ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ), วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) หมายถึง, วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) คือ, วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) ความหมาย, วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ)

          ละครมีหลายประเภท ได้แก่ ละครรำ ละครร้อง และละครพูด ละครรำยังแบ่งเป็น ๓ แบบ คือ ละครชาตรี ละครใน และละครนอก

          ละครชาตรี หรือละครโนราชาตรีเป็นละครรำแบบดั้งเดิม มีผู้แสดงสำคัญ ๓ คน เช่น ถ้าเล่นเรื่องมโนห์รา ก็จะมีตัวละครสำคัญ คือ พระสุธน นางมโนห์รา และพรานบุญ เรื่องที่แสดงนำมาจากนิทานพื้นเมือง และชาดก ในระยะแรกใช้การท่องจำบท หรือการด้นกลอนสด ต่อมาจึงมีการประพันธ์บทกลอนให้ไพเราะขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรี ได้แก่ ปี่ใน กลอง โทน ฆ้องคู่ ฉิ่ง และกรับ

          ละครใน เป็นละครที่แสดงในวัง ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน มีท่ารำที่งดงามและทำนองดนตรีที่ไพเราะยิ่งนัก ละครในจะแสดงเพียง ๓ เรื่องเท่านั้น คือ เรื่องรามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา ละครในเป็นการแสดงในราชสำนัก จึงมีความงดงามวิจิตรตระการตาพร้อมทั้งมีดนตรีปี่พาทย์เครื่องใหญ่ประกอบ ละครในจึงถือเป็นนาฎศิลป์ชั้นสูง

