ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน), ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน) หมายถึง, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน) คือ, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน) ความหมาย, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน)

          ในยุคนี้เป็นยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

           -  สามารถรับคำสั่งได้ถึง ๖๔,๐๐๐ ล้าน คำสั่ง หรือใช้ขนาดข้อมูลได้ถึง ๖๔,๐๐๐ ล้านตัวอักษร

          -  สามารถประมวลข้อมูลได้ขนาด ๓๒ บิตต่อครั้ง ตัวเลขที่มีค่ามากกว่า ๔,๒๙๕ ล้านจะต้องถูกแยกประมวลเป็นหลายๆ ส่วน ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพต่ำ แต่ข้อมูลที่ใช้ทั่วไปทางธุรกิจจะมีค่าอยู่ในช่วงนี้ ไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีประสิทธิภาพเหมาะหรับใช้ทางด้านธุรกิจ

          -  มีวิทยาการในการเปิด หรือปิดวงจรทรานซิสเตอร์ได้เร็วกว่า ๑,๐๐๐ ล้านครั้งต่อวินาที (เร็วกว่าไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกถึง ๙,๒๐๐ เท่า)

          -  สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่า ๙ ล้านตัว (มากกว่าไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกถึง ๓,๙๐๐ เท่า)

          -  สามารถประมวลคำสั่งได้เร็วกว่า ๒๒๐ ล้านคำสั่งต่อวินาที (เร็วกว่าไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกถึง ๓,๖๐๐ เท่า)

          -  บางรุ่นสามารถประมวลคำสั่งได้มากกว่า ๑ คำสั่ง พร้อมๆ กัน

         -  บางรุ่นจะมีคำสั่งพิเศษที่สามารถประ มวลข้อมูลทางด้านรูปภาพ เสียง หรือภาพยนตร์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เหมาะสมที่จะใช้ทางด้านการสื่อสาร และโทรคมนาคม

         -  บางรุ่นจะมีหน่วยความจำแบบเร็ว (cache memory) อยู่ข้างในไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อที่จะได้เพิ่มความเร็วของการเรียกใช้ข้อมูล

          ไมโครคอมพิวเตอร์ยุคนี้ก็ยังใช้ฟล็อปปีดิสก์ที่มีขนาด ๕.๒๕ นิ้ว และขนาด ๓.๕ นิ้วบางรุ่นสามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นถึง ๒.๘ ล้านตัวอักษร หรือข้อความ ๑,๔๐๐ หน้า และใช้ฮาร์ดดิสก์หลายรูปแบบที่มีหลายขนาด มีทั้งขนาดใหญ่ที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า ๑๖,๐๐๐ ล้านตัวอักษร หรือข้อความ ๘ ล้านหน้า ซึ่งเท่ากับหนังสือขนาด ๔๐๐ หน้า จำนวน ๒๐,๐๐๐ เล่มและขนาดเล็กเท่ากล่องไม้ขีดไฟที่มีขนาดเพียง ๑.๓ นิ้ว ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้หลายร้อยล้านตัวอักษร ฮาร์ดดิสก์ก็ได้เพิ่มความเร็วในการเก็บและเรียกใช้ บางชนิดสามารถถอดและสับเปลี่ยนได้เหมือนฟล็อปปีดิสก์ แต่ว่ามีความเร็วสูง และสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปีดิสก์

