ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

อหิวาตกโรค, อหิวาตกโรค หมายถึง, อหิวาตกโรค คือ, อหิวาตกโรค ความหมาย, อหิวาตกโรค คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
อหิวาตกโรค

          เชื้อต้นเหตุ เกิดจากเชื้อบัคเตรีรูปแท่งที่มีลำตัวโค้งงอ  ที่ชื่อว่า วิบริโอ  คอเลอรี  (Vibrio cholerae)แบ่งย่อยเป็น ๒ ชนิด คือ ชนิดแท้หรือคลาสสิก  (classical biotype) และชนิดอ่อนหรือเอลทอร์ (EL Tor biotype) การระบาดในประเทศไทยนับแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖เป็นต้นมา เกิดจากเชื้อเอลทอร์เป็นต้นเหตุ
         ระยะฟักตัว ประมาณ ๒-๓ วัน แต่อาจพบได้ตั้งแต่ ๒-๓ ชั่วโมง ถึง  ๕ วัน
         ลักษณะอาการ อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง อาจแบ่งออกเป็น  ๓ ระยะ คือ ระยะแรกเป็นระยะที่มีอาการท้องเดินและอาเจียน อุจจาระมี ลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว  อาจมีเลือดหรือหนองปนมาด้วยเล็กน้อย ผู้ป่วยจะเสียน้ำและเกลือจำนวนมากถ้าอาการรุนแรงและไม่ได้การรักษาภายในเวลา ๒-๑๒ ชั่วโมง ก็จะเข้าสู่ระยะที่สอง คือ ระยะช็อก ผู้ป่วยกระหายน้ำมาก  ผิวแห้ง ตัวเย็น ตาลึก ความดันเลือดต่ำ อาจเกิดตะคริว ผู้ป่วยมักถึงแก่กรรมในระยะนี้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา แต่ถ้าเป็นไม่รุนแรงหรือ รักษาทันก็จะเข้าสู่ระยะที่สาม  คือ ระยะกลับเป็นปกติในรายที่ไม่ได้รับการรักษา อัตราตายอาจสูงเกินกว่าร้อยละ ๕๐  ดังที่เห็นในการระบาดครั้งแรกๆในประเทศไทยแต่ถ้าได้รับการรักษาให้น้ำเกลือทดแทนได้ทัน  อัตราตายจะลดต่ำลงมากอาจไม่ถึงร้อยละ ๑ ในบางคนโดยเฉพาะในเด็กมักมีอาการเพียงท้องเดินไม่รุนแรง และในบางคนอาจมีการติดเชื้ออหิวาตกโรคโดยไม่มีอาการก็ได้
         การติดต่อ โรคนี้ติดต่อโดยทางการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนด้วยอุจจาระ หรืออาเจียนของผู้ป่วยหรืออาจมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค  เชื้ออหิวาตกโรคนี้พบในคนเท่านั้น
         การป้องกันและควบคุมโรค  การป้องกันล่วงหน้าก่อนที่จะมีโรคระบาด ได้แก่  การแนะนำประชาชนให้มีความรู้เกี่ยวกับการติดโรค  และวิธีป้องกันโรคหัดให้เป็นนิสัยในการล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงหรือกินอาหาร   และหลังจากเข้าส้วม   แนะนำและจัดสร้างส้วมให้ถูกหลักสุขาภิบาล   ป้องกันไม่ให้อุจจาระลงไปแปดเปื้อนในน้ำดื่ม   น้ำใช้  จัดหาน้ำสะอาดสำหรับบริโภคให้เพียงพอ ดื่มน้ำต้ม และน้ำนมสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ หรือการพาสเจอไรซ์ (pasteurization)ก่อน กำจัดแมลงวัน กินอาหารที่ปรุงให้สุกและหุงต้มร้อนๆ
          สำหรับการฉีดวัคซีนอหิวาตกโรค  ให้ผลป้องกันโรคไม่สมบูรณ์  บางแห่งจึงไม่ฉีด ในการรักษา จะต้องให้น้ำและเกลือทดแทนส่วนที่เสียไปในเวลารวดเร็วและให้ได้จำนวนมากพอ ถ้าเลือดมีภาวะเป็นกรดต้องแก้ไขโดยให้ด่าง ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงและไม่อาเจียน อาจให้กินน้ำต้มสุกที่ละลายน้ำตาลและเกลือสำหรับผู้ท้องร่วง ถ้าเป็นรุนแรง ต้องให้น้ำเกลือจำนวนมากเข้าเส้นเลือด สำหรับยาฆ่าเชื้อโรค อาจใช้เตตราไซคลีน (tetracycline)

อหิวาตกโรค, อหิวาตกโรค หมายถึง, อหิวาตกโรค คือ, อหิวาตกโรค ความหมาย, อหิวาตกโรค คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu