วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์
วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์, วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ หมายถึง, วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คือ, วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ความหมาย, วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คืออะไร
สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ปัจจุบัน)
ตั้งแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๒) เป็นเวลา ๒๑๗ ปี กวีไทยได้สร้างสรรค์วรรณคดีที่สมควรรักษาเป็นมรดกไทยไว้จำนวนมาก ในที่นี้จะหยิบยกเฉพาะที่สำคัญๆ มากล่าวไว้ คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ลิลิตตะเลงพ่าย สามก๊ก พระราชพิธีสิบสองเดือน และนิทานคำกลอน เรื่องพระอภัยมณี ใช้เป็นบทประกอบการแสดงละคร ประกอบด้วยบทสนทนาที่ดำเนินไปตามท้องเรื่องและรูปแบบของการแสดงไทยมีละครหลายชนิดทั้งละครร้อง ละครรำ ละครใน ละครนอก โขน หนังตะลุง ลิเก ก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีละครพูด ดังนั้น จึงยังไม่แบ่งเนื้อเรื่องเป็นฉากไม่มีการกล่าวถึงฉากและการจัดฉากให้เห็นจริงเดิมละครไทยจะแสดงเฉพาะบางตอนเท่านั้น ไม่ได้แสดงตลอดทั้งเรื่อง เช่น เรื่องรามเกียรติ์ตอนสีดาหาย ตอนหนุมานจองถนน เรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง ตอนอิเหนาเผาเมือง ตอนอิเหนาตามบุษบา เป็นต้น จนกระทั่งไทยได้แบบอย่างจากตะวันตก จึงมีการปรับปรุงละครไทยขึ้นใหม่หลายรูปแบบ และเรียกชื่อต่างๆกัน เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้องล้วนๆ ละครสังคีต ละครพูด
นอกจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ แล้ว ยังมีบทละครที่เป็นวรรณคดีมรดกที่มีคุณค่าอีกมาก เช่น บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์, วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ หมายถึง, วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คือ, วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ความหมาย, วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!