางส่วนซึ่งโอนมาจากสำนักงานพระคลังข้างที่
ต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ ได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๑” ยกฐานะสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการผลประโยชน์อันเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีอำนาจดูแลกิจการโดยทั่วไปของสำนักงาน คณะกรรมการประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า ๔ คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง และในจำนวนนี้ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หนึ่งคน ผู้อำนวยการสำนักงานมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบหมาย และมีอำนาจลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แบ่งส่วนบริหารงานภายโนออกเป็น ๒ ส่วน คือ การบริหารงานสวนกลาง และการบริหารงานส่วนภูมิภาค
การบริหารงานส่วนกลาง มีการแบ่งส่วนการบริหารดังนี้
๑. คณะกรรมการ ๑ คณะ เรียกว่า “คณะกรรมการปรับปรุงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์”
๒. หน่วยงานระดับฝ่าย เเบ่งเป็น ๕ ฝ่าย คือ ฝ่ายธุรกิจ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายการเงิน และฝ่ายสนับสนุน
๓. หน่วยงานอิสระ (เทียบเท่าระดับกอง) ประกอบด้วย สำนักผู้อำนวยการ กองตรวจสอบ และสำนักงานแพทย์
การบริหารงานส่วนภูมิภาค การแบ่งส่วนการบริหารงานส่วนภูมิภาค มีผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่บริหารงานตามที่ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบหมาย โดยมีสำนักงานสาขาอยู่ ๑๑ แห่ง คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสาขาอำเภอบางปะอิน จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสงขลา และจังหวัดลำปาง
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หมายถึง, สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือ, สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ความหมาย, สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!