          การแสดงผลข้อมูลก็ใช้จอภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีจำนวนสีมากขึ้นเป็นล้านๆ สี สำหรับเครื่องพิมพ์ ก็ใช้เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (laser printer) และอิงก์เจ็ต (inkjet printer) ซึ่งสามารถตีพิมพ์ข้อมูล ทั้งภาพและตัวอักษรแบบขาวดำและสีได้อย่างสวยงามเทียบเท่าโรงพิมพ์ และเริ่มมีการใช้เสียงในการแสดงผล เช่น การรับฟังวิทยุ หรือเล่นเพลงโดยใช้ไมโครคอมพิวเตอร์และลำโพง ส่วนการป้อนข้อมูล ก็มีการใช้แป้นพิมพ์ เมาส์ กล้องถ่ายภาพสี ไมโครโฟน และสแกนเนอร์ (scanner) ทำให้เราสามารถแม้กระทั่งสั่งงานคอมพิวเตอร์โดยใช้เสียงได้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียงพิมพ์ เราสามารถจะเขียนข้อความโดยที่คอมพิวเตอร์สามารถเปลี่ยนข้อมูลของเสียงมาเป็น ตัวอักษรได้ หรือเราสามารถจะเขียนข้อความบน    จอภาพหรือบนกระดาษ แล้วให้คอมพิวเตอร์อ่านลายมือ และเปลี่ยนมาเป็นตัวอักษร การสื่อสารของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ทั้งเครือข่ายประเภทแลน (LAN - local area network) แวน (WAN - wide area network) หรืออินเทอร์    เน็ต (Internet) จึงทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์ยุคนี้มีอุปกรณ์เสริมหลายชนิด เช่น โมเด็ม (modem) ที่ช่วยในการส่งและรับข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้เร็วกว่า  ๕๖,๐๐๐ บิตต่อวินาที หรือแลนการ์ดที่ช่วยต่อคอมพิวเตอร์  เครื่องอื่นที่อยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้เร็วกว่า ๑๐๐ ล้านบิตต่อวินาที

          เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคที่มีระยะเวลายาวนานจึงมีการปรับปรุงและคิดค้นวิทยาการใหม่ๆ หลายอย่าง เพื่อทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น ดีขึ้น และมีความสามารถมากขึ้น ไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงและทำงานได้เร็วขึ้นเราสามารถแบ่งขนาดของไมโครคอมพิวเตอร์ได้ ดังต่อไปนี้

          -  ขนาดตั้งโต๊ะ (desktop)
          -  ขนาดวางบนตัก (laptop)
          -  ขนาดสมุดบันทึก (notebook)
          -  ขนาดฝ่ามือ (palmtop or pad)

          เราถือว่า เครื่องขนาดวางบนตัก ขนาดสมุดบันทึก และขนาดฝ่ามือ เป็นเครื่องที่สามารถหอบหิ้วและพกพาได้ โดยจะมีแบตเตอรี่ช่วยให้สามารถใช้เครื่องได้โดยไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟฟ้า

          เครื่องขนาดวางบนตักและขนาดสมุดบันทึกจะมีสมรรถภาพและความเร็วเทียบเท่าเครื่องขนาดตั้งโต๊ะ แต่มีราคาที่แพงกว่า เนื่องจากออกแบบได้ยากกว่า และจะต้องมีความทนทานมากกว่าเพราะเป็นเครื่องที่ต้องเคลื่อนย้ายบ่อยๆ สำหรับเครื่องขนาดฝ่ามือนั้น ส่วนมากจะใช้สำหรับการเก็บข้อมูลที่ใช้ทั่วไป เช่น การเก็บเบอร์โทรศัพท์ที่อยู่ เวลานัดหมาย เนื่องจากเครื่องมีขนาดเล็กมาก จึงทำให้ไม่สามารถป้อนข้อมูลมากๆ โดยการพิมพ์หรือเขียนบนเครื่องได้สะดวก ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในช่วงปลายยุคของไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๓ จะเริ่มมีไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๖๔ บิต ใช้กันอย่าง    แพร่หลาย









          บริษัทอินเทลได้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ชื่อว่า รุ่น ๘๐๓๘๖ซึ่งเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด ๓๒ บิต ใช้ทรานซิสเตอร์ ๒๗๕,๐๐๐ ตัว (มากกว่ารุ่น ๘๐๒๘๖ ถึง ๒ เท่า) และมีความสามารถทำงานหลายๆ อย่างสลับกันไปมาในเวลาเดียวกันได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ (multitasking) ทำให้มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะใช้กับชุดคำสั่งหรือบนวินโดวส์รุ่นหลังๆ ได้ ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นนี้สามารถประมวลคำสั่งได้เร็วถึง ๖ ล้านคำสั่งต่อวินาที (เร็วกว่าพีซีรุ่นแรกถึง ๑๘ เท่า)เมื่อไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น ๘๐๓๘๖ ออกมาบริษัทที่ผลิตเครื่องโคลนทั้งหลายก็ราอให้บริษัทไอบีเอ็มผลิตเครื่องพีซีที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ แต่หลังจากรอเป็นเวลานาน บริษัทคอมแพกจึงตัดสินใจที่จะไม่รอบริษัทไอบีเอ็มโดยได้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพร-เซสเซอร์รุ่น ๘๐๓๘๖ ขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ชื่อว่า รุ่นคอมแพกเดสก์โปร ๓๘๖ (Compaq Deskpro 386) และใช้สัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็ว ๑๖ ล้านครั้งต่อวินาที และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัทไอบีเอ็มได้สูญเสียความเป็นผู้นำของวงการไมโครคอมพิวเตอร์

นับจากจุดนี้เป็นต้นไป เมื่อบริษัทอินเทลได้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ๆ ออกมา บริษัทที่ผลิตเครื่องโคลนต่างก็แข่งขันกันผลิตเครื่องพีซีที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ออกจำหน่ายโดยไม่มีบริษัทใดสนใจที่จะรอบริษัทไอบีเอ็มอีกต่อไป การที่บริษัทไอบีเอ็มมีความล่าช้าในการผลิตพีซีที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น ๘๐๓๘๖ นั้นเพราะว่าบริษัทไอบีเอ็มต้องการที่จะดึงตลาดของเครื่องพีซีให้มาอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทมากขึ้น โดยได้เปลี่ยนการออกแบบโครงสร้างของพีซีรุ่นต่อมา และจดลิขสิทธิ์ของโครงสร้างใหม่ๆ นี้ไว้ เพื่อจะได้สามารถบังคับให้บริษัทอื่นๆต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ที่แพงมากให้แก่บริษัทไอบีเอ็มเพื่อที่จะได้สิทธิในการผลิตเครื่องโคลนของพีซีแบบใหม่นี้ เนื่องจากเริ่มมีหลายๆ บริษัทได้ผลิตเครื่องโคลนของตระกูลพีซี และได้เริ่มแย่งตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม โดยจำหน่ายในราคาถูกกว่า และเครื่องโคลนยังมีความเร็วกว่าเครื่องตระกูลพีซีแท้ๆ ทำให้ยอดจำหน่ายเครื่องโคลนทั้งหมดมีมากกว่าเครื่องพีซีของบริษัทไอบีเอ็ม

เครื่องพีซีรุ่นใหม่นี้ใช้วิทยาการใหม่ สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของส่วนต่างๆ ภายในตัวเครื่องที่มีชื่อว่า เอ็มซีเอบัส (MCA - Micro Channel Architecture) เครื่องรุ่นใหม่ออกแบบเสร็จและเริ่มนำออกจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยเรียก
ชื่อตระกูลใหม่ของพีซีรุ่นนี้ว่า พีเอส ๒ (PS2)แต่ความพยายามของบริษัทไอบีเอ็มไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากอุปกรณ์เสริม เช่น การ์ดต่าง ๆ จะต้องถูกออกแบบใหม่หมดสำหรับบัสชนิดนี้ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถย้ายอุปกรณ์เสริมต่างๆ เหล่านี้
มาจากเครื่องรุ่นเก่าได้ และกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเครื่องโคลนใหญ่ๆ ๗ บริษัท ได้รวมตัวกันออกมาตรฐานบัสใหม่ที่มีสมรรถภาพเทียบเท่าไมโครแชนเนลบัส โดยเรียกว่า ไอซาบัส (EISA Extended Industry Standard Architecture)
ซึ่งผู้ผลิตเครื่องโคลนทั้งหลายสามารถใช้ได้ และไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ มีผลให้เอ็มซีเอบัสของบริษัทไอบีเอ็มไม่ค่อยได้รับความนิยม

ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน), ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน) หมายถึง, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน) คือ, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน) ความหมาย, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๓๒ บิต (พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 25

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu