การบริหารราชการแผ่นดิน
การบริหารราชการแผ่นดิน, การบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง, การบริหารราชการแผ่นดิน คือ, การบริหารราชการแผ่นดิน ความหมาย, การบริหารราชการแผ่นดิน คืออะไร
ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ถือว่า อำนาจอธิปไตยคืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นอำนาจ อิสระที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของประเทศ ไม่อยู่ในบังคับหรือเป็นเมืองขึ้นของผู้ใด อำนาจนี้เป็นอำนาจของประชาชน แต่เมื่อประชาชนมีจำนวนมาก และไม่มีเวลาพอหรืออาจขาดความสันทัดจัดเจนที่จะใช้อำนาจ นี้จัดการปกครองบ้านเมืองได้เอง จึงจำเป็นต้องมอบหมายให้ผู้อื่นไปทำหน้าที่ใช้อำนาจอธิปไตยแทน ได้แก่ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล
คณะรัฐมนตรี หมายถึง คณะบุคคลที่ทำหน้าที่ในการปกครองหรือบริหารประเทศ ซึ่งภาษากฎหมายเรียกว่า "การบริหารราชการแผ่นดิน" อันแตกต่างไปจากอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาและศาล
คำว่า การบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง
๑. การกำหนดนโยบายว่า จะจัดการปกครองประเทศในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การต่างประเทศ ในแนวทางใด และใช้วิธีการใด จึงจะบังเกิดประโยชน์สูงสุด
๒. การปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดเพื่อให้นโยบายบังเกิดผลเป็นจริง เช่น ต้องจัดหาอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ งบประมาณ เครื่องมือเครื่องใช้ และออกกฎระเบียบ ต่างๆมารองรับให้พร้อม
๓. การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ เพราะกฎหมายที่รัฐสภาให้ความ เห็นชอบตราขึ้นใช้บังคับนั้น ไม่อาจมีผล ในตัวเอง หากแต่ต้องมีการ "บังคับการ" เช่น ถ้ากฎหมายนั้นกำหนดให้การกระทำ ใดเป็นความผิด ก็ต้องมีการบังคับเอาแก่ ผู้ฝ่าฝืน โดยมีเจ้าหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิด มีการสืบสวนสอบสวนและฟ้องคดี ถ้ากฎหมายกำหนดให้จัดตั้งหน่วยงานใดขึ้น ก็ต้องมีการบังคับให้เป็นผล โดยจัดหาอาคารสถานที่ และมีการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไปประจำหน่วยงานนั้น ตลอดจนต้องจัดหา งบประมาณให้ เป็นต้น
การบริหารราชการแผ่นดิน, การบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง, การบริหารราชการแผ่นดิน คือ, การบริหารราชการแผ่นดิน ความหมาย, การบริหารราชการแผ่นดิน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!