          ละครนอก เป็นละครที่แสดงให้ชาวบ้านชม ผู้แสดงมีทั้งชายและหญิง เรื่องที่นำมาแสดงมักจะเป็นนิทานพื้นเมืองและนิทานชาดก บทละครนอกที่สืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ เรื่องการะเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริวงศ์นางมโนห์รา โม่งป่า มณีพิไชย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย สุวรรณศิลป์ สุวรรณหงส์ โสวัตส่วนบทละครนอกพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้แก่ ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง และมณีพิไชย          นับแต่โบราณ ผู้แสดงละครรำที่ถือว่าเป็นตัวละครสำคัญมีอยู่เพียง ๓ คนเท่านั้น คือตัวทำบทเป็นผู้ชาย ที่เรียกว่า นายโรง หรือยืน เครื่องอย่าง ๑ ตัวทำบทเป็นผู้หญิงที่เรียกว่านางอย่าง ๑ ตัวสำหรับทำบทเบ็ดเตล็ด เช่น ฤาษี ยักษ์ พราน ยายตา และสัตว์เดียรัจฉานเช่น ม้าและนกในเรื่องละคร ตลอดจนเล่นตลกให้ขบขันเรียกว่า จำอวดอย่าง ๑ ตลกในละครสันสกฤต เขาเรียกว่า วิทูษะกะ หรือ วิทูษกและละครของฝรั่งก็มีตัวตลก (clown) ด้วย ๑ ผู้ทำบทเบ็ดเตล็ดในละครไทยนี้ ในบางเรื่องก็ทำบทเป็นผู้ร้าย คือ เป็นศัตรูกับพระเอก หรือนางเอก เช่น ทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ หัวใจของเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้แสดงโขนก็อยู่ที่ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา ตัวละครสำคัญตอนนี้ก็มีพระราม ๑ นางสีดา ๑ ทศกัณฐ์ ๑ ส่วนตัวอื่นก็เป็นแค่ตัวประกอบเช่น มารีศเป็นฝ่ายทศกัณฐ์ซึ่งแปลงตัวเป็นกวางทอง พระลักษมณ์เป็นอนุชาของพระราม
          ละครรำแบบดั้งเดิมของไทย เช่น ละครโนราชาตรี ก็มีผู้แสดงเป็นตัวละครสำคัญ ๓ คนเท่านั้นคือ ถ้าเล่นเรื่องมโนห์รา นายโรงจะแสดงบทของพระสุธน ๑ นางจะแสดงบทของนางมโนห์รา ๑ จำอวดหรือตัวตลกจะแสดงบทของพรานบุญ ๑ ละครนอกถ้าเล่นเรื่องรถเสนนายโรงก็จะแสดงบทของพระรถเสน ๑ นางก็จะแสดงบทของนางเมรี ๑ จำอวดหรือตัวตลกจะแสดงบทเป็นม้าของพระรถเสน ๑ เรื่องที่นิยมใช้เล่นละครนอกมาแต่โบราณ คือ สุวรรณหงส์ ซึ่งตอนที่นิยมเล่นกันจนเป็นที่เลื่องลือมากมี ๒ ตอน คือ ตอนพราหมณ์เล็กพราหมณ์โตและตอนกุมภณฑ์ถวายม้า ผู้แสดงซึ่งเป็นตัวละครสำคัญก็มีอยู่ ๓ คน เช่นกัน คือ ตอนพราหมณ์เล็กพราหมณ์โต มีพราหมณ์เล็ก (คือพราหมณ์เกศสุริยง) ๑ พราหมณ์โต (คือพราหมณ์กุมภณฑ์) ๑ และพระสุวรรณหงส์ ๑ ส่วนตอนกุมภณฑ์ถวายม้าก็มีผู้แสดงสำคัญ ๓ คน คือ กุมภณฑ์ยักษ์ ๑ เกศสุริยงยักษ์ ๑ และพระสุวรรณหงส์ ๑ สำหรับเรื่องขุนช้างขุนแผนที่นิยมกันว่าสามารถนำมาดัดแปลงเล่นละครได้ดีก็เพราะมีตัวละครสำคัญอยู่ในเรื่อง ๓ คนเช่นกัน คือ ขุนแผนเท่ากับตัวนายโรงหรือยืนเครื่อง ๑ นางพิมหรือวันทองเท่ากับตัวนาง ๑ และขุนช้างเท่ากับตัวจำอวดหรือตัวตลก ๑ แม้แต่เพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงโคราชก็เช่นเดียวกัน เมื่อเล่นเข้าเรื่อง เช่น ตอนที่เรียกว่า ชิงชู้ และตีหมากผัวเป็นต้น ก็จะมีตัวละครสำคัญ ๓ คนเช่นกัน การที่ละครมีผู้แสดงมากขึ้นนั้นเป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมภายหลัง เมื่อศิลปะทางการแสดงได้รับการปรับปรุงและส่งเสริมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ก็มีตัวยืนเครื่องรองและตัวยืนเครื่องเลวเพิ่มขึ้น ตัวนางก็มีเพิ่มขึ้น เลยเรียกตัวนางแต่เดิมว่า นางเอก และเรียกตัวนางที่เพิ่มขึ้นว่า นางเลว ผู้แสดงที่เพิ่มขึ้นนี้ล้วนเป็นตัวประกอบทั้งสิ้น จะขยายเรื่องให้มีผู้แสดงประกอบมากมายเท่าใดก็ได้ เช่น จัดแสดงให้มีระบำแทรกเข้าไป ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ก็เพิ่มเสนาอำมาตย์ข้าราชบริพาร และ นางสนมกำนัล ถ้าเป็นตอนออกศึกก็เพิ่มกองทัพเหล่าต่างๆ และอื่นๆ เข้าไป แต่ผู้แสดงสำคัญของละคร ก็คือผู้แสดง ๓ คน ดังกล่าวนั่นเอง
          ตามที่ได้บรรยายมาข้างต้น ปรากฏหลักฐานในศักดินาพลเรือนครั้งกรุงเก่า (พ.ศ. ๑๙๑๙) สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) เอ่ยถึงช่างดอกไม้เพลิง พนักงานหนัง พนักงานปี่พาทย์ไม้ต่ำไม้สูง และเอ่ยถึงพนักงานละครว่า

หมื่นเสนาะภูบาลเจ้ากรมขวา หมื่นโวหารพิรมย์เจ้ากรมซ้าย นาคล  ๔๐๐ นายโรง   นา        ๒๐๐ ยืนเครื่องรอง นาคล ๑๐๐ นางเอก นาคล ๑๐๐ ยืนเครื่องเลว นาคล ๘๐ นางเลว นาคล ๘๐ จำอวด  นา ๕๐        

วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ), วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) หมายถึง, วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) คือ, วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) ความหมาย, วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 23

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu