การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ, การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หมายถึง, การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ คือ, การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ความหมาย, การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ คืออะไร
การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าเราไม่ออกกำลังหรือออกกำลังไม่พอ ร่างกายก็ผิดปกติ หย่อนสมรรถภาพ บางครั้งถึงกับเป็นโรค ผู้ที่เป็นโรคเพราะเหตุดังนี้ หากได้ออกกำลังก็หายได้ ดังนั้น จึงเปรียบการออกกำลังว่าเป็นอาหารก็ได้ เป็นยาก็ได้
การออกกำลังในที่นี้ หมายความถึงการให้กล้ามเนื้อทำงานเพื่อประโยชน์ต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพ การทำงานอดิเรก หรือแม้การเล่นสนุก อีกคำหนึ่งที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันคือ "กีฬา" หมายความถึงการออกกำลังที่เป็นการเล่นอย่างมีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ เช่น แบดมินตัน ฟุตบอล รวมทั้งไม้หึ่งหรือตี่จับด้วย การกระโดดโลดเต้นไปตามเรื่องไม่ควรจะเรียกว่ากีฬา เป็นแต่เพียงการเล่น โดยเหตุผลทำนองเดียวกับการตักน้ำรดต้นไม้ก็ไม่ใช่กีฬา แต่ถ้ามีการแข่งขันตักน้ำใส่ตุ่ม ก็นับว่าเป็นกีฬาได้ เพราะจะมีกฎเกณฑ์และกำหนดเวลา ปัจจุบันนี้นิยมใช้คำว่า "กีฬา" สำหรับการใช้กำลังกายเพื่อประโยชน์อื่นๆ นอกจากงานอาชีพหรืองานประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้สำหรับการออกกำลังกายเพื่อประโยชน์เกี่ยว กับการบริหารกาย การเล่นสนุก และการแข่งขัน ชื่อของบทความนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้คำ "กีฬา" ตามความหมายในปัจจุบัน
ถ้าเรากินอาหารน้อยไปเราก็หิว ถ้ากินมากไปก็ท้องอืด ต้องกินพอดีๆ จึงจะสบาย การออกกำลังก็เช่นเดียวกัน ถ้าทำน้อยไปก็ไม่ได้ผล ทำมากไปก็มีโทษ ต้องทำให้พอเหมาะจึงจะได้ประโยชน์ที่ต้องการดังนั้น จึงควรทราบว่าเมื่อไรออกกำลังพอแล้ว ต่อไปนี้ เป็นวิธีง่ายๆ สำหรับใช้กับตัวเองหรือแนะนำผู้อื่นในเวลาออกกำลัง
๑. อาการเมื่อย เหมาะสำหรับใช้กับกายบริหาร กำหนดดูว่าส่วนที่กำลังใช้อยู่นั้นเริ่มมีอาการเมื่อยเมื่อใด (ตัวอย่างเช่น เริ่มเมื่อยเมื่อ "ชกลม" ได้ ๑๐ ครั้ง) ลองทำต่อไปอีกประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๑ ใน ๕ ของที่ทำแล้ว จึงหยุด สังเกตว่าอาการเมื่อยที่เกิดแต่ต้นนั้นจะคงอยู่ต่อไปอีกนานสักเท่าใด ถ้าหายไปในเวลาสองสามชั่วโมง แสดงว่าที่ทำแล้วยังไม่พอ ควรจะเพิ่มได้อีก ถ้าหายภายใน ๒๔ ชั่วโมง แสดงว่าพอเหมาะแล้ว ถ้ายังเมื่อยอยู่เกิน ๓๖ ชั่วโมง แสดงว่าที่ทำนั้นมากเกินควร ครั้งต่อไป ต้องลดลง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มออกกำลัง จะได้ทราบความสามารถของ ตัว เมื่อกำหนดได้แล้วก็ออกกำลังไปตามนั้น ภายในระยะหนึ่งจะสังเกตว่า เมื่อยน้อยลง หรือไม่เมื่อยเลยนี้แปลว่าร่างกายมีสมรรถภาพสูงขึ้นแล้ว ถ้าต้องการให้เพิ่มขึ้นอีกก็ต้องออกกำลังให้มากขึ้น โดยลองสังเกต เช่นในครั้งแรก ทำเป็นขั้นๆ ไปเช่นนี้จนได้ผลที่ต้องการ
ข้อพึงจำคือหากออกกำลังเป็นประจำจนสมรรถภาพสูงขึ้นแล้ว ถ้าเว้นว่างไปเสีย สมรรถภาพจะลดลง ภายในหนึ่งสัปดาห์สมรรถภาพที่สูงขึ้นจะกลับลดลงไปประมาณร้อยละ ๓๐ และหมดสิ้นไปภายในสามสัปดาห์ ข้อนี้จะต้องระลึกถึงเมื่อกลับเริ่มออกกำลังใหม่ จะออกมากหรือหนักเท่าที่เคยไม่ได้ แต่ต้องลดน้อยลงตามส่วน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นใหม่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันผลร้ายของการออกกำลังเกิน
เช่นที่เคยเกิดขึ้นกับนักกีฬาเก่งๆ ที่เว้นว่างกายฝึกซ้อมไปนาน เมื่อกลับมาเล่นใหม่ก็เล่นเต็มที่เหมือนเคยลืมนึกถึงความเสื่อมที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่ไม่ได้เล่นผลร้ายอาจมีตั้งแต่การบาดเจ็บน้อยหรือมากไปจนถึงกับอันตรายหนัก
๒. อาการเหนื่อย วิธีนี้เหมาะสำหรับการออกกำลังประเภทอดทน เช่น วิ่งเหยาะ (วิ่งช้าๆ เพื่อให้ได้ระยะทางมาก) สังเกตว่าวิ่งไปได้ระยะไกลหรือระยะเวลาประมาณเท่าใดจึงเริ่มมีอาการหอบปานกลางจะประมาณจากความรู้สึกว่าเหนื่อยค่อนข้างมากก็ได้หรือจะนับจำนวนครั้งที่หายใจใน ๑ นาทีก็ได้ สำหรับวิธีหลังนี้ต้องนับไว้ก่อนว่าเวลาอยู่เฉยๆ หายใจนาทีละกี่ครั้ง
(หายใจเข้า ๑ ที หายใจออก ๑ ที นับเป็น ๑ ครั้ง)สมมติว่า ๒๐ ครั้ง เมื่อออกกำลังไปจนรู้สึกเหนื่อยค่อนข้างมากก็ลองนับดูใหม่ ถ้าการหายใจเพิ่มขึ้นไปเป็น ๒๖ หรือ ๒๘ ครั้งต่อนาที (คือเพิ่มร้อยละ ๓๐-๔๐) ก็ควรจะหยุดได้ ตัวเลขที่แสดงนี้เป็นเพียงตัวอย่างให้เข้าใจเท่านั้น แต่ละคนไม่เหมือนกัน ข้อสำคัญที่สุดคือความรู้สึกว่า "เหนื่อยค่อนข้างมากแล้ว"
โดยทำนองเดียวกับในข้อที่แล้ว หากออกกำลังซ้ำไปๆ อาการเหนื่อยจะเกิดช้าเข้าและจะสามารถออกกำลังได้นานหรือมากขึ้นกว่าเดิม เป็นผลของการปรับตัวและการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย
๓. อัตราชีพจร ผู้ที่สนใจการออกกำลังอย่างจริงจังควรนับชีพจรของตนเอง อาจนับที่ข้อมือหรือที่คอก็ได้ วิธีแรกใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางกดปลายลงไปในร่องข้างเอ็นข้อมือทางด้านโคนนิ้วหัวแม่มือ (ของอีกมือหนึ่ง) ขยับจนรู้สึกการเต้นของหลอดเลือดเป็นจังหวะ ถือนาฬิกาที่มีเข็มวินาทีไว้ในมือที่ถูกคลำ (หรือสวมไว้ในมือที่ใช้คลำ) นับการเต้นของชีพจรตามไปขณะที่ตาดูนาฬิกา นับชั่ว ๑๐ วินาทีแล้วคูณด้วย ๖ เป็นอัตราใน ๑ นาทีก็ได้ (วิธีนี้ไม่แม่นทีเดียว แต่ดีพอสำหรับการกีฬา)
วิธีนับชีพจรที่คอ เหมาะสำหรับผู้ไม่ชำนาญเพราะหาหลอดเลือดได้ง่าย ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางค่อยๆ กดลงไปที่ข้างลูกกระเดือกจนรู้สึกการเต้นของหลอดเลือด (อย่ากดหนักเกินจำเป็น) นับแบบเดียวกับที่ข้อมือ
๔. ผลตามหลัง ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังมาก่อน หลังจากออกกำลังครั้งแรก อาจมีอาการปวดข้อดึงกล้ามเนื้อหรือปวดกล้ามเนื้อด้วยในวันเดียวกันนั้นหรือวันรุ่งขึ้น และอาจเป็นอยู่ต่อไปอีกหนึ่งหรือสองวันเช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าอาการยังอยู่เกินสองวันควรสงสัยว่าการออกกำลังที่ได้ทำนั้นอาจจะมากเกินไปครั้งต่อไปควรทำให้น้อยลง
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ, การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หมายถึง, การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ คือ, การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ความหมาย, การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!