ภิกษุชาวเยอรมันรูปหนึ่ง ผู้แปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมันไว้บางตอน และได้เขียนหนังสืออธิบายความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาไว้มากทั้งในภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมันคือ พระภิกษุญาณติโลกะผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้เขียนหนังสือนำเที่ยวพระอภิธรรมปิฎกขึ้น ให้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า Guide Through the Abhidhamma-pitaka เปรียบเทียบ พระไตรปิฎกฉบับไทยกับฉบับที่พิมพ์ด้วยอักษรโรมันในประเทศอังกฤษไว้ ๒ ตอน ตอนแรกในหนังสือเล่มที่กล่าวหน้า ๒ บทนำ แสดง ความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอย่างลึกซึ้งต่อบาลีพระอภิธรรมปิฎกฉบับไทยซึ่งพระราชทานไปประเทศต่าง ๆ ว่ามีถึง ๖,๒๙๔ หน้า ขนาด ๘ หน้ายก แต่ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษไปแล้วเพียง ๑,๑๕๒ หน้า ตอนที่ ๒ กล่าวไว้ในหน้า ๑๑๔ ของหนังสือเล่มเดียวกันว่า คัมภีร์ปัฏฐานฉบับพระไตรปิฎกอักษรไทยมีถึง ๖ เล่ม รวม๓,๑๒๐ หน้า แต่ฉบับของสมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษมีพิมพ์ไว้เพียง ๕๔๙ หน้า แสดงให้เห็นความสมบูรณ์แห่งพระไตรปิฎกฉบับของประเทศไทยอย่างชัดเจน หนังสือเล่มนี้พิมพ์แล้ว ๒ ครั้ง ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๘๑ ครั้งหลัง พ.ศ.๒๔๙๖
พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย
พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย, พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย หมายถึง, พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย คือ, พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย ความหมาย, พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย คืออะไร
พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย, พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย หมายถึง, พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย คือ, พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย ความหมาย, พระภิกษุชาวเยอรมันกล่าวถึงพระไตรปิฎกฉบับไทย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!