การพัฒนาด้านต่าง ๆ จะต้องมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดผลิตผลตามความต้องการ แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีของเสียเป็นสารมลพิษเกิดขึ้นด้วย ซึ่งในทางปฏิบัตินั้น ธรรมชาติมีขีดความสามารถในการรองรับของเสียได้เพียงบางส่วนละประกอบกับเราก็ไม่สามารถที่จะป้องกันไม่ให้เกิดหรือแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษให้หมดสิ้นไปได้ทั้งหมดด้วย ดังนั้นการควบคุมภาวะมลพิษของประเทศไทยจึงใช้วิธีการกำหนดมาตรฐานเป็นสำคัญ การกำหนดมาตรฐานนี้เป็นมาตรการโดยตรงที่สามารถควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ และเป็น เกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการจัดการควบคุมปัญหา ภาวะมลพิษ เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาตรฐานขั้นต่ำที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ และระดับความต้องการของคุณภาพชีวิต รวมทั้งยังเป็นมาตรการหนึ่งที่ ช่วยให้สามารถกำหนดนโยบายที่ถูกต้อง เพื่อการพัฒนาและป้องกันการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมให้สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและควบคู่กันไป
การกำหนดมาตรฐาน โดยทั่วไปจะทำได้สองลักษณะ คือ การกำหนดมาตรฐานจากแหล่งกำเนิดหรือมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด (Emission Standard) และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Ambient Standard)
เป็นมาตรฐานมลพิษในสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้มีการ ประกาศใช้แล้ว อาทิเช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินที่ไม่ใช่ทะเล มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลที่จะใช้บริโภค มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม และมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ เป็นต้น
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมาตรฐาน ควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดเหล่านี้ เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้เมื่อมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด เสมอภาคกันและต่อเนื่อง รวมทั้งจะต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าของโครงการหรือนักลงทุน ผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญด้วย
นอกจากนี้เพื่อให้การใช้มาตรฐานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสนับสนุนการกระจายอำนาจตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ๒๕๓๕ ยังได้มีการกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตควบคุมมลพิษซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมวิกฤต มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดให้สูงกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนดไว้แล้วได