
ภาวะกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อกระดูก ทำให้มีความหนาแน่นลดลง รวมทั้งโครงสร้างที่เปราะหักได้ง่าย ซึ่งปกติมวลเนื้อกระดูกของร่างกายมนุษย์จะมีความหนาแน่นสูงสุดอยู่่ในช่วงวัยหนุ่มสาวจนถึงอายุประมาณ ๓๐ ปี จากนั้นจะมีปัจจัยต่างๆที่ทำให้มวลเนื้อกระดูกลดลง ได้แก่ อายุเพิ่มมากขึ้น การหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโทรเจนที่ลดลง โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมทั้งการได้รับยาบางชนิดที่ทำให้กระดูกบางลง และการที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานานๆ
การป้องกัน
- ออกกำลังกายเป็นกิจวัตรโดยเฉพาะ กลางแจ้งช่วงที่มีแดดอ่อน เช่น เวลาเช้าหรือเย็น
- เมื่อมีการเจ็บป่วยไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อนไหว ส่วนต่างๆของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง นมพร่องไขมันเนย ผักผลไม้ เต้าหู้
- งดการดื่มสุรา กาแฟ รวมทั้งงดการสูบบุหรี่ อาหารเค็ม หรืออาหารที่มีเกลือฟอสเฟตสูง
- ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาลูกกลอน เพราะมักมีสารสเตียรอยด์ผสมอยู่
- พยายามให้กระดูกสันหลังตั้งตรงขณะที่อยู่ในอิริยาบถต่างๆ หลีกเลี่ยงการก้ม การโก้งโค้